ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)

ไวรัสตับอักเสบ เป็นการติดเชื้อบริเวณตับซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าการติดเชื้อเอชไอวีหลายเท่า มาดูกันว่าไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดเป็นอย่างไร

ไวรัสตับอักเสบคืออะไร

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) คือ การที่ตับมีอาการอักเสบ ตับจะอยู่ในช่องท้องด้านขวาเป็นอวัยวะที่สำคัญมากทำหน้าที่สังเคราะห์สารอาหาร กำจัดพิษของยาเมตาโบไลท์ และช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคตับอักเสบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งไวรัสตับอักเสบที่พบมาก ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งไวรัสตับอักเสบดีและอีพบได้น้อยมาก

โรคตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ต่อไปนี้

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย
  • แผลบริเวณตับที่เกิดจากสารพิษ
  • ความเสียหายของตับที่เกิดจากการหยุดชะงักของระบบล่อเลี้ยงเลือดที่ส่งไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • ความเสียหายของตับที่เกิดจากการหยุดชะงักของการไหลเวียนของน้ำดีผ่านตับ
  • มีแผลในช่องท้องบริเวณตับ
  • ระบบภูมิคุมิกันร่างกายทำลายเซลล์ตับ ทำให้เกิดการอับเสบที่ตัวตับเอง เรียกว่า โรคตับอักเสบที่ถูกทำลายโดยระบบภูมิต้านทาน

ไวรัสตับอักเสบ เอ

ไวรัสตับอักเสบเอ (HAV) เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นผ่านทางอาหาร เครื่องดื่ม หรือสิ่งที่ปนเปื้อนจากอุจจาระที่มีเชื้อ HAV โดยวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอจะช่วยให้การติดเชื้อเกิดขึ้นน้อยลงมากในสหรัฐอเมริกาและประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ

แม้ว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเออาจทำให้เกิดอาการรุนแรงแตกต่างจากไวรัสตับอักเสบชนิดอื่นๆ แต่ไวรัสตับชนิดนี้จะไม่ทำให้ตับเสียหายในระยะยาว ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและได้รับการรักษาแล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและจะไม่สามารถกลับมาเป็นได้อีก

ไวรัสตับอักเสบ บี

ไวรัสตับอักเสบบีเป็นโรคติดต่อที่มีความรุนแรงมากขึ้นมาอีก ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการตับแข็งทำให้เกิดแผลเป็นถาวรบริเวณตับ ตับวาย มะเร็งตับ เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมา และอาจเสียชีวิตได้

ไวรัสตับอักเสบบี (HBV) สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนผ่านทางเลือดหรือของเหลวในร่างกาย นอกจากนี้ยังสามารถส่งผ่านเชื้อจากแม่สู่ทารกในครรภ์ได้ ซึ่งไวรัสตับอักเสบชนิดนี้มักติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันหรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้เสพยา ซึ่งวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีสามารถใช้ได้กับคนทุกเพศทุกวัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบ ซี

ไวรัสตับอักเสบซีมีลักษณะเช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบบี ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อจากคนสู่คนผ่านทางเลือดหรือของเหลวในร่างกายและส่งผลทำให้เป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ สาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อนั้นเกิดจากการใช้อุปกรณ์เสพยาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเข็มฉีดยาหรือหลอดสูบยา นอกจากนี้ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ป้องกันยังเป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ แม่ติดเชื้อที่ตั้งครรภ์สามารถกระจายเชื้อสู่ทารกได้ด้วยเช่นกัน

ไวรัสตับอักเสบซีเป็นโรคตับอักเสบที่ร้ายแรงที่สุด จึงเป็นสาเหตุให้มีการปลูกถ่ายตับในวัยผู้ใหญ่ โดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการคิดค้นวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันไวรัสตับชนิดนี้มาหลายสิบปี ทว่ายังไม่สามารถผลิตวัคซีนออกมาได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการใช้ยาที่สามารถช่วยรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีได้อย่างมีประสิทธิภาพและพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจากโรค

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens...


28 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Types of Viral Hepatitis: Hepatitis A, B, C. WebMD. (https://www.webmd.com/hepatitis/digestive-diseases-hepatitis)
What is viral hepatitis? (2019). (https://www.cdc.gov/hepatitis/abc/index.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป