เคยไหมกับการมีอาการใจสั่น? มีคนจำนวนไม่น้อยที่มองข้ามอาการดังกล่าว ซึ่งในบางกรณี อาการใจสั่นสามารถเป็นสัญญาณของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจที่มีความร้ายแรง ดังนั้นหากคุณมีอาการใจสั่นพร้อมกับมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจติดขัด เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก หรือเป็นลม คุณก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูสาเหตุของอาการใจสั่นและวิธีรักษา แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ
สาเหตุ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มีหลายสาเหตุที่ทำให้เรามีอาการใจสั่น แต่โดยทั่วไปแล้วอาการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับหัวใจ หรือเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ สำหรับสาเหตุของอาการใจสั่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวใจมีดังนี้
- การมีอารมณ์ที่รุนแรงอย่างความวิตกกังวลหรือความเครียด ซึ่งมักเกิดขึ้นในระหว่างที่โรคแพนิคกำเริบ
- การออกกำลังกายอย่างหนัก
- คาเฟอีน นิโคติน แอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด เช่น โคเคน แอมเฟตามีน ฯลฯ
- การเจ็บป่วย เช่น โรคไทรอยด์ การมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ โรคโลหิตจาง ความดันโลหิตต่ำ เป็นไข้ ภาวะขาดน้ำ ฯลฯ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างที่มีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือก่อนวัยทอง ในบางครั้งการมีอาการใจสั่นในระหว่างที่ตั้งครรภ์สามารถเป็นสัญญาณของโรคโลหิตจาง
- ยาบางชนิด เช่น ยาลดความอ้วน ยาหดหลอดเลือด ยารักษาโรคหอบหืด ยารักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ยาที่ใช้รักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
- สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิด
- การมีระดับของอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ
อย่างไรก็ตาม บางคนมีอาการใจสั่นหลังจากทานอาหารมื้อใหญ่ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และไขมัน นอกจากนี้การทานอาหารที่มีผงชูรส ไนเตรต หรือโซเดียมสูงก็สามารถทำให้คุณมีอาการใจสั่นเช่นกัน ในกรณีที่อาการใจสั่นมีความเชื่อมโยงกับโรคหัวใจ มันก็มีแนวโน้มทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งโรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอาการใจสั่น เช่น อาการก่อนโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว ลิ้นหัวใจมีปัญหา กล้ามเนื้อหัวใจมีปัญหา
สิ่งที่แพทย์ทำ
สิ่งที่แพทย์จะทำกับคุณคือ ตรวจร่างกาย สอบถามประวัติการเจ็บป่วย ยาที่ทานในปัจจุบัน อาหาร และไลฟ์สไตล์ สอบถามเกี่ยวกับเวลา หรือความถี่ที่อาการใจสั่นเกิดขึ้น ในบางครั้งการตรวจเลือดสามารถช่วยให้แพทย์เจอสาเหตุของอาการใจสั่น สำหรับการทดสอบอื่นๆ ที่มีประโยชน์ เช่น
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram - EKG): สามารถทำในขณะที่ร่างกายอยู่ในช่วงพักหรือช่วงออกกำลังกาย การทดสอบชนิดนี้ทำให้เราพบความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ
- เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจ (Holter monitoring): คุณจะต้องติดเครื่องติดตามที่หน้าอก ซึ่งมันจะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจนาน 24-48 ชั่วโมง
- เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดพกพา (Event recording): คุณจะต้องติดตั้งเครื่องนี้ที่หน้าอก เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจเมื่อมีอาการเกิดขึ้น
- การตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray): แพทย์จะตรวจการเปลี่ยนแปลงภายในปอด ซึ่งสามารถเกิดจากการที่หัวใจมีปัญหา ตัวอย่างเช่น หากพบของเหลวภายในปอด มันก็อาจเกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว
- การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram): การตรวจวิธีนี้คือการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจ ทำให้พบข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ
การรักษา
การรักษาอาการใจสั่นนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่โดยทั่วไปแล้ว อาการใจสั่นไม่ทำให้เกิดอันตราย และจะหายไปเอง หากแพทย์ไม่พบสาเหตุ เขาก็อาจแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงตัวการที่กระตุ้นให้มีอาการใจสั่น สำหรับวิธีรักษา เช่น
- ลดความวิตกกังวลและความเครียด: ออกกำลังกาย ฝึกโยคะ ฝึกไทเก๊ก ฝึกไบโอฟีดแบ็ค ฝึก Guided imagery กลิ่นบำบัด
- หลีกเลี่ยงการทานอาหาร เครื่องดื่ม หรือสารบางชนิด: แอลกอฮอล์ นิโคติน คาเฟอีน ยาเสพติด
- หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้เกิดการกระตุ้น: ยาแก้ไอและยารักษาโรคหวัด อาหารเสริมบางชนิด
อย่างไรก็ตาม หากการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้น คุณอาจต้องทานยาตามที่แพทย์สั่ง ในบางครั้งแพทย์อาจจ่ายยา Beta-Blockers หรือ Calcium-Channel Blockers หากแพทย์พบสาเหตุของอาการใจสั่น เขาก็จะรักษาโดยยึดตามสาเหตุ แต่หากมันเกิดจากยา เขาก็จะใช้วิธีอื่นรักษา