คนส่วนใหญ่มองว่า “โรคเบาหวานชนิดที่ 2” เป็นโรคของคนอ้วน หรือผู้สูงอายุ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคเบาหวานสามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะ “ผู้หญิง” ที่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชาย อีกทั้งเมื่อเป็นแล้วยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพทางเพศ หรือการมีบุตรยาก
รู้หรือไม่ว่า ผู้หญิงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าผู้ชาย
สหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation: IDF) รายงานว่า ใน พ.ศ.2560 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก 425 ล้านคน และคาดว่า พ.ศ 2588 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 629 ล้านคน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โดยสถานการณ์โรคเบาหวานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 4.4 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 รองจาก จีน อินเดีย และญี่ปุ่น
จากสถิติการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ประจำ พ.ศ. 2557 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีผู้หญิงป่วยเป็นโรคเบาหวาน 9.8% ในขณะที่ผู้ชายป่วยเป็นโรคเบาหวานเพียง 7.8% นับว่า ผู้หญิงมีสัดส่วนมากกว่าผู้ชายถึง 2%
ปัจจัยที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชาย
ปัจจัยที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะแบ่งผู้หญิงออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น ผู้หญิงทั่วไป หญิงตั้งครรภ์ ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ผู้หญิงทั่วไป
ผู้หญิงทั่วไปจะมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ชายจากปัจจัยทางด้านสรีระที่แตกต่างกัน เช่น มวลไขมันที่มีมากกว่าผู้ชาย และมีฮอร์โมนเพศชื่อว่า “ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)” ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะส่งผลต่อการทำงานของอินซูลิน (Insulin) หนึ่งในฮอร์โมนสำคัญซึ่งทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานตามเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมันในร่างกาย
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ดังนั้น หากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติจะทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย
หญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์หลายคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกภาวะนี้ว่า "ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance)"
เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอจะทำให้น้ำตาลคงอยู่ในกระแสเลือดมาก ก่อให้เกิด โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ หลังคลอดหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ยังมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อเนื่องได้ด้วย
หรือหากหายจากโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้ว แต่ไม่ได้ดูแลสุขภาพก็มีโอกาสกลับมาเป็นเบาหวานซ้ำอีกภายในระยะเวลา 5-10 ปีได้เช่นกัน
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูง เนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และมีความต้องการฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานตามเซลล์ต่างๆ ของร่างกายมากขึ้นด้วย
หากร่างกายต้องผลิตฮอร์โมนอินซูลินมากกว่าปกติติดต่อกันเป็นประจำ จะทำให้กระบวนการผลิตฮอร์โมนอินซูลินเสื่อมประสิทธิภาพลงจนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้น้ำตาลสะสมอยู่ในเลือดเป็นจำนวนมาก และป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในที่สุด
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มากกว่าผู้หญิงทั่วไป เนื่องจากไขมันส่วนเกินในร่างกายจะถูกย่อยสลายเป็นกรดไขมันอิสระและกลูโคส ไปสะสมอยู่ในกระแสเลือดเป็นปริมาณมากจนส่งผลต่อตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ผลิตอินซูลิน
เมื่อตับอ่อนทำงานผิดปกติ ร่างกายก็จะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตามมา
ผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS)
ผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "PCOS" ก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน เนื่องจากภาวะดังกล่าวอาจทำให้เกิดการดื้ออินซูลินได้ ซึ่งจะทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติจนนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั่นเอง
เช็ก 17 อาการ ความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานในผู้หญิง
เมื่อผู้หญิงเป็นโรคเบาหวานจะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ชาย การรู้จักสังเกตอาการจะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับโรคเบาหวาน และสามารถป้องกันได้อย่างทันท่วงที
- มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป โดยอายุยิ่งมากยิ่งเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
- มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเคยเป็นโรคอ้วน
- น้ำหนักลด หรือเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- ตาพร่ามัว
- ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลากลางคืน
- เป็นแผลแล้วหายช้า
- มีอาการชา โดยเฉพาะบริเวณปลายนิ้วมือ และปลายนิ้วเท้า
- คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
- มีลูกน้ำหนักแรกคลอดเกิน 4 กิโลกรัม
- เคยป่วยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
- ความดันโลหิตสูง
- คอเลสเตอรอลสูง
- ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ
- มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินซูลินในร่างกาย เช่น โรคถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS)
- เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดในสมอง
- คันตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด
หากคุณมีอาการดังกล่าว ไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะอาจนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งแพทย์จะสามารถแนะนำวิธีควบคุมระดับน้ำตาลให้กลับมาเป็นปกติได้
ตรวจโรคเบาหวานได้อย่างไร?
เราสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีตรวจเลือดพื้นฐานเพื่อตรวจว่า มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ นอกจากนี้ การตรวจเลือดพื้นฐานยังสามารถตรวจความผิดปกติอื่นๆ ได้จากการตรวจระดับไขมันในเลือด การทำงานของตับ ไต และความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดอีกด้วย
การตรวจเลือดพื้นฐานสามารถตรวจได้ที่โรงพยาบาลทั่วไป โดยมีเกณฑ์ระดับน้ำตาลในเลือดดังนี้
- ค่าปกติ ผู้ใหญ่ 70-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (mg/dL) เด็ก 60-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (mg/dL)
- ค่าสูง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (mg/dL) มีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน หรือเรียกว่า “ภาวะเบาหวานแฝง” หากไม่สามารถลดระดับน้ำตาลให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติก็มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้
- เป็นโรคเบาหวาน มากกว่า หรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (mg/dL) หากตรวจพบว่า คุณมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์นี้ แพทย์จะนัดมาตรวจระดับน้ำตาลในเลือดซ้ำ เพื่อยืนยันผลที่แน่นอน
ผลกระทบของผู้หญิงเมื่อเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
เมื่อผู้หญิงป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย นอกจากจะได้รับผลกระทบทั่วไปที่พบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สม่ำเสมอ หรือที่เรียกว่า “น้ำตาลสวิง” อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ โรคแทรกซ้อนต่างๆ แล้ว สิ่งที่ผู้หญิงได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ชายก็คือ ทำให้เกิด “โรคและความผิดปกติเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์” ตามมาดังนี้
- เชื้อราในช่องคลอดเจริญเติบโตผิดปกติ เนื่องจากเชื้อราแคนดิดาอัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเป็นเชื้อราที่พบในช่องคลอดจะสามารถเติบโตได้ดีหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายคือ มีอาการคัน แสบ บริเวณช่องคลอด มีตกขาว และรู้สึกเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
- โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection: UTI) เนื่องจากระดับน้ำตาลสูงขึ้นทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง โดยจะมีอาการเจ็บ หรือแสบร้อนเวลาปัสสาวะ บางรายอาจมีเลือดปนออกมาด้วย ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจลุกลามไปถึงการติดเชื้อในไตได้
- ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vaginal Dryness) เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงสามารถทำลายหลอดเลือดในช่องคลอดได้ ทำให้ช่องคลอดผลิตน้ำหล่อลื่นได้น้อยลง ภาวะดังกล่าวจะทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ และมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแสบร้อนและคันที่อวัยวะเพศ แม้จะไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ก็ตาม
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อันตรายอย่างไร?
ปกติแล้วหญิงตั้งครรภ์มักจะไม่รู้ตัวว่า ตนเองมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่ ส่วนมากมักจะตรวจพบโดยแพทย์เพราะเป็นภาวะที่ต้องเฝ้าระวังโรคนี้เป็นพิเศษ เหตุผลสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องจากโรคเบาหวานสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงทั้งต่อตัวมารดาและทารกได้จึงจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เป็นพิเศษ
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นมีดังนี้
- มีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ได้ ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีความดันโลหิตสูงร่วมกับมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะมากกว่าปกติ มักพบในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป หรือช่วง 20 สัปดาห์ขึ้นไป
- ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ จำเป็นต้องผ่าท้องคลอดเท่านั้นเพื่อป้องกันภาวะไหล่ติด เนื่องจากทารกตัวใหญ่ มักมีน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
- ทารกอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำทันทีหลังคลอด จากความผิดปกติที่ร่างกายผลิดอินซูลินมากเกินไป มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ หรือผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดคือ ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ได้
- ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีโอกาสเป็นโรคอ้วน หรือเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
- ผู้หญิงที่เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใน 10 ปีหลังคลอด หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี
เมื่อเป็นโรคเบาหวานต้องดูแลตัวเองอย่างไร?
เมื่อคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน สิ่งที่จะต้องทำคือ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่แพทย์กำหนด (เกณฑ์ของผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุ ระยะเวลาที่เป็นโรค การมีโรคแทรกซ้อน หรือความเจ็บป่วยร่วมอื่นๆ) โดยจะต้องคอยตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ ด้วยวิธีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองที่เรียกว่า “SMBG (Self Monitoring of Blood Glucose)”
นอกจากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว แพทย์อาจจ่ายยา หรือฉีดฮอร์โมนอินซูลินให้กับผู้ป่วย หากมีอาการของโรคที่รุนแรง เช่น ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จนเกิดอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น
- ควบคุมอาหาร ไม่รับประทานอาหารหวานจัด เค็มจัด หรือเนื้อสัตว์ติดมัน เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง ผักปลอดสารพิษ เนื้อปลา เต้าหู้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสามารถดึงน้ำตาลมาใช้เป็นพลังงานมากขึ้น
- ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรเครียด หรือกังวลมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นได้
หากปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น ผู้ป่วยก็จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น โรคเบาหวานก็จะไม่รุนแรง อีกทั้งยังทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป และห่างไกลจากโรคแทรกซ้อนได้นั่นเอง
10 พฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานสามารถป้องกันได้ ถึงแม้ว่า คุณจะเป็นเบาหวานแฝง (ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่เป็นเบาหวาน) แล้วก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติโดยไม่ต้องใช้ยารักษา หรือช่วยชะลอการป่วยเป็นโรคเบาหวานไปได้ราว 5-10 ปี หรือหายขาดเลยก็ได้
- ไม่รับประทานน้ำตาลปริมาณเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน หรือประมาณ 24 กรัม (อย่าลืมคำนวณน้ำตาลในอาหารที่ปรุงสำเร็จมาแล้วด้วย โดยเฉพาะอาหารที่มีรสหวานนำ อาหารที่มีความมัน เช่น แกงไข่พะโล้ แกงกะทิสายบัวปลาทูนึ่ง)
- ควรรับประทานมื้อเช้าทุกวัน เพราะนอกจากการงดมื้อเช้าจะไม่ได้ทำให้ลดน้ำหนักได้ แต่กลับทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง อ่อนเพลีย หงุดหงิด อาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้
และเมื่อถึงอาหารมื้อต่อไปผู้ที่งดมื้อเช้าก็มักเลือกรับประทานอาหารรสหวาน อาหารที่พลังงานสูงๆ เพื่อทดแทนความหิวโหย ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้นๆ เมื่อรับประทานมื้อเย็นระดับน้ำตาลในเลือดก็สูงขึ้นไปอีก พฤติกรรมนี้หากทำเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ - งดสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- ควรขยับร่างกายให้มากขึ้น โดยทุกๆ 1 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนท่าทางบ้าง
- ออกกำลังกายมากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 15-30 นาทีขึ้นไป
- ดื่มน้ำให้เพียงพอกับปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน
- ควบคุมน้ำหนัก หรือค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเกณฑ์ BMI ที่ถือว่า มีน้ำหนักสมส่วนสำหรับชาวเอเชียและคนไทยอยู่ที่ 18.5-24.9 ในขณะที่ 25.0-29.9 ถือว่า เป็นโรคอ้วน และมากกว่า 30 ขึ้นไปจัดอยู่ในกลุ่มโรคอ้วนที่เป็นอันตราย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น แป้งไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต ผักผลไม้ต่างๆ ที่มีกากใยสูง เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา และไขมันดีต่างๆ เช่น ถั่วอัลมอนด์ อะโวคาโด
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดความเครียดมากจนเกินไป
- ตรวจร่างกายประจำปีเสมอ โดยเฉพาะการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด หากคุณเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินเกณฑ์
สรุป
ถึงแม้ว่าผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานสูงกว่าผู้ชาย แต่อย่ากังวลเพราะโรคเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ เพียงแค่ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม” เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการรับประทานของมันของทอด ไม่ติดรสหวาน หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นไปตรวจเช็กสุขภาพประจำปี ก็จะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคเบาหวานแน่นอน