10 สาเหตุของอาการลมหายใจมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
10 สาเหตุของอาการลมหายใจมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

ลมหายใจมีกลิ่น อาจทำให้เกิดความรำคาญกับตัวคุณและคนรอบข้าง เพื่อที่จะขจัดลมหายใจมีกลิ่น คุณจำเป็นต้องรู้ว่ากลิ่นเหล่านั้นมาจากไหน

ลมหายใจมีกลิ่น อาจทำให้เกิดความรำคาญกับตัวคุณและคนรอบข้าง หากคุณคิดว่าหมากฝรั่งและมิ้นท์ที่หาได้ในท้องตลาดสามารถแก้ปัญหาได้คุณคิดผิดแล้วหละ ลมหายใจที่ไม่พึงประสงค์อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งผลิตกลิ่นต่างกันออกไป ดังนั้นคุณควรที่จะหาต้นเหตุของกลิ่นมากกว่า แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าสาเหตุของตัวผลิตกลิ่นเหล่านี้คืออะไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. แบคทีเรียในช่องปาก

สาเหตุหลักของกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์คือแบคทีเรียและการเน่าเปื่อยของเศษอาหาร การดูแลความสะอาดของช่องปากที่ไม่ดีเป็นสาเหตุให้เศษอาหารที่หลงเหลืออยู่ในปากสร้างแบคทีเรียขึ้นมา นี่ไม่เพียงเป็นสาเหตุของอาการฟันผุและโรคเหงือกแต่เป็นสาเหตุของอาการมีกลิ่นปากอีกด้วย ในทางที่สอดคล้องกันฟันปลอมที่ไม่ได้ทำความสะอาดอย่างถูกวิธีก็เป็นสาเหตุของการเพาะเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกลิ่นปากได้

2. กินหัวหอมและกระเทียม

หัวหอมและกระเทียมเป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ซึ่งให้ทั้งให้รสชาติที่ดีและสรรพคุณทางยา แต่ก็ส่งผลให้เกิดอาการมีกลิ่นปากด้วยเช่นกัน อาหารที่เรากินนั้นถูกย่อยด้วยกระเพาะอาหาร และถูกดูดซึมไปในกระแสเลือด ผ่านปอดและส่งย้อนมาที่ลมหายใจด้วยเช่นกัน ดังนั้นกลิ่นฉุนที่มาจากหัวหอมกระเทียมและกาแฟ สามารถทำให้คุณมีกลิ่นปากและกลิ่นตัวได้เช่นกัน

3. กินคาร์โบไฮเดรตน้อย

คุณอาจรับประทานอาหารแบบคาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อที่จะลดน้ำหนักแต่อาจส่งผลให้เกิดลมหายใจมีกลิ่น การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ จะทำให้ร่างกายใช้พลังงานจากไขมันซึ่งทำให้เกิดกลิ่นและปล่อยกลิ่นเหม็นในช่องปาก

4. กลิ่นปากจากปัญหาต่อมน้ำลาย

น้ำลายจะทำให้กรดเป็นกลางและช่วยขจัดเซลล์ที่ตายแล้วและเศษอาหารที่อยู่ในปากออกไป อาการปากแห้งเกิดจากภาวะการขาดน้ำลายซึ่งจะทำให้ลมหายใจมีกลิ่นอาการปากแห้งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นต่อมน้ำลายมีปัญหา การใช้ยาเช่นยาลดความดันก็สามารถส่งผลให้เกิดอาการปากแห้งซึ่งทำให้มีกลิ่นปาก

5. สูบบุหรี่

การสูบบุหรี่หรือการใช้ผลิตภัณท์ยาสูบอาจทำให้คุณมีลมหายใจเป็นกลิ่นบุหรี่ไม่เพียงแค่นั้นเศษปฎิกูลของยาสูบก็สามารถทำให้ปากแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก

6. ดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเหล้าที่มากเกินไปเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายปลดปล่อยการเผาผลาญของแอลกอออล์ผ่านปอดและเหงือกและสามารถที่จะทำให้ร่างกายขาดน้ำและปากแห้งอีกด้วย ดังนั้นการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักจะทำให้เกิดกลิ่นตัวและกลิ่นปาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

7. ระบบทางเดินหายใจติดเชื้อ

การติดเชื้อของระบบหายใจ เช่นโรคหวัด โรคไซนัส ก็เป็นสาเหตุของการมีอาการลมหายใจที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากมีการไหลลงของแบคทีเรียจากช่องจมูกไปยังลำคอ

8. เป็นโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยที่เกิดภาวะโรคเบาหวานมักจะมีลมหายใจที่มีกลิ่นที่เรียกว่า ภาวะคีโตน ซึ่งเกิดจากภาวะที่ร่างกายเผาผลาญไขมันแทนกลูโคส

9. ต่อมทอลซิลมีปัญหา

ภาวะก้อนอาหาร,น้ำมูกและแบคทีเรียแข็งตัว และจับกลุ่มเป็นจุดสีขาวๆบนต่อมทอลซิลจะเรียกว่าโรคปากเหม็นซึ่งทำให้เกิดภาวะลมหายใจมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

10. กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมายังหลอดอาหารอาจทำให้เกิดกลิ่นเหม็น อาการไตวายหรือตับวายก็สามารถปล่อยสารพิษขึ้นไปยังปอดและทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้เช่นกัน

 


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Bad breath: What causes it and what to do about it Blog Publishing. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/bad-breath-what-causes-it-and-what-to-do-about-it-2019012115803)
Bad breath (halitosis): Causes, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/166636)
Bad Breath Causes, Treatments, and Prevention (https://www.webmd.com/oral-health/guide/bad-breath#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป