การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันโรคติดต่อ อาจไม่สามารถทำได้แบบ 100% แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงลงมาได้น้อยที่สุด หากรู้จักวิธีป้องกันที่เหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 23 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย คือการลดความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infection (STI)) อันที่จริงแล้วการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย 100% (คือการร่วมเพศที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนของเหลวจากร่างกาย และไม่มีการสัมผัสชั้นเยื่อเมือกของกันและกันเลย) เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง แม้จะมีการป้องกันก็ตาม แต่การป้องกันที่ดีก็ช่วยลดความเสี่ยงลงได้มาก หากเลือกใช้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์

กิจกรรมทางเพศที่แตกต่างกัน สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อเหมือนกันหรือไม่?

กิจกรรมทางเพศที่ต่างกัน ก็ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ STI ต่างกัน ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การจูบ
    • เชื้อเริมที่ปาก (Oral Herpes (HSV-1))
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • การใช้นิ้วและกำปั้น (ทวารหนักและช่องคลอด)
    • อาจทำให้เกิดแผลฉีกขึ้นที่ทวารหนักหรืออวัยวะเพศ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการส่งต่อโรค STI ที่มาจากเลือดได้ เช่น
    • หากนิ้วของคุณสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศของคนอื่น และนำนิ้วนั้นไปสัมผัสกับอวัยวะเพศของตนเองก็อาจทำให้ได้รับเชื้อ STI ได้เช่นกัน
  • เพศสัมพันธ์แบบสอดใส่องคชาตในช่องคลอด
    • HIV
    • หนองใน
    • เริม
    • HPV
    • ซิฟิลิส
    • แผลริมอ่อน (Chancroid)
    • ไวรัสตับอักเสบ B และ C
    • ทริโคโมแนส
    • หูดอวัยวะเพศ
  • เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
    • HIV
    • หนองใน
    • เริม
    • HPV
    • ซิฟิลิส
    • แผลริมอ่อน
    • ไวรัสตับอักเสบ B และ C
    • หูดอวัยวะเพศ
    • และโรคที่ติดต่อทางจุลินทรีย์ที่อยู่ในอุจจาระ
    • ไกอาเดีย (Giardia)
    • โรคบิด (Shigella)
    • โรคซัลโมเนลลา (Salmonella)
    • Campylobacter
    • E. coli
  • เพศสัมพันธ์แบบปากช่องคลอดกับปากช่องคลอด (Scissoring)
    • HIV
    • HPC
    • HSV-1
    • HSV-2
    • ซิฟิลิส
    • คลามายเดีย
    • หนองใน
    • หูดบนอวัยวะเพศ

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การฉีดวัคซีนป้องกัน HPV : HPV เป็นโรค STI ที่พบได้มากและส่งผลระยะยาวมากมาย เช่นทำให้เกิดหูดบนอวัยวะเพศ ทำให้เกิดมะเร็งองคชาติ มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งลำคอได้ สามารถป้องกันได้จากการฉีดวัคซีนก่อนการสัมผัสกับเชื้อไวรัส
  • การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ B : ไวรัสตับอักเสบ B เป็นโรคไวรัสที่แพร่กระจายทางเลือด การสัมผัสชั้นเยื่อเมือก และของเหลวจากการร่วมเพศ สามารถฉีดป้องกันได้ตั้งแต่วัยทารก ซึ่งวัคซีนจะมีฤทธิ์ป้องกันอย่างน้อย 30 ปี และยังมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตับอักเสบ B สูงอีกด้วย
  • การใช้ถุงยางอนามัย : การใช้ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชายเป็นวิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุด หากเป็นคนที่นิยมร่วมเพศโดยการใช้องคชาตกับช่องทางต่างๆ เช่น ปาก ช่องคลอด หรือทวารหนัก หากมีเพศสัมพันธ์ด้วยการใช้ของเล่นสำหรับผู้ใหญ่ ก็สามารถสวมใส่ถุงยางลงบนของเล่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้ด้วย
  • การใช้แผ่นยางครอบฟันกับถุงมือ :การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก กับปากช่องคลอด (Cunnilingus) หรือทวารหนัก (Anilingus) จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลายชนิด จึงควรใช้แผ่นยาง (Dam) หรือถุงยางอนามัยที่ตัดตามแนวนาวคลุมส่วนปากช่องคลอดและทวารหนักเอาไว้ ส่วน

สามารถหยุดใช้ถุงยางอนามัยหลังการมีเพศสัมพันธ์สักระยะได้หรือไม่

หากต้องการเลิกใช้ถุงยางอนามัยหรือวิธีป้องกันอื่น ๆ ก็ควรมีการตรวจหาการติดเชื้อ STI ในร่างกายของทั้งสองฝ่ายก่อน หรือถ้าหากมีคู่นอนเพียงคนเดียว ก็สามารถหยุดใช้ถุงยางอนามัยและเปลี่ยนไปคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ ได้ หากยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร

ที่มาของข้อมูล

Jen Bell, Nicole Telfer, Safer sex 101 (https://helloclue.com/articles/sex/safer-sex-101), 4 กรกฎาคม 2018


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sex activities and risk. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/sexual-health/sex-activities-and-risk/)
Safe Sex - What You Need to Know. Drugs.com. (https://www.drugs.com/cg/safe-sex.html)
Safe sex : MedlinePlus Medical Encyclopedia (https://medlineplus.gov/ency/article/001949.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป