การทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจ (Tests for Diagnosing Heart Conditions)

ทำความเข้าใจวิธีการทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจแต่ละประเภท
เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจ (Tests for Diagnosing Heart Conditions)

การทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจ เป็นสิ่งที่ควรตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจร้ายแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต มีหลายวิธี เช่น การเอกซเรย์ การตรวจเลือด การตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ และการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ภาวะหัวใจแบ่งออกเป็นหลายภาวะ แต่ละภาวะจะมีความรุนแรงมากน้อยไม่เท่ากัน ตัวอย่างภาวะหัวใจที่จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างท่วงที ไม่อย่างนั้นจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต เช่น ภาวะหัวใจวาย และภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจเหล่านี้ เราจึงควรเข้ารับการตรวจหาภาวะหัวใจทั่วไปเป็นประจำทุกปี โดยจะมีการวินิจฉัยด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

การตรวจชีพจร

การวัดชีพจรเป็นการวัดสำคัญในการตรวจสอบสุขภาพของหัวใจ โดยวัดจากจำนวนครั้งที่หัวใจเต้นต่อนาที เพื่อประเมินว่า ชีพจรของคุณเต้นเป็นปกติหรือไม่ และตรวจวัดความแข็งแรงของชีพจร

การวัดชีพจรสามารถดำเนินการด้วยบุคลากรทางการแพทย์ หรือทำด้วยตัวคุณเองก็ได้

การวัดความดันโลหิต

การวัดความดันโลหิตมีหน่วยวัด 2 ค่า คือ

  • ค่าความดันตัวบน (Systolic Pressure): ค่าความดันโลหิตภายในหลอดเลือดขณะที่หัวใจบีบรัดตัวเองและดันเลือดออกสู่หลอดเลือดแดง
  • ค่าความดันตัวล่าง (Diastolic Pressure): ค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว

ความดันโลหิตของคุณจะผันแปรไปตลอดทั้งวันขึ้นอยู่กับว่าคุณทำอะไร โดยค่าความดันโลหิตอาจได้รับผลกระทบจาก “โรคกลัวหมอ (White coat hypertension)” ที่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นขณะที่คุณกำลังรับการวัดความดันกับแพทย์

เพื่อป้องกันภาวะนี้ คุณควรพยายามผ่อนคลายตัวเองไว้ด้วยการนั่งทำสมาธิเงียบๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 5 นาทีก่อนเข้ารับการวัดความดัน และควรแจ้งแพทย์ที่ทำการตรวจวัดความดันหากคุณกำลังใช้ยาบางชนิดอยู่ เนื่องจากฤทธิ์ยาอาจส่งผลต่อค่าความดันโลหิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูงหัวใจ (Echocardiogram)

คนส่วนมากนิยมเรียกสั้นๆ ว่าการตรวจ “เอคโค่” เป็นการอัลตราซาวด์หัวใจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสร้างภาพของหัวใจขึ้นมา วิธีการนี้สามารถตรวจสอบรายละเอียดหัวใจเพิ่มเติมได้ เช่น

  • ขนาดของหัวใจ
  • การบีบรัดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การทำงานของลิ้นหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG หรือ Elektrokardiogram: EKG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจคือ การบันทึกกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ เพื่อให้สามารถระบุปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอัตราการเต้นของหัวใจ แบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่

  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะพัก: เป็นการตรวจระหว่างที่คุณนอนอยู่ในท่าทางผ่อนคลาย
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย: การทดสอบขณะที่คุณใช้ลู่วิ่งหรือจักรยานออกกำลังกายอยู่
  • การติดตั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง: จะมีการติดตั้งเครื่องมือขนาดพกพาที่ตัวของคุณเพื่อให้มีการเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา อาจเป็นการทดสอบอยู่ที่บ้าน หรือโรงพยาบาลก็ได้ โดยการทดสอบนี้จะใช้เวลา 1-2 วัน

การทดสอบความทนต่อการออกกำลังกาย (Exercise Tolerance Test: ETT)

มีอีกชื่อเรียกหนึ่งคือ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) วิธีนี้จะคล้ายกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่แตกต่างตรงที่ ETT เป็นการบันทึกกิจกรรมของหัวใจขณะที่ต้องทำงานหนักอยู่ เช่น ขณะที่คุณกำลังเดินอยู่บนลู่วิ่ง โดยการทดสอบ ETT จะมีไว้ตรวจสอบว่า หัวใจตอบสนองต่อการออกแรงอย่างไรบ้าง

การถ่ายภาพสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)

การตรวจประเภทนี้จะใช้พลังงานแม่เหล็กที่ปล่อยออกมาในเครื่องสแกนเพื่อร่างภาพหัวใจและหลอดเลือดออกมา วิธีการตรวจนี้ใช้เพื่อตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของหัวใจและการไหลเวียนโลหิต การตรวจหัวใจด้วยวิธีนี้จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นจะต้องทำร่วมกับการฉีดสารสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram)

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Computed Tomography: Cardiac CT)

Cardiac CT จะใช้เครื่องเอกซเรย์ชนิดพิเศษที่เคลื่อนไปรอบๆ ร่างกายเพื่อให้ได้ภาพจำลองหัวใจแบบ 3D ออกมา

การสแกนด้วยทัลเลียม (Thallium Scan)

การสแกนประเภทนี้จะแสดงให้เห็นว่า เลือดที่ไหลไปยังกล้ามเนื้อหัวใจผ่านหลอดเลือดหัวใจปกติดีหรือไม่ โดยจะมีการฉีดสารทัลเลียม (กัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง) ปริมาณเล็กน้อยเข้าไปในหลอดเลือดดำ และใช้กล้องชนิดพิเศษเคลื่อนไปรอบๆ หัวใจเพื่อหาร่องรอยของทัลเลียม หลังจากนั้นจะส่งออกมาเป็นภาพ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiogram)

เป็นการเอกซเรย์ประเภทหนึ่งที่ใช้ตรวจหลอดเลือดหัวใจที่ใช้ส่งเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเป็นวิธีวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจ (ภาวะที่ส่งผลกับหลอดเลือดโดยรอบหัวใจ) ที่ดีที่สุด 

โดยระหว่างการทดสอบจะมีการใช้สายสวนเรียวยาวและยืดหยุ่นสอดเข้าไปในหลอดเลือดบริเวณขาหนีบหรือแขน ปลายของสายสวนนี้จะถูกดันเข้าไปยังหัวใจและหลอดเลือดแดงหัวใจ จากนั้นจะมีการฉีดสารสีชนิดพิเศษเข้าไปยังหลอดเลือดหัวใจก่อนมีการถ่ายภาพเอกซเรย์ออกมา ภาพที่ได้จะใช้ในการหาภาวะตีบแคบหรือการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่อาจเป็นต้นตอของอาการต่างๆ 

การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจนอกจากใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว การทดสอบนี้ยังจำเป็นต่อการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจอีกด้วย

การตรวจเลือด

มีวิธีการตรวจเลือดหลายวิธีที่สามารถวินิจฉัยสาเหตุของภาวะหัวใจต่างๆ ได้ และเพื่อวัดระดับต่างๆ ในร่างกายที่สามารถส่งผลต่อหัวใจได้ เช่น

  • การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (Complete Blood Count: CBC): เป็นการทดสอบวัดระดับของเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด อีกทั้งยังวัดระดับของฮีโมโกลบินได้อีกด้วย
  • การตรวจยูเรียและอีเล็กโตรไลท์ (Urea and Electrolytes): ระดับของยูเรียจะบ่งชี้ว่า ไตทำงานเป็นอย่างไร ขณะที่อีเล็กโตรไลท์จะช่วยทำให้การเต้นของหัวใจคงที่
  • กลูโคส (Glucose): การทดสอบนี้จะช่วยวัดระดับน้ำตาลในเลือด
  • การตรวจวัดการทำงานของตับและไทรอยด์ (Liver and Thyroid Function)
  • การทดสอบโทรโปนิน (Troponin) ในเลือด: โทรโปนิน คือโปรตีนที่ปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับความเสียหาย การมีอยู่ของโทรโปนินจะช่วยให้แพทย์ตรวจพบและประเมินความเสียหายที่หัวใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และยังช่วยในการประเมินสมมติฐานต่อภาวะหัวใจวายได้อีกด้วย
  • การวัดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด

การเอกซเรย์หน้าอก (Chest x-ray)

การเอกซเรย์หน้าอกจะมีประโยชน์ต่อการแสดงขนาดและรูปร่างของหัวใจ และใช้เพื่อตรวจจับภาวะผิดปกติต่างๆ ที่หน้าอก และยังแสดงให้เห็นของเหลวภายในปอดที่อาจเกิดมาจากโรคหัวใจอีกด้วย


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
National Heart Service, Heart Failure: Diagnosis (https://www.nhs.uk/conditions/heart-failure/diagnosis/)
National Heart Service, Coronary Heart Disease: Diagnosis (https://www.nhs.uk/conditions/coronary-heart-disease/diagnosis/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

1 2 3 4 5