การดูแลเด็กที่มีอาการท้องเสีย

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การดูแลเด็กที่มีอาการท้องเสีย

ระบบการขับถ่ายเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดกับมนุษย์ทุกคน เพื่อขับของเสียและกากอาหารที่ผ่านการย่อยแล้วออกจากร่างกาย แต่ถ้าหากลูกของเรามีอาการท้องเสีย ย่อมทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กรู้สึกเป็นกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพ เพราะฉะนั้นเราจะมาทำความรู้จักกับอาการท้องเสียและการดูแลเด็กที่มีอาการท้องเสียอย่างถูกวิธีกัน

ถ่ายแบบใดจึงจะเรียกว่า “ท้องเสีย”?

โดยปกติเด็กแต่ละคนจะมีการขับถ่ายที่แตกต่างกันออกไป บางคนขับถ่ายวันละ 1 – 2 ครั้ง หรือเด็กอีกคนก็อาจจะขับถ่าย 2 – 3 วันต่อครั้ง แต่ถ้าเด็กขับถ่ายมีลักษณะที่ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งอาจจะถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือดปน ให้สันนิษฐานได้เลยว่าลูกกำลังมีอาการท้องเสียอย่างแน่นอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของอาการท้องเสียในเด็ก

  1. การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับน้ำและอาหารไม่สะอาด รวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ หรือสิ่งสกปรกที่ติดมากับมือของเด็กจากการหยิบจับสิ่งของหรืออาหารเข้าไปในปาก และอาจเกิดจากภาชนะที่ใส่น้ำหรืออาหารได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งมักจะเป็นเชื้อประเภทอหิวาต์ บิด เชื้อรา ไทฟอยด์ หรือโรต้าไวรัส เป็นต้น
  2. การใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นอาการข้างเคียงที่เกิดจากการรับประทานยาปฏิชีวนะบางชนิด โดยทำให้มีอาการท้องเสียหลังจากที่รับประทานยาไปแล้วประมาณ 3 – 5 วัน เพราะตัวยาปฏิชีวนะบางชนิดมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้หลายชนิด จึงทำให้แบคทีเรียชนิดดีที่อยู่ในลำไส้เกิดการเสียสมดุล แล้วก่อให้เกิดอาการท้องเสียในที่สุด
  3. ลำไส้ทำงานผิดปกติ เกิดจากระบบการย่อยและดูดซึมของลำไส้มีการทำงานผิดปกติ
  4. สาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะอารมณ์จากความเครียดหรือตื่นเต้น และเกิดจากการแพ้โปรตีนในนมโค เป็นต้น

การดูแลเด็กที่มีอาการท้องเสีย

ถึงแม้ว่าเด็กจะยังคงมีอาการปกติและวิ่งเล่นได้เหมือนเดิม แต่ในขณะที่ลูกมีอาการท้องเสียพร้อมๆ กัน เราสามารถดูแลเบื้องต้นได้ด้วยการชงเกลือแร่หรือผงโออาร์เอสกับน้ำดื่มต้มสุกสะอาด โดยให้เด็กดื่มตามปริมาณจากคำแนะนำที่กำหนดบนฉลาก เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำ โซเดียม และโพแทสเซียมออกจากร่างกาย

ระหว่างที่เด็กยังคงมีอาการท้องเสีย ให้งดดื่มนมสดและน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เนื่องจากจะทำให้มีอาการท้องเสียมากขึ้น แต่ควรดื่มนมประเภทที่ไม่มีแล็กโทสหรือนมถั่วเหลืองทดแทน และต้องงดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารย่อยยาก หรืออาหารที่มีกากใยสูงชั่วคราว โดยให้เด็กรับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย รับประทานครั้งละน้อยๆ แต่เพิ่มจำนวนครั้งบ่อยๆ จะช่วยให้ลำไส้ปรับตัวในการดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น

สิ่งที่สำคัญในการดูแลเด็กที่มีอาการท้องเสียคือ ไม่ควรซื้อยาหยุดถ่ายให้เด็กรับประทาน เพราะไม่สามารถช่วยบรรเทาภาวะขาดน้ำจากการขับถ่ายได้ อีกทั้งยังทำให้เชื้อคงอยู่เหมือนเดิมอีกด้วย แม้ว่าอาการท้องเสียจะทุเลาลงไปแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายต่อเด็กอย่างยิ่ง และถ้าเด็กมีอาการท้องเสียมาก มีไข้ขึ้นสูง อาเจียน ซึมและอ่อนเพลีย ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

วิธีป้องกันไม่ให้เด็กมีอาการท้องเสีย

วิธีป้องกันอาการท้องเสียจะต้องใช้วิธีปฏิบัติหลายวิธีร่วมกันจึงจะได้ผล โดยเริ่มตั้งแต่การสอนเด็กให้ล้างมือทุกครั้งก่อนหยิบอาหารรับประทาน ดูแลความสะอาดจากการที่เด็กหยิบจับเข้าปาก ส่วนผู้ใหญ่อย่างเราควรหมั่นตรวจภาชนะที่ใส่อาหารและเครื่องดื่ม ว่าล้างสะอาดแล้วจัดเก็บในตู้ที่มีฝาปิดมิดชิดดีหรือไม่ พร้อมกับจัดเตรียมอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ๆ หรือจัดเก็บสำรับไว้ในตู้กับข้าวที่มีฝาชีปิดครอบมิดชิด

นอกจากนี้ควรเพิ่มความระมัดระวังเวลาที่เด็กเล่นกับสัตว์เลี้ยง เพราะอาจทำให้มีอาการท้องเสียได้ เนื่องจากตัวสัตว์เลี้ยงมักจะมีสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคที่ติดมาจากการวิ่งเล่นและคุ้ยเศษอาหาร และควรปิดฝาถังขยะให้สนิท เพื่อป้องกันการคุ้ยอาหารจากสัตว์เลี้ยงนั่นเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treating Diarrhea in Children. WebMD. (https://www.webmd.com/first-aid/diarrhea-treatment-in-children)
Diarrhea in Children: Why It Happens & How To Stop It. WebMD. (https://www.webmd.com/children/guide/diarrhea-treatment#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน

รู้หรือไม่ว่า มะตูมนอกจากจะเอามาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้แล้ว ส่วนอื่นๆ ของมะตูมก็สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกายได้อีกด้วย!

อ่านเพิ่ม
ชาเขียว เครื่องดื่มยอดฮิตที่มีทั้งประโยชน์และโทษต่อสุขภาพ
ชาเขียว เครื่องดื่มยอดฮิตที่มีทั้งประโยชน์และโทษต่อสุขภาพ

วิธีดื่มชาเขียวให้ได้ประโยชน์สูงสุด และการนำชาเขียวไปใช้ร่วมกับสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ

อ่านเพิ่ม