กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช

การจัดฟันแบบโลหะ มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร

รู้จักการจัดฟันรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุด เพื่อประกอบการตัดสินใจหากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดอยากจัดฟัน
เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 28 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การจัดฟันแบบโลหะ มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การจัดฟันแบบโลหะ เป็นการใช้เครื่องมือจัดฟันโลหะที่เรียกว่า "แบร็คเก็ต" ติดไว้บนผิวฟันด้านหน้า แล้วจึงวางลวดโลหะไร้สนิมผ่านร่องของเครื่องมือ จากนั้นก็ใช้ยางสีๆ รัดตัวเครื่องมือจัดฟันให้ติดกับลวดจัดฟันอีกครั้ง อุปกรณ์ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ฟันเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมตามที่ทันตแพทย์ตั้งใจ
  • ข้อดีของการจัดฟันแบบโลหะคือ คนไข้มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการจัดฟันแบบดามอน หรือการจัดฟันแบบใส การจัดฟันแบบโลหะธรรมดานั้นมีราคาถูกกว่าครึ่งต่อครึ่ง และสามารถหาคลินิกทันตกรรมที่ให้บริการได้ง่ายแม้ตามต่างจังหวัดก็ตาม 
  • ข้อเสียของการจัดฟันแบบโลหะ คือ เจ็บกว่าวิธีอื่น เนื่องจากการใช้ลวดยึดติดกับยางรัดฟันทำให้มีแรงดึงฟันมาก ผู้จัดฟันจึงมักรู้สึกเจ็บระบมไปทั้งปาก อีกทั้งปลายเส้นลวด ส่วนของเครื่องมือที่ยึดติดกับฟันยังอาจเสียดสี หรือเกี่ยวกับช่องปากทำให้ระคายเคือง บาด เป็นแผล บวม ได้
  • ระยะเวลาในการจัดฟันแบบโลหะจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับสภาพการเรียงตัวของฟันแต่ละคน หลังถอดเครื่องมือจัดฟันออกแล้วยังจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ต่อไปอีกอย่างน้อย 1 ปี หรือตามที่ทันตแพทย์แนะนำ เพื่อคงสภาพฟันไม่ให้เคลื่อนกลับไปตำแหน่งเดิม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจัดฟันแบบลวด

เรามักเห็นเด็กนักเรียนประถม เด็กมัธยม นักศึกษา ไปจนถึงคนวัยทำงานนิยม "จัดฟันแบบโลหะ" การจัดฟันที่โดดเด่นด้วยการใช้ลวดโลหะไร้สนิม (stainless steel) ที่หลายคนมักเรียกว่า “เหล็ก” คาดทับฟันและใส่ยางรัดสีๆ ซึ่งสามารถเปลี่ยนโทนสีได้ทุกเดือน 

เวลายิ้ม หรือพูดแต่ละครั้ง ก็จะมองเห็นเครื่องมือเหล่านี้อย่างชัดเจน บางคนเริ่มจัดฟันก็กลายเป็นคนพูดไม่ชัด อย่างไรก็ตาม การจัดฟันแบบโลหะก็กลายเป็นแฟชั่นยอดฮิตช่วงหนึ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทย ถึงขั้นมีจัดฟันเถื่อน ของทำเทียมเกิดขึ้นมากมาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเหงือกและฟันตามมาในหลายๆ ราย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
จัดฟันลวด วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 17,640 บาท ลดสูงสุด 97%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แท้จริงแล้วการจัดฟัน (Orthodontic Treatment) คืออะไร การจัดฟันแบบโลหะที่นิยมกันนั้นคืออะไร มีข้อดี ข้อเสีย อย่างไร

การจัดฟันแบบโลหะธรรมดาต่างจากแบบอื่นอย่างไร

การจัดฟันแบบโลหะ หรือการจัดฟันแบบธรรมดา หรือชื่อทางการว่า "การจัดฟันด้วยเครื่องมือจัดฟันชนิดติดแน่นด้านนอกแบบโลหะ (Metal Braces)" เป็นการใช้เครื่องมือจัดฟันโลหะที่เรียกว่า "แบร็คเก็ต (bracket)" ติดไว้บนผิวฟันด้านหน้า แล้วจึงวางลวดโลหะไร้สนิมผ่านร่องของเครื่องมือ (Braces) 

จากนั้นก็ใช้ยางสีๆ ที่เราเห็นรัดตัวเครื่องมือจัดฟันให้ติดกับลวดจัดฟันอีกครั้ง อุปกรณ์ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ฟันเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมตามที่ทันตแพทย์ตั้งใจ

การจัดฟันแบบโลหะธรรมดามีการใส่ยางรัดสีสันต่างๆ ติดกับเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งแตกต่างจากการจัดฟันโลหะแบบดามอนที่ไม่ต้องใส่ยางรัดฟันสีๆ และการจัดฟันแบบใส ที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือโลหะ หรือลวดจัดฟัน

ข้อดีของการจัดฟันแบบลวดโลหะ

  • คนไข้มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ถ้าเทียบกับการจัดฟันแบบดามอน หรือการจัดฟันแบบใส การจัดฟันแบบโลหะธรรมดานั้นมีราคาถูกกว่าครึ่งต่อครึ่ง นี่จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ใครต่อใครนิยมเลือกการจัดฟันแบบโลหะเป็นส่วนใหญ่
  • สามารถจัดฟันได้ทุกรูปแบบ เช่น ฟันเก ฟันซ้อน ฟันยื่น ฟันห่าง ฟันล้ม 
  • ได้ใส่ยางรัดฟัน หลายๆ คนชื่นชอบและสนุกกับการเลือกสียางรัดฟัน และเปลี่ยนสีสันไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนยาง เรียกได้ว่า เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการจัดฟันแบบนี้เลยก็ว่าได้ บางครั้งโทนสีของยางจัดฟันก็สามารถบ่งบอกบุคลิกตัวตนของเราได้เหมือนกันนะ
  • มีคลินิกให้บริการทั่วไป เนื่องจากเครื่องมือจัดฟันแบบโลหะนั้นไม่ซับซ้อนเท่าเครื่องมือจัดฟันแบบอื่น คลินิกทันตกรรมในทุกจังหวัดก็มักมีบริการจัดฟันแบบนี้อยู่แล้ว

ข้อเสียของการจัดฟันแบบโลหะ

  • เจ็บกว่าวิธีอื่น เนื่องจากการใช้ลวดยึดติดกับยางรัดฟันทำให้มีแรงดึงฟันมาก ผู้จัดฟันจึงมักรู้สึกเจ็บระบมไปทั้งปาก โดยเฉพาะช่วงแรกๆ ที่ฟันเริ่มเคลื่อนตำแหน่ง อีกทั้งปลายเส้นลวดทั้งบนและล่างรวมทั้งส่วนของเครื่องมือที่ยึดติดกับฟันยังอาจเสียดสี หรือเกี่ยวกับช่องปากทำให้ระคายเคือง บาด เป็นแผล บวม หรืออักเสบได้
  • ดูแลความสะอาดยาก ลวดจัดฟันในปากจะเป็นตัวขัดขวางทำให้แปรงฟันได้ไม่สะดวก อีกทั้งยางรัดฟันยังเป็นตัวสะสมคราบอาหารและแบคทีเรียทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ จึงต้องใช้เวลาและใช้อุปกรณ์ดูแลความสะอาดมากเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ตามมา
  • มีปัญหาในการพูด และการเคี้ยวอาหาร หลายๆ คนที่จัดฟันแบบลวดโลหะมักมีปัญหาพูดไม่ชัด หรือเคี้ยวอาหารไม่สะดวก เพราะลวดจัดฟันเป็นอุปสรรคในช่องปาก ซึ่งต้องใช้เวลาสักพักถึงจะเริ่มคุ้นชิน
  • ไม่สามารถปกปิดเครื่องมือจัดฟันได้ บุคคลภายนอกจะรู้ทันทีว่า คุณอยู่ในช่วงจัดฟัน การจัดฟันแบบนี้จึงอาจไม่เหมาะในบางอาชีพ และหากมีความจำเป็นต้องถอดออกด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม นั่นหมายถึง การถอดออกอย่างถาวรเท่านั้น อีกทั้งคุณยังไม่สามารถถอดเครื่องมือเองและใส่เครื่องมือเองได้ ถ้าคิดจะกลับมาใส่เครื่องมือนี้ใหม่ คุณต้องเริ่มต้นจัดฟันใหม่นั่นเอง
  • ต้องไปพบทันตแพทย์บ่อยๆ การจัดฟันแบบโลหะ คุณต้องไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 3 – 5 สัปดาห์ เพื่อเปลี่ยนลวดและยางจัดฟัน เพื่อให้ฟันค่อยๆ เคลื่อนไปในตำแหน่งที่วางแผนไว้นั่นเอง แต่เงื่อนไขนี้ทำให้หลายๆ คนที่บ้านอยู่ไกลจากคลินิกทันตกรรม ลางานลำบาก ติดเรียน ฯลฯ จึงรู้สึกไม่สะดวก บางคนก็ละเลยไม่ยอมไปพบทันตแพทย์ตามนัดทำให้ต้องใช้เวลาจัดฟันนานกว่าที่ควร
  • การจัดฟันแบบโลหะธรรมดา ปกติจะใช้เวลาในการจัดฟันนาน ประมาณ 1-2 ปี หรือมากกว่านั้น 

การดูแลรักษาและข้อควรระวังในการจัดฟันแบบโลหะ

  • ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่แข็ง กรอบ หรือเหนียวมากๆ เพราะอาจทำให้แบร็คเก็ต หรือยางหลุด ลวดจัดฟันโค้งงอ หรือมีเศษอาหารไปติดกับเครื่องมือจัดฟันได้
  • แปรงฟันให้ทั่วถึงทั้งด้านนอกและด้านในตัวฟันบอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหลังการรับประทานอาหารทุกมื้อ 
  • แปรงบริเวณแบร็คเก็ตและลวดจัดฟันให้ทั่ว อย่างน้อยซี่ละ 5 ครั้ง
  • ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุและอาจใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ช่วยได้ 
  • ใช้ไหมขัดฟันชนิดสำหรับคนไข้จัดฟัน ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • ไปพบทันตแพทย์ตามนัดทุก 3 – 5 สัปดาห์ เพื่อเปลี่ยนลวดและยาง เพื่อปรับลวดเคลื่อนฟันและไม่ให้ยางเสื่อมสภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีการสะสมของเชื้อโรค

การจัดฟันแบบโลหะเหมาะกับใคร

  • เหมาะกับคนทั่วไปที่มีฟันแท้ขึ้นครบและอยากมีฟันเรียงสวย โดยไม่มีปัญหาในการมาพบทันตแพทย์บ่อยๆ

ระยะเวลาในการจัดฟันแบบโลหะ

เฉลี่ยแล้วใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับสภาพการเรียงตัวของฟันของแต่ละคน โดยหลังถอดเครื่องมือจัดฟันออกแล้วยังจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์ต่อไปอีกอย่างน้อย 1 ปี หรือตามที่ทันตแพทย์แนะนำ เพื่อคงสภาพฟันไม่ให้เคลื่อนกลับไปตำแหน่งเดิม

ราคาการจัดฟันแบบโลหะ

ประมาณ 35,000 – 65,000 บาท ขึ้นอยู่กับลักษณะการเรียงตัวของฟัน โดยมีการแบ่งจ่ายรายครั้ง

ก่อนการตัดสินใจจัดฟันควรศึกษา ทำความเข้าใจรายละเอียดของการจัดฟันแบบต่างๆ หรือวิธีที่ดีที่สุดคือ การไปพบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจจัดฟันแบบลวด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
จัดฟันแบบโลหะ คืออะไร จัดนานแค่ไหน ใส่สีได้ไหม? อ่านสรุปที่นี่ | HDmall (https://hdmall.co.th/c/metal-braces).
อุปกรณ์จัดฟัน มีอะไรบ้าง? รวมชื่อเครื่องมือทันตกรรมจัดฟัน | HDmall (https://hdmall.co.th/c/orthodontics-instruments-for-wire-braces).
การจัดฟันแบบดามอน คืออะไร ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/damon-system).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม
การดูแลช่องปากระหว่างจัดฟันให้ถูกวิธี
การดูแลช่องปากระหว่างจัดฟันให้ถูกวิธี

การจัดฟันต้องมีวินัย ถ้าไม่อยากมีปัญหาสุขภาพปากและฟันตามมาให้แก้ไข

อ่านเพิ่ม