ยานอนหลับ เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับในช่วงที่เครียด เวลาเดินทาง หรือเมื่อมีสิ่งเร้ารบกวนการนอน แต่สำหรับผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับระยะยาวนั้น การเรียนรู้ถึงสาเหตุและบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนถือเป็นวิธีรักษาที่ปลอดภัยและให้ผลดีที่สุด
หากคุณประสบปัญหานอนไม่หลับอยู่บ่อยครั้ง คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมทันที เพราะบางครั้งอาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ โดยในเบื้องต้นแพทย์มักให้ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับเข้ารับการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น กำหนดตารางเวลานอนหลับ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนและการนอนกลางวัน รวมถึงจัดการกับความเครียดเพื่อช่วยลดความรุนแรงของอาการนอนไม่หลับ แต่ก็มีบางกรณีที่อาจต้องใช้ยานอนหลับเข้าช่วยด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สาเหตุที่แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยานอนหลับต่อเนื่องเป็นระยะยาวนั้น เนื่องจากยานอนหลับทุกประเภทล้วนมีความเสี่ยงในการใช้ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางอย่าง เช่น ผู้ป่วยโรคตับหรือโรคไต คุณจึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
หลักการเลือกใช้ยานอนหลับ
ยานอนหลับช่วยให้คุณนอนหลับง่ายและหลับได้ยาวนานขึ้น ซึ่งความเสี่ยงและประโยชน์จากการใช้ยานอนหลับแต่ละประเภทอาจแตกต่างกันไป ก่อนจ่ายยานอนหลับแพทย์จึงต้องประเมินอาการและอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้ยาแต่ละชนิดให้ผู้ป่วยได้ทราบ และร่วมตัดสินใจเลือกตัวยาที่เหมาะสม ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- สอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนหลับในช่วงที่ผ่านมา เพื่อทราบถึงรูปแบบการนอนหลับ
- ทดสอบเพื่อตรวจหาปัญหาสุขภาพที่อาจเป็นต้นเหตุให้นอนหลับยากขึ้น
- อธิบายเกี่ยวกับตัวเลือกยานอนหลับแต่ละประเภท รวมไปถึงความถี่ ช่วงเวลาที่ต้องกินยา และรูปแบบของยา เช่น ยาเม็ด ยาเม็ดละลายน้ำ หรือสเปรย์พ่นปาก
- จ่ายยานอนหลับตามระยะเวลาเพื่อให้เห็นว่ายาที่ใช้มีประโยชน์และมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง
- ให้คุณลองใช้ยานอนหลับชนิดอื่น ในกรณีที่ใช้ยานอนหลับตัวแรกจนครบระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ผล
- ช่วยเลือกยานอนหลับที่ดีที่สุด โดยคำนึงจากราคาที่ถูกที่สุดมากกว่ายี่ห้อของยา
ประเภทของยานอนหลับ
ยานอนหลับที่แพทย์นิยมให้ใช้ มีดังนี้
ทำให้เข้าสู่ภวังค์การนอน
- Estazolam (เอสตาโซแลม)
- Eszopiclone (เอสโซปิโคลน)
- Ramelteon (ราเมลทีออน)
- Temazepam (เทมาซีแพม)
- Triazolam (ไตรอาโซแลม)
- Zaleplon (ซาเลปลอน)
- Zolpidem (โซลพิเดม)
- Zolpidem (โซลพิเดม) ชนิดออกฤทธ์ช้า
- Suvorexant (ยาซูโวแรกซ์แซน)
ช่วยให้นอนหลับยาวนาน
- Doxepin (ด็อกเซปิน)
- Estazolam (เอสตาโซแลม)
- Eszopiclone (เอสโซปิโคลน)
- Temazepam (เทมาซีแพม)
- Zolpidem (โซลพิเดม) ชนิดออกฤทธ์ช้า
- Suvorexant (ยาซูโวแรกซ์แซน)
มีผลทำให้เกิดการติดยา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- Estazolam (เอสตาโซแลม)
- Eszopiclone (เอสโซปิโคลน)
- Temazepam (เทมาซีแพม)
- Triazolam (ไตรอาโซแลม)
- Zaleplon (ซาเลปลอน)
- Zolpidem (โซลพิเดม)
- Zolpidem (โซลพิเดม) ชนิดออกฤทธ์ช้า
- Suvorexant (ยาซูโวแรกซ์แซน)
ผลข้างเคียงของยานอนหลับ
ควรสอบถามเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยานอนหลับแต่ละชนิดก่อนตัดสินใจใช้ ตัวอย่างผลข้างเคียงที่พบได้จากการใช้ยานอนหลับ ได้แก่
- รู้สึกเวียนศีรษะจนอาจทำให้ทรงตัวไม่อยู่และหกล้ม
- ปวดศีรษะ
- มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง และคลื่นไส้
- มีอาการง่วงนอนยาวนาน และจะง่วงมากหากใช้ยาที่มีฤทธิ์ช่วยคงการนอนหลับ
- เกิดปฏิกิริยาแพ้ยารุนแรง เช่น ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น และลำคอบวม เกิดผื่น ลมพิษ หายใจลำบาก เป็นต้น
- รู้สึกง่วงในระหว่างวันมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น ง่วงในขณะขับรถจนหลับใน หรือง่วงขณะรับประทานอาหารจนสำลัก
- มีปัญหาในการใช้ชีวิตและการจดจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างวัน
ฤทธิ์ระงับประสาทกับยาต้านภาวะซึมเศร้า
บางครั้งยานอนหลับที่แพทย์จ่ายให้ก็มีไว้สำหรับการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นหลัก แต่สามารถใช้รับมือกับภาวะนอนไม่หลับได้เช่นกัน (หากใช้ในปริมาณต่ำ) แม้ว่าแพทย์ส่วนมากจะใช้ยาเหล่านี้กับผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับ แต่องค์การอาหารและยาก็ไม่ได้รับรองว่ายาเหล่านี้จะใช้กับภาวะนอนไม่หลับได้จริง อย่างไรก็ตาม หากการนอนไม่หลับเป็นผลมาจากโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวล การให้ยาต้านซึมเศร้าเหล่านี้ก็จะช่วยลดอาการนอนไม่หลับและอาการซึมเศร้าได้ในเวลาเดียวกัน
ตัวอย่างยาต้านเศร้าที่มีฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับดี เช่น
- Amitriptyline (อะมิทริปไทลีน)
- Mirtazapine (เมอร์เทซาปีน)
- Trazodone (ทราโซโดน)
ผลข้างเคียงของยาต้านภาวะซึมเศร้าที่มีฤทธิ์ระงับประสาท
การใช้ยาต้านซึมเศร้าที่มีฤทธิ์ระงับประสาทและช่วยให้นอนหลับ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อไปนี้
- วิงเวียน
- ปวดศีรษะ
- มีอาการง่วงนอนยาวนาน
- ปากแห้ง
- คลื่นไส้
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- น้ำหนักตัวเพิ่ม
- มีปัญหาในการจดจำเรื่องราวระหว่างวัน และปัญหาในการใช้ชีวิต
- ท้องผูก
ความปลอดภัยของยานอนหลับ
ยานอนหลับที่แพทย์จ่ายให้ ยานอนหลับที่หาซื้อได้เอง และยาต้านภาวะซึมเศร้าที่ช่วยให้นอนหลับบางประเภท อาจไม่ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ สตรีที่กำลังให้นมบุตร และผู้สูงอายุ เนื่องจากฤทธิ์ของยาจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการหกล้มในช่วงกลางคืนได้ หากเป็นผู้สูงอายุ แพทย์จะเลือกจ่ายยานอนหลับในปริมาณต่ำ เพื่อลดความเสี่ยงข้อนี้
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น โรคไต ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีประวัติการชักมาก่อน ก็ไม่ควรใช้ยานอนหลับเช่นกัน อีกทั้งยาอาจทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคตัวอื่นที่กำลังใช้อยู่ได้ เพื่อความปลอดภัย ก่อนใช้ยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงยา วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรที่กำลังใช้ทุกชนิด และปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ยาของแพทย์อย่างเคร่งครัด
การรับประทานยานอนหลับ
หากลองทุกวิถีทางเพื่อให้สามารถนอนหลับตอนกลางคืนได้อย่างปกติแล้วยังไม่ได้ผล การใช้ยานอนหลับก็อาจเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยได้ โดยมีคำแนะนำการใช้ยาเพื่อความปลอดภัยดังนี้
- เข้ารับการประเมินทางการแพทย์ ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ยานอนหลับ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ
- อ่านคำแนะนำบนฉลากยาอย่างละเอียด เพื่อให้ทราบถึงวิธีใช้และระยะเวลาการใช้ยาที่เหมาะสม รวมไปถึงผลข้างเคียงสำคัญๆ ที่อาจเกิดขึ้น จึงควรอ่านฉลากยาโดยละเอียด หากคุณมีคำถาม ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ทันที
- ห้ามกินยานอนหลับจนกว่าคุณจะเข้านอน ยาจะทำให้คุณรู้สึกตัวน้อยลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อสถานการณ์อันตรายต่างๆ จึงควรงดทำกิจกรรมต่างๆ หลังรับประทานยานอนหลับ
- กินยานอนหลับก่อนนอนเพื่อให้นอนได้เต็มที่ ให้ใช้ยาเมื่อคุณต้องการนอนให้สนิททั้งคืน หรืออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง ส่วนการใช้ยานอนหลับปริมาณน้อยๆ ที่มีไว้เพื่อให้ตื่นขึ้นกลางดึกก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมงจึงจะตื่น
- สังเกตผลข้างเคียงของยา หากคุณรู้สึกวิงเวียน ง่วงนอนระหว่างวัน หรือประสบกับผลข้างเคียงอื่นๆ จากยาค่อนข้างมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนปริมาณยาที่ใช้ทันที ห้ามเปลี่ยนชนิดยานอนหลับเองโดยเด็ดขาด เนื่องจากคุณไม่มีทางทราบว่ายาตัวใหม่จะส่งผลต่อคุณอย่างไรบ้าง
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามผสมยานอนหลับเข้ากับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เพราะแอลกอฮอล์แม้เพียงปริมาณเล็กน้อยก็สามารถเพิ่มฤทธิ์กล่อมประสาทของยาได้ ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกเวียนศีรษะ สับสน หรืออาจถึงขั้นหมดสติ อีกทั้งการผสมสารทั้งสองเข้าด้วยกันอาจทำให้การหายใจช้าลงหรือส่งผลต่อการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ได้ ซึ่งนับว่าอันตรายมาก นอกจากนั้นแอลกอฮอล์ยังเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับอีกด้วย
- ใช้ยานอนหลับตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด ยาบางตัวที่แพทย์ให้ใช้ มีไว้สำหรับใช้จัดการอาการนอนไม่หลับในช่วงสั้นๆ เท่านั้น ห้ามใช้ยาที่ได้รับมาเกินปริมาณที่แพทย์กำหนดเด็ดขาด
- หยุดยาอย่างระมัดระวัง เมื่อพร้อมจะหยุดใช้ยานอนหลับ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรหรือแพทย์ หรือคำแนะนำบนฉลากยา ยาบางตัวต้องค่อยๆ ถอนยาอย่างช้าๆ และการถอนยาอาจก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับในช่วงหลังจากนั้นไม่กี่วันได้
หากคุณยังประสบกับปัญหาในการนอนหลับอย่างต่อเนื่อง แม้จะได้รับยานอนหลับแล้ว คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับความช่วยเหลือเพิ่มเติม ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาด เพราะอาการนอนไม่หลับนั้นร้ายกาจกว่าที่คุณคิด โดยสามารถส่งผลต่อทั้งสุขภาพกายและใจ ทำให้ไม่มีสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า ยิ่งไปกว่านั้นยังเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเรื้อรังอย่างความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจตามมาได้