การเลิกสูบบุหรี่ (STOPPING SMOKING)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 30 นาที
การเลิกสูบบุหรี่ (STOPPING SMOKING)

การช่วยเหลือและสนับสนุนโดยครอบครัวและเพื่อน

ครอบครัวและเพื่อนคือกลุ่มบุคคลที่สามารถช่วยเหลือและสนับสนุนคุณได้ดีที่สุด โดยพวกเขาสามารถ...

  • ช่วยคุณเตรียมตัวในการเลิกสูบบุหรี่
  • ช่วยเหลือและสนับสนุนเมื่อคุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้แล้ว

ไม่ว่าคุณจะสูบบุหรี่มานานเท่าใดก็ทำให้คุณติดบุหรี่ได้ทั้งนั้น ซึ่งจะทำให้การเลิกสูบบุหรี่เป็นไปได้ยาก โดยคุณอาจมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • พักสูบบุหรี่ในเวลาเดียวกันเป็นประจำทุกวัน
  • สูบบุหรี่พร้อมกับการจิบกาแฟ
  • ติดนิสัยการคีบบุหรี่ไว้ในมือระหว่างสูบ

พฤติกรรมดังกล่าวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และเพื่อให้การเลิกสูบบุหรี่ได้ผล คุณจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ดังกล่าว ซึ่งแน่นอนคนที่ใกล้ชิดคุณที่สุดอย่างครอบครัวและเพื่อนสามารถช่วยได้

การช่วยเหลือและสนับสนุน 

สภาพแวดล้อมที่ดีถือเป็นกุญแจสำคัญในการเลิกสูบบุหรี่ โดยครอบครัวและเพื่อนของคุณสามารถช่วยเหลือโดยการสนับสนุนและคอยให้กำลังใจ การมีคนคอยรับฟังหรือพูดคุยถือเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนที่ดีที่สุด

การทำกิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ 

เพื่อนๆ อาจแนะนำเรื่องการให้รางวัลกับตนเองเมื่อคุณสามารถเลิกบุหรี่สำเร็จและเป็นไปดังที่คุณตั้งใจ โดยพวกเขาอาจเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมต่างๆ ของคุณ เช่น การทำงานอดิเรกหรือการเล่นกีฬา เป็นต้น เนื่องจากการทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจไม่ให้คุณคิดถึงพฤติกรรมเดิมๆ

แรงบันดาลใจจากคนรอบข้าง 

ครอบครัวและเพื่อนสามารถแสดงให้เห็นว่าความพยายามในการเลิกบุหรี่ของคุณมาไกลแค่ไหนแล้วและพวกเขาจะคอยบอกว่าคุณได้ประโยชน์อย่างไรบ้างจากการเลิกสูบบุหรี่ เช่น การมีลมหายใจที่หอมสดชื่นมากขึ้น เสื้อผ้าและผมไม่มีกลิ่นควันบุหรี่ เป็นต้น นอกจากนี้บรรยากาศในบ้านหลังจากการเลิกสูบบุหรี่ก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีซึ่งน่าอยู่มากยิ่งขึ้น โดยไม่มีบรรยากาศของบุหรี่มือสองที่สมาชิกในครอบครัวหรือแขกที่มาเยี่ยมเยือนได้รับอย่างปฏิเสธไม่ได้ ซึ่งครอบครัวและเพื่อนสามารถช่วยเลือคุณได้ในประเด็นต่อไปนี้

  • ชมเชยเมื่อคุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ แม้จะเป็นการเลิกสูบบุหรี่เพียงวันเดียว สัปดาห์เดียว หรือเดือนเดียวก็ตาม
  • คอยให้กำลังใจให้คุณพยายามเลิกสูบบุหรี่ต่อไป

อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาสามารถให้การสนับสนุนและให้กำลังใจในแนวทางที่แตกต่างกันได้

ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วยเลิกบุหรี่

คุณสามารถขอคำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วยเลิกบุหรี่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเลิกสูบบุหรี่ 

การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้นและมีสุขภาพที่ดีขึ้น คุณจะรู้สึกดีได้ตั้งแต่วันแรกที่คุณเริ่มเลิกบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ทำให้คุณประหยัดเงินมากขึ้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสุขภาพด้วย ดังนี้

การเลิกสูบบุหรี่เปรียบเสมือนการต่ออายุ ทั้งยังช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีอาการดีขึ้นได้

นอกจากนี้ การเลิกสูบบุหรี่ยังช่วยให้คุณใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพที่ดี คุณจะรู้สึกฟิตมากกว่าเดิมและสามารถเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ทั้งยังส่งผลทำให้มีสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

ประหยัดเงินในกระเป๋าได้ด้วยการเลิกสูบบุหรี่ 

การสูบบุหรี่ทำให้สูญเสียเงินไปเยอะทีเดียวและคุณอาจต้องจ่ายค่าบุหรี่แพงขึ้นเรื่อยๆ เพราะหากคุณสูบบุหรี่ที่ 20 มวนในแต่ละวัน นั่นหมายความว่าคุณต้องจ่ายค่าบุหรี่มากถึง 33,000 บาทต่อปี โดยคำนวนจากราคาเฉี่ยของบุหรี่ 1 ซองราคาประมาณ 90 บาท และการเลิกสูบบุหรี่ทำให้คุณสามารถนำเงินส่วนนี้มาให้รางวัลกับตัวเองและคนในครอบครัวได้ เช่น

  • เที่ยวดูหนังหรือทานอาหารดีๆ นอกบ้าน
  • พาครอบครัวท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด

การเลิกสูบบุหรี่ดีต่อสุขภาพ

แน่นอนที่การสูบบุหรี่นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ เมื่อคุณสามารถเลิกมันได้ ร่างกายของคุณจะเริ่มซ่อมแซมตัวเองจากการถูกคุกคามโดยสารพิษหรือสารเคมีต่างๆ ที่ได้จากการเผาไหม้บุหรี่ โดยภายในเวลาไม่กี่วันที่คุณเลิกสูบคุณอาจสังเกตได้ว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • หัวใจเต้นช้าลง
  • ระดับของคาร์บอนมอนน๊อกไซด์และออกซิเจนกลับสู่ภาวะปกติ โดยเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • สามารถรับรสหรือกลิ่นของอาหารได้ดีขึ้น

ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่คุณเลิกสูบบุหรี่คุณอาจสังเกตได้ว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไหลตายลดลง
  • ระบบการทำงานของปอดดีขึ้น
  • ไอน้อยลงและจังหวะการหายใจเป็นปกติ
  • อาการหอบหืดกำเริบน้อยลง

ภายในเวลาไม่กี่เดือนที่คุณเลิกสูบบุหรี่คุณอาจสังเกตได้ว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • ผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังมีอาการดีขึ้น
  • ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดแผลอักเสบต่างๆ

และหากคุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้เป็นปี จะส่งผลดีต่อสุขภาพ ดังนี้

  • ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ระบบการทำงานของปอดในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจระยะเริ่มต้นและระยะกลางดีขึ้น

ไม่เพียงแต่ประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเท่านั้น ยังมีอีกหลายเหตุผลที่คุณควรเลิกบุหรี่

การเลิกสูบบุหรี่เป็นการป้องกันอันตรายที่อาจส่งผลต่อผู้อื่น 

 การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยให้คนในครอบครัวและเพื่อนๆ มีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย ควันบุหรี่มือสอง การเลิกสูบบุหรี่เป็นเหมือนการหยุดทำร้ายคนรอบข้างจากการสูดดมควันบุหรี่มือสอง โดยเฉพาะทารกและเด็กที่อาจได้รับอันตรายจากการสูดดมควันบุหรี่มือสอง ดังนี้

  • ภาวะไหลตายในทารก
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
  • ระบบการทำงานของปอดผิดปกติ การติดเชื้อในหูส่วนกลาง เป็นโรคหอบหืดเฉียบพลัน เป็นต้น

วัยรุ่นกับการสูบบุหรี่ 

การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดโอกาสที่บุตรหลานของคุณจะสูบบุหรี่ด้วย นั่นเพราะเด็กๆ ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่สูบบุหรี่มีโอกาสสูงที่จะสูบบุหรี่เมื่อพวกเขาโตขึ้น

การสูบบุหรี่ในวัยรุ่นกำลังเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน พบว่าเด็กวัยรุ่นทั้งเพศหญิงและเพศชายสูบบุหรี่ แต่เด็กวัยรุ่นชายมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่สูงกว่าเด็กวัยรุ่นหญิง จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2534-2552 พบว่าผู้หญิงที่เป็นวัยรุ่นสูบบุหรี่มากกว่าหญิงทั่วไป คือ หญิงวัยรุ่นสูบบุหรี่ร้อยละ 3.8 ในขณะที่หญิงทั่วไปสูบบุหรี่เฉลี่ยร้อยละ 2.01 ดังนั้นจึงเป็นที่มาของธุรกิจยาสูบที่หันมามุ่งเน้นตลาดวัยรุ่นหญิง จากการสำรวจล่าสุด ของสำนังงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่เกือบ 5 แสนคน และเยาวชนอายุ 18-24 ปี ติดบุหรี่กว่า 1 ล้านห้าแสนคน

ปัจจุบันพบว่าบุหรี่มีอิทธิพลมากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จะเห็นได้จากวัยรุ่นในปัจจุบันนี้มีความเครียดในการปรับตัวมากขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นที่มีปัญหาด้านการเรียนและปัญหาทางด้านครอบครัว บางคนใช้การสูบบุหรี่เพื่อระบายความเครียด ดังนั้นวัยรุ่นส่วนใหญ่เลยหันมาสูบบุหรี่มากขึ้น

คุณแม่ตั้งครรภ์กับการสูบบุหรี่ 

การสูบบุหรี่เป็นอันตรายมากต่อทารกในครรภ์และการหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบทั้งต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์ได้

จะเกิดอะไรขึ้น หากคุณแม่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์? – หากคุณแม่สูบบุหรี่ จะส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนเลือด และออกซิเจนในเลือดจะถูกแทนที่ด้วยก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์ที่เป็นอันตราย ดังนั้นทารกในครรภ์จะได้รับออกซิเจนและสารอาหารน้อยลง ขณะที่ระดับสารเคมีในมดลูกเพิ่มขึ้น และหัวใจของทารกจะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อพยายามดึงออกซิเจนมาให้ได้เท่าที่ร่างกายต้องการ

การสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อคุณแม่อย่างไร? - เมื่อเปรียบเทียบกับคุณแม่ที่ไม่สูบบุหรี่ จะพบว่าคุณแม่ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะ...

  • มีอาการแพ้ท้องมากกว่า
  • มีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกสูงกว่า
  • มีโอกาสแท้งสูงกว่า
  • มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดสูงกว่า

การสูบบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อทารกอย่างไร? – ทารกในครรภ์ของคุณแม่ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะ...

  • มีปัญหาด้านพัฒนาการ
  • มีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า
  • มีปัญหาเรื่องการรักษาความอบอุ่นในร่างกายเมื่อแรกคลอด
  • มีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตขณะนอนหลับหรือเรียกว่าโรคไหลตายในเด็กทารก
  • มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคอื่นๆ เช่น หอบหืด

ดังนั้น ควรเลิกสูบบุหรี่ก่อนตั้งครรภ์จึงจะดีที่สุด! ถ้าคุณแม่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จก่อนการตั้งครรภ์ ไม่เพียงทารกของคุณจะเริ่มต้นชีวิตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้น แต่ตัวคุณแม่เองก็กลายเป็นคนไม่สูบบุหรี่ และงดสูบบุหรี่ได้ง่ายขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ และสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จหลังจากนั้น

ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วยเลิกบุหรี่ 

ประโยชน์ต่างๆ ที่ได้จากการเลิกสูบบุหรี่ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่คุณจะได้จากการเลิกสูบบุหรี่อย่างที่คุณคิดไม่ถึงมาก่อน คุณสามารถโทรขอคำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ เพราะการเลิกบุหรี่สามารถเปลี่ยนชีวิตคุณได้จริงๆ !

ยาสูบ ยาสูบมีส่วนประกอบของสารเคมีต่างๆ เหล่านี้

  • นิโคติน
  • คาร์บอนมอนน๊อกไซด์
  • ทาร์
  • สารเคมีที่เป็นพิษต่างๆ เช่น เบนซีน สารหนู ฟอร์มาลิน-ฟอร์มัลดีไฮด์ เป็นต้น

นิโคติน 

แม้ว่านิโคตินจะเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการเสพติด แต่ก็ยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากเท่ากับคาร์บอนมอนอกไซด์ ทาร์ และสารเคมีที่เป็นพิษอื่นๆ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนประกอบของนิโคตินผลิตออกมาเพื่อช่วยผู้ที่กำลังเลิกบุหรี่ ซึ่งนิโคตินรูปแบบเหล่านี้ปลอดภัยกว่าการรับนิโคตินจากการสูบบุหรี่มาก โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ควรมีการเติมแต่งสารเคมีที่เป็นพิษหรือสารปรุงแต่งใดๆ จึงจะถือว่าปลอดภัยจริง

นิโคตินส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร? 

เมื่อสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ที่มีนิโคตินจะมีผลต่อสมองภายในเวลา 10 วินาที ส่วนการสูบยาสูบอื่นๆ เช่น ซิการ์หรือบุหรี่ไร้ควัน สารนี้จะถูกดูดซึมผ่านทางเนื้อเยื่อผิวหนัง เยื่อเมือกภายในจมูกและปาก ซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปยังปอด และออกฤทธิ์ต่อสมองและระบบประสาทด้วยการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเอพิเนฟรีนและสารโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจหรือมีความสุข นอกจากนั้นยังส่งผลทำให้ผู้ที่ได้รับสารนิโคตินเกิดภาวะทางสุขภาพต่างๆ เช่น  ความดันโลหิตสูง อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น หายใจถี่ขึ้น หรือระดับน้ำตาลในเลือดสูง

อย่างไรก็ตาม นิโคตินสามารถส่งผลคลายความกังวล ทำให้เกิดความผ่อนคลาย หรือง่วงนอน ทั้งนี้การออกฤทธิ์ของนิโคตินขึ้นอยู่กับระดับความตื่นตัวของระบบประสาทกับปริมาณนิโคตินที่ถูกเสพเข้าไปด้วย

ตัวอย่างอาการที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ได้แก่

  • กระตุ้นให้อารมณ์ดี
  • ทำให้รู้สึกสบาย
  • ลดความรู้สึกหงุดหงิด ไม่สบายใจ
  • ลดอาการซึมเศร้า
  • ลดความอยากอาหาร
  • เพิ่มสมาธิและเพิ่มประสิทธิภาพในการจำระยะสั้น

ระดับของสารนิโคตินที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและสมอง ขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณที่สูบเข้าไปด้วย เช่น สารนิโคตินจะถูกดูดซึมผ่านการสูบและหายใจเอาควันบุหรี่เข้าไปได้เร็วกว่าผู้ที่สูบซิการ์หรือไปป์ ซึ่งมักไม่ได้สูดควันเข้าไปในร่างกายด้วย

คาร์บอนมอนน๊อกไซด์ 

ก๊าซคาร์บอนมอน๊อกไซด์ถือได้ว่าเป็นก๊าซพิษที่ได้รับฉายาจากทั่วโลกว่า “นักปลิดชีพเงียบ” ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส จึงสามารถแทรกตัวอยู่ได้ในอากาศโดยที่เราไม่รู้ตัวว่าเป็นอันตราย และเมื่อมีการสูดดมเข้าไป ก๊าซจะถูกดูดซึมเข้าสู่เม็ดเลือดแดง ในขณะที่ผ่านปอด และสามารถรวมกับสารฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนถึง 200 เท่า เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (COHb) ซึ่งจะไปลดความสามารถของเม็ดเลือดแดงในการเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนลดลง ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหัว หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน และ อาจถึงตายได้ถ้าได้รับในปริมาณมาก

นอกจากนี้คาร์บอนมอนอกไซด์ยังเป็นสาเหตุทำให้หัวใจของคุณต้องทำงานหนักมากขึ้นและทำให้ระบบการทำงานของปอดผิดปกติ ทำให้เซลล์และเนื้อเยื้อต่างๆ ไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ จึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจหรือโรคเส้นเลือดอุดตัน และเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่ คาร์บอนมอนน๊อกไซด์จึงเป็นสาเหตุทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอด้วย

ทาร์ 

ทาร์เป็นสารชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นกาวเหนียวที่ทำให้เกิดคราบเหลืองที่ฟันและนิ้วมือของผู้สูบบุหรี่ โดยทาร์มีอนุภาคที่ทำให้เกิดมะเร็งหรือมีสารก่อมะเร็ง ทาร์ทำให้ปอดเสียหายได้โดยการบีบหลอดลมส่วนปลายที่มีขนาดเล็กซึ่งปกติแล้วจะคอยดูดซับออกซิเจนให้มีขนาดเล็กลงอีก นอกจากนี้ ทาร์ยังทำลายเส้นขนของเซลล์ต่างๆ ที่ทำหน้าที่ป้องกันปอดจากสิ่งสกปรกและป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผู้สูบเป็นโรคปอด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคถุงลมโป่งพอง เป็นต้น

โดยบุหรี่ต่างประเทศจะควบคุมปริมาณทาร์ในบุหรี่อยู่ในระหว่าง 1-18 มิลลิกรัมต่อมวน บุหรี่ไทยมีปริมาณ

ทาร์ระหว่าง 24-33 มิลลิกรัม/มวน ซึ่งสูงกว่าบุหรี่นอกมาก คนที่สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง ปอดจะได้รับนํ้ามันทาร์มากถึง 300 มลลิกรัมต่อวันหรือ 110 กรัมต่อปีเลยทีเดียว

การนำยาสูบมาใช้ประโยชน์

มีการนำยาสูบมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สูบยาหลากหลายชนิด ดังนี้

  • นำมาทำบุหรี่
  • นำมาทำยาเส้นมวน
  • ยาสูบผิดกฎหมายที่ไม่ผ่านการตรวจสอบหรือเสียภาษี

การนำยาสูบมาผลิตบุหรี่ 

 บุหรี่ถือเป็นผลผลิตที่ได้มาจากการใช้ยาสูบเป็นวัตถุดิบ โดยบุหรี่ 1 มวน มีส่วนประกอบดังนี้

  • ใบยาสูบบดหรือซอยที่ผ่านกรรมวิธีกระบวนการผลิตยาสูบ
  • อาจมีการเติมก้านใบหรือก้านดอกและสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่มีประโยชน์
  • น้ำ
  • สารแต่งรส
  • สารปรุงแต่งอื่นๆ เพื่อให้เป็นที่ถูกใจของผู้สูบบุหรี่

สารปรุงแต่งถูกนำมาใช้เพื่อทำให้บุหรี่เป็นที่ถูกใจของผู้สูบบุหรี่มากขึ้น ปัจจุบันมีการใช้สารปรุงแต่งกว่า 600 ชนิดเพื่อใช้ในการผลิตบุหรี่ในหลายประเทศ เช่น

  • สารเพิ่มความชุ่มชื่นเพื่อยืดอายุของบุหรี่ให้สามารถเก็บได้นานมากขึ้น
  • น้ำตาลที่จะช่วยให้การหายใจสูบควันบุหรี่เข้าไปนั้นง่ายขึ้น
  • สารแต่งกลิ่นและรสชาติ เช่น กลิ่นช็อกโกแลต กลิ่นวานิลลา กลิ่นเมนทอล เป็นต้น

โดยสารปรุงแต่งเหล่านี้เป็นตรายต่อผู้สูบได้หากใช้ร่วมกับสารเคมีอื่นๆ หรือเมื่อถูกเผาไหม้ในขณะสูบ

ยาเส้นมวน 

ผู้ที่สูบยาเส้นมวนจะไม่มีการใช้ตัวกรองหรือฟิลเตอร์ ดังนั้นพวกเขาจึงสูดทาร์และนิโคตินเข้าไปมากกว่าการสูบบุหรี่ปกติ ทั้งยังส่งผลทำให้พวกเขาเสพติดบุหรี่มากและไม่สามารถเลิกสูบได้

การสูบยาเส้นมวนเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ธรรมดา จากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ที่สูบยาเส้นมวนมีความเสี่ยงสูงกว่าต่อการเป็นโรคต่างๆ เช่น มะเร็งบริเวณปากหรือในช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งหลอดลม และมะเร็งกล่องเสียง เมื่อเทียบกับผู้ที่สูบบุหรี่ธรรมดา

ยาสูบผิดกฎหมายที่ไม่ผ่านการตรวจสอบหรือเสียภาษี 

ยาสูบประเภทนี้มักเป็นยาสูบที่ถูกลักลอบนำเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายโดยไม่ผ่านการตรวจสอบหรือเสียภาษี ซึ่งอาจมีลักษณะของฉลากผลิตภัณฑ์เหมือนกับฉลากผลิตภัณฑ์ที่ถูกกฎหมายทั่วไป นอกจากนี้ยาสูบผิดกฎหมายเหล่านี้อาจมีลักษณะเป็นทั้งบุหรี่ ซิการ์ หรือยาเส้น และจะมีราคาถูกกว่ายาสูบปกติที่ถูกกฎหมาย

ส่วนประกอบของยาสูบผิดกฎหมายเหล่านี้ไม่สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งอาจมีปริมาณสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากกว่ายาสูบปกติ

หากคุณใช้ยาสูบผิดกฎหมายเพราะคิดว่ามันอาจช่วยทำให้คุณสามารถประหยัดเงินในกระเป๋ามากขึ้น คุณกำลังคิดผิด! เนื่องจากการเลิกสูบบุหรี่ตังหากที่จะทำให้คุณประหยัดเงินในกระเป๋าได้อย่างแท้จริง ทั้งยังทำให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย

ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วยเลิกบุหรี่

คุณสามารถโทรขอคำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของนิโคตินหรือนิโคตินทดแทนเพื่อเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถเลิกบุหรี่ได้

คุณแม่ตั้งครรภ์กับการสูบบุหรี่ 

พบว่าหญิงที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และระหว่างคลอด ดังนั้นการเลิกบุหรี่ให้ได้โดยเร็วที่สุดเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพทั้งของคุณแม่และคุณลูกเท่านั้น และไม่มีอะไรที่สายเกินไปหากคุณแม่คิดจะเลิกจริงๆ แม้อายุครรภ์จะเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายแล้วก็ตาม

ภาวะมีบุตรยากในผู้ที่สูบบุหรี่ 

การสูบบุหรี่อาจทำให้คุณแม่มีลูกยาก นั่นเพราะปริมาณฮอร์โมนที่ลดลงและภาวะเจริญพันธุ์ที่ผิดปกติหรือภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกิดขึ้นกับผู้ชายอันมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่

สำหรับผู้หญิงที่สูบบุหรี่ปริมาณมากมักเจอปัญหาความล้มเหลวของรังไข่ก่อนวัยอันควร (หมดประจำเดือน) และการเสื่อมของไข่ในรังไข่ในอายุน้อยกว่าที่ควรเป็น นอกจากนี้สารนิโคตินและสารเคมีอื่นๆ ในบุหรี่ยังรบกวนการผลิตเอสโตรเจนอีกด้วย สำหรับผู้ชาย บุหรี่จะส่งผลทำให้อัตราของเซลล์อสุจิมีรูปร่างผิดปกติและเคลื่อนไหวช้ากว่าเดิม ทั้งยังอาจเป็นสาเหตุทำให้ปริมาณของตัวอสุจิลดลงด้วย

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุทำให้ดีเอ็นเอ (สารพันธุกรรมในโครโมโซม) เกิดความผิดปกติในตัวอสุจิและไข่ ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการแท้งบุตรและอาจเป็นปัญหาต่อพัฒนาการของทารกในภายหลังด้วย

การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ 

  การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะต่างๆ เหล่านี้

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับรก เช่น ภาวะรกเกาะต่ำ
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์

นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ในขณะตั้งครรภ์ยังเพิ่มความเสี่ยงสูงต่อการแท้งบุตรด้วย

ผลกระทบจากการสูบบุหรี่ต่อทารกในครรภ์ 

เมื่อคุณแม่สูดควันบุหรี่เข้าไปจะเป็นการสูดสารเคมีเข้าไปในร่างกายมากกว่า 4,000 ตัว รวมทั้งคาร์บอนมอน  น๊อกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซพิษ โดยสารเคมีและก๊าซเหล่านี้มีผลต่อทารก ทำให้การไหลเวียนโลหิตช้าลง และส่งผลทำให้ทารกขาดสารอาหารและออกซิเจนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

ดังนั้น การสูบบุหรี่อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ดังนี้

  • ทารกมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่ช้ากว่าปกติ
  • เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด
  • ทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อคลอด ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตของทารกแรกเกิด
  • ทารกเสียชีวิตในครรภ์
  • ทารกเป็นโรคไหลตายหรือเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่อเนื่องไปจนโต
  • ทารกเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่

นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ในขณะตั้งครรภ์ยังเพิ่มความเสี่ยงสูงต่อการแท้งบุตรด้วย

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ จำเป็นต้องระมัดระวังการสัมผัสหรือสูดดมควันบุหรี่มือสอง เนื่องจากควันบุหรี่มือสองเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ ผลกระทบที่เกิดจากการสูดดมหรือสัมผัสควันบุหรี่มือสอง คือ ทารกจะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อคลอด นั่นเพราะคาร์บอนมอนน๊อกไซด์ในควันบุหรี่เป็นตัวการทำให้ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วยเลิกบุหรี่

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถโทรขอคำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์

ควันบุหรี่มือสอง 

การสูดดมควันบุหรี่จากผู้สูบบุหรี่คนอื่น เรียกว่า การสูดดมควันบุหรี่มือสอง การสูบบุหรี่จึงไม่ได้เป็นการทำลายสุขภาพของผู้สูบเองเท่านั้น แต่ยังเป็นการทำลายสุขภาพของคนรอบข้างด้วย

ควันบุหรี่มือสองส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ที่ปลายบุหรี่ ดังนั้นผู้ที่อยู่รอบข้างภายในพื้นที่เดียวกันกับผู้สูบจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่สูดดมควันบุหรี่ดังกล่าว หากคุณสูบบุหรี่ในพื้นที่หนึ่ง เช่น การสูบุหรี่ในบ้าน ควันบุหรี่ก็จะกระจายไปตามห้องต่างๆ ภายในบ้านอย่างรวดเร็วและจะยังคงมีกลิ่นของควันบุหรี่อยู่นานถึง 5 ชั่วโมง และหากคุณสูบบุหรี่ในพื้นที่จำกัด อย่างการสูบบุหรี่ในรถ ควันบุหรี่ก็จะยิ่งเพิ่มอันตรายต่อผู้ที่สูดดมควัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหลายประเทศจึงมีการกำหนดบทลงโทษผู้ที่สูบบุหรี่ในรถในขณะที่มีเด็กหรือผู้โดยสารคนอื่นอยู่ด้วย

ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสูดดมควันบุหรี่มือสอง 

จากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ที่สูดดมควันบุหรี่มือสองจะได้รับผลกระทบทางสุขภาพเช่นเดียวกับผู้ที่สูบบุหรี่เอง นั่นเพราะพวกเขามีการสูดดมก๊าซพิษและสารเคมีต่างๆ ที่เป็นพิษที่ได้จากการเผาไหม้บุหรี่เข้าไปด้วย ดังนั้นพวกเขาจึงมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการสูบบุหรี่เช่นกัน

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูดดมควันบุหรี่มือสองจะรับก๊าซพิษและสารเคมีต่างๆ ที่เป็นพิษและส่งผ่านไปยังทารก นอกจากนี้ ควันมือสองยังเป็นอันตรายต่อเด็กและผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือภาวะหายใจลำบากด้วย

ผลกระทบระยะสั้น 

  ผลกระทบระยะสั้นจากการสูดดมควันบุหรี่มือสอง ดังนี้

  • ไอ
  • ปวดศีรษะ
  • มีอาการระคายเคืองบริเวณดวงตาและภายในจมูก
  • เจ็บหรือแสบคอ

ผลกระทบระยะยาว 

 ผลกระทบระยะยาวจากการสูดดมควันบุหรี่มือสอง ดังนี้

  • อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 25-30%
  • อัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งอื่นๆ เพิ่มขึ้น 20-30%
  • มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่นๆ

การหายใจรับควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกายส่งผลทำให้เลือดเหนียวข้นมากขึ้น เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดมากขึ้นในกระแสเลือดแม้จะเป็นการสูดดมควันบุหรี่เพียงเวลาสั้นๆ ก็ตาม ซึ่งลิ่มเลือดเหล่านี้จะไปปิดกั้นหลอดเลือดแดงทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้

  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • หลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือหลอดเลือดสมองแตก
  • เจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด
  • ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย

ควันบุหรี่มือสองเป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ ส่งผลทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด โดยผลกระทบที่มักพบส่วนใหญ่ คือ ทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อคลอด

ทารกหรือเด็กอยู่ใกล้ควันบุหรี่ อันตราย! 

เนื่องจากเด็กหายใจเร็วและถี่กว่าผู้ใหญ่ นั่นหมายความว่าพวกเขาจะได้รับสารเคมีอันตรายจากควันบุหรี่มือสองมากกว่า นอกจากนี้เด็กยังมีปฏิกิริยาไวต่อควันสูบบุหรี่มากกว่าผู้ใหญ่ด้วยเพราะร่างกายของพวกเขายังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์และยังคงพัฒนาอยู่

จากการศึกษาวิจัยพบว่า ทารกและเด็กที่สูดดมควันบุหรี่มือสองเข้าไปมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อภาวะทางสุขภาพเหล่านี้

  • มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
  • ปอดทำงานผิดปกติ
  • หายใจเสียงดังหวีดและเป็นโรคหอบหืด
  • เสียชีวิตอย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุหรือไหลตาย
  • มีปัญหากับหู โพรงจมูก และภายในลำคอ โดยการติดเชื้อมักเกิดขึ้นบริเวณหูชั้นกลาง

นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย โรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม และโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ

ควันบุหรี่มือสอง ไม่เพียงแต่จะส่งผลร้ายต่อสุขภาพของลูกน้อยเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อนิสัยของเด็กอีกด้วย จากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยมอนทรีออล พบว่าการสูดดมควันบุหรี่ส่งผลกระทบด้านนิสัยใจคอของ

เด็ก โดยเด็กที่มีการสูดดมควันบุหรี่จากคุณพ่อคุณแม่หรือคนใกล้ชิดจะมีลักษณะอาการต่อต้านสังคม ไม่ใส่ใจและบางครั้งอาจจะมีการใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น ทั้งยังอาจมีนิสัยที่ไม่ดีอื่นๆ ตามมาด้วยเช่น

  • ก้าวร้าว
  • ชอบใช้ความรุนแรง
  • ขโมยของ
  • ไม่ปฎิบัติตามกฎ
  • ทำลายข้าวของ
  • มีปัญหาด้านการเรียน

นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่มักสูดดมควันบุหรี่จากคนรอบตัว มีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะมีปัญหาในเรื่องของการถูกพักการเรียน อีกทั้งเมื่อสมองของลูกน้อยที่กำลังเจริญเติบโตได้รับสารพิษจากควันบุหรี่ ก็จะส่งผลเสียทางด้านพัฒนาการต่างๆ และอาจจะทำให้สมองของลูกน้อยผิดปกติด้วย

เตรียมพร้อมสำหรับการเลิกสูบบุหรี่ 

การเตรียมพร้อมและความพร้อมของสภาพจิตใจถือเป็นหัวใจสำคัญของการเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างสำเร็จ โดยแผนการเลิกสูบบุหรี่จำเป็นต้องเหมาะกับการดำเนินชีวิตของคุณที่สุด ดังนี้

  • คิดไตร่ตรองว่าเหตุใดคุณจึงสูบบุหรี่
  • หาวิธีการจัดการกับสถานการณ์ที่ทำให้คุณมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่
  • คิดไตร่ตรองว่าเหตุใดคุณจึงอยากเลิกบุหรี่
  • กำหนดวันเลิกสูบบุหรี่อย่างชัดเจน
  • การบำบัดรักษาหรือการใช้ผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกบุหรี่
  • การสนับสนุนและช่วยเหลือโดยคนในครอบครัวและเพื่อน

ทำความเข้าใจและตรึกตรองว่าเหตุใดคุณจึงสูบบุหรี่ 

บางคนเริ่มสูบบุหรี่ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งอาจมีเหตุผลมาจากการกระตุ้นจากกลุ่มเพื่อนหรืออาจเพราะต้องการแสดงให้สังคมเห็นว่าพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว สำหรับบางรายเริ่มสูบบุหรี่ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัย ช่วงเริ่มทำงาน หรืออาจอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คนรอบกายต่างสูบบุหรี่ และหลายคนเริ่มสูบบุหรี่โดยไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจน

ดังนั้น การทราบสาเหตุของการเริ่มสูบบุหรี่หรือยังคงสูบบุหรี่อยู่จึงเป็นเรื่องสำคัญ นั่นเพราะสิ่งที่ชักนำให้คุณเริ่มสูบบุหรี่อาจไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณในตอนนี้อีกต่อไป ซึ่งจะทำให้การเตรียมพร้อมกับการเลิกสูบบุหรี่นั้นง่ายขึ้น

วางแผนการเลิกสูบบุหรี่  

พบว่ามีแนวโน้มที่การเลิกสูบบุหรี่จะประสบความสำเร็จได้หากมีการวางแผนล่วงหน้า นั่นหมายรวมถึงการเตรียมพร้อมและการเดินหน้าปฏิบัติตามวันที่จะเลิกสูบบุหรี่ดังที่กำหนดไว้

หลายท่านที่ประสบความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่พบว่าการออกจากสภาพแวดล้อมหรือชีวิตประจำวันอันคุ้นเคยโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดจะช่วยให้การเลิกสูบบุหรี่เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น นอกจากนี้การกำหนดวันที่จะเลิกสูบบุหรี่อย่างชัดเจนจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด หากคุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้เพียง 1 เดือน ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่คุณสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้ คราวนี้ก็ลองปล่อยให้คุณได้เริ่มคุ้นเคยกับพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ที่ไร้บุหรี่ไปทีละน้อย พยายามทำแต่ละวันให้ดีที่สุดโดยที่ยังไม่ต้องคิดถึงเป้าหมายที่ไกลเกินเอื้อม ทั้งนี้ควรบอกให้คนในครอบรัวและเพื่อนๆ ทราบถึงวันเลิกบุหรี่ที่คุณกำหนดขึ้นและบอกถึงแผนการเลิกสูบบุหรี่ของคุณให้พวกเขาทราบเพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือและสนับสนุนคุณได้

แนะนำให้คุณลองจินตนาการถึงสถานการณ์อันคุ้นเคยที่ทำให้คุณอยากสูบบุหรี่หรือหากมีใครสักคนชวนคุณสูบบุหรี่ คุณควรพยายามปฏิเสธอย่างสุภาพและเลี่ยงเดินออกจากสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมเหล่านั้น

การใช้ยาเพื่อบำบัดการเสพติดบุหรี่ 

นิโคตินเป็นสารทำให้เกิดการเสพติด และการตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเองอาจไม่เพียงพอ ดังนั้งควรเพิ่มโอกาสให้ความตั้งใจของคุณประสบความสำเร็จได้ด้วยการใช้ยาเพื่อบำบัดการเสพติดบุหรี่

การใช้ยาเพื่อบำบัดการเสพติดบุหรี่จะได้ผลมากยิ่งขึ้นหากใช้ร่วมกับการได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือนักบำบัด เช่น การเข้าร่วมกลุ่มบำบัด หรือการรับการบำบัดแบบ 1 ต่อ 1 เป็นต้น นอกจากนี้การเลิกสูบบุหรี่จะยิ่งประสบความสำเร็จมากขึ้นหากมีการใช้วิธีการักษาที่ใช้นิโคตินทดแทนร่วมด้วย

หากคุณมีการใช้ยารักษาโรคใดๆ อยู่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาเพื่อบำบัดการเสพติดบุหรี่หรือการใช้นิโคตินทดแทน

พิจารณาว่าคุณจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการเลิกสูบบุหรี่  

ความปรารถนาที่จะได้รับประโยชน์จากการเลิกสูบบุหรี่ถือเป็นแรงจูงใจที่ดี คุณจำเป็นต้องแน่ใจว่าคุณได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเหมาะสม โดยเริ่มจากการพิจารณาถึงเหตุผลที่คุณสูบบุหรี่ไปจนถึงช่วงเวลาที่คุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้แล้วจริงๆ

พบว่ามีหลากหลายเหตุผลที่ทำให้คุณปรารถนาที่จะเลิกสูบบุหรี่ให้ได้ ดังนี้

  • วางแผนที่จะตั้งครรภ์
  • ต้องการรักษารูปร่างหรือเพิ่มกล้ามเนื้อ
  • มีอาการป่วยเป็นโรคที่ทำให้ต้องรักษาตัว

ลองพิจารณาเหตุผลทั้ง 3 ข้อข้างต้นว่ามีข้อใดที่เป็นเหตุผลของคุณเองบ้าง เมื่อได้เหตุผลของคุณเองแล้ว เขียนมันลงบนกระดาษแผ่นใหญ่แล้วติดบนผนังหรือในที่ที่คุณจะสามารถเห็นได้ชัดเจนทุกวัน เช่น หน้าตู้เย็น หน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือเขียนใส่ไว้ในกระเป๋าสตางค์ เป็นต้น วิธีการเหล่านี้ถือเป็นแรงจูงใจที่ดีที่จะคอยช่วยเตือนสติคุณในทุกๆ วัน และแนะนำให้นึกถึงประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการเลิกสูบบุหรี่ด้วยว่ามีอะไรบ้าง เช่น มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น สุขภาพที่ดีขึ้น ร่างกายที่ฟิตเฟิร์มมากกว่าเดิม เป็นต้น

คุณสามารถจดบันทึกรายละเอียดของผลการเลิกสูบบุหรี่ของคุณเองไว้เพื่อติดตามความก้าวหน้า โดยบันทึกดังกล่าวคุณอาจจดบันทึกเรื่องระยะเวลาที่คุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ จำนวนเงินที่คุณสามารถประหยัดได้จากการหยุดสูบบุหรี่ หรือสุขภาพร่างกายที่คุณสังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เป็นต้น บันทึกเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นและเป็นแรงบันดาลใจให้คุณอยากเลิกสูบบุหรี่ต่อไป

ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่

คุณสามารถโทรขอคำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับสถานที่รับการบำบัดรักษาและช่วยหาแนวทางการวางแผนเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ที่เหมาะสมสำหรับคุณ

การใช้ยาเพื่อบำบัดการเสพติดบุหรี่ 

การตั้งใจเลิกสูบบุหรี่ด้วยตัวเองอาจไม่เพียงพอ ทั้งยังอาจทำให้คุณล้มเลิกความตั้งใจและกลับมาสูบบุหรี่อีกครั้ง ดังนั้นคุณสามารถเพิ่มโอกาสให้ความตั้งใจของคุณประสบความสำเร็จได้ด้วยการใช้ยาเพื่อบำบัดการเสพติดบุหรี่ ดังนี้

  • การใช้ยาวาเรนิคลิน (Varenicline) หรือชื่อทางการค้าคือ Champix
  • การรักษาด้วยการใช้นิโคตินทดแทน ซึ่งมีทั้งหมด 8 ชนิด
  • การใช้ยาบูโพรพิออน (Bupropion) หรือชื่อทางการค้าคือ Zyban

การใช้ยาวาเรนิคลิน (Varenicline) 

ยาวาเรนิคลิน หรือ Champix เป็นยาที่สามารถทานได้ตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น เป็นตัวยาที่ไม่มีส่วนประกอบของนิโคติน ซึ่งถูกผลิตขึ้นเป็นพิเศษเพื่อช่วยเรื่องการเลิกสูบบุหรี่โดยเฉพาะ แนะนำให้ใช้ยาร่วมกับการบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญหรือนักบำบัดจึงจะได้ผลที่สุด ตัวยาจะทำงานโดยการลดอาการอยากสูบบุหรี่และคอยควบคุมสารเคมีในร่างกายที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่รู้สึกดีในขณะสูบ แพทย์จะแนะนำให้คุณทานยาวาเรนิคลิน 1 – 2 สัปดาห์ก่อนวันเลิกสูบบุหรี่จริง

นอกจากนี้ ยาวาเรนิคลินยังช่วยบรรเทาอาการลงแดงจากการเลิกบุหรี่ได้ด้วย อย่างไรก็ตามแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาตัวนี้ร่วมกับการใช้นิโคตินทดแทนหรือยาบูโพรพิออน (Bupropion) ทั้งยังไม่สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หญิงตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร ไม่เพียงเท่านี้การใช้ยาวาเรนิคลินยังส่งผลต่อสมรรถนะการขับขี่ยวดยานพาหนะหรือการใช้เครื่องจักรใดๆ ด้วย ดังนั้นเมื่อใช้ยาคุณต้องไม่ขับขี่ยานพาหนะ ไม่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ หรือทำกิจกรรมที่มีการใช้สารพิษอันตรายใดๆ

การใช้ยาร่วมกับการบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญหรือนักบำบัดและการสนับสนุนจากคนในครอบครัวและเพื่อนจะทำให้การเลิกสูบบุหรี่ของคุณสำเร็จได้ง่ายขึ้น

การรักษาโดยการใช้นิโคตินทดแทนหรือ NRT

ารรักษาโดยการใช้นิโคตินทดแทนหรือ NRT เป็นวิธีการรักษาที่ทำให้ร่างกายยังคงได้รับนิโคตินอยู่โดยไม่สูบบุหรี่นำสารพิษหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายอื่นๆ เข้าสู่ร่างกาย นิโคตินทดแทนถูกผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

  • แผ่นแปะนิโคติน
  • หมากฝรั่งนิโคติน
  • หลอดสูบนิโคติน
  • เม็ดยา Microtabs
  • เม็ดอม Lozenges
  • สเปรย์นิโคตินฉีดพ่นทางจมูก
  • สเปรย์นิโคตินฉีดพ่นทางปาก
  • แผ่นฟิล์มนิโคตินแตกตัวในช่องปาก

การรักษาโดยการใช้นิโคตินทดแทนเป็นวิธีการเลิกสูบบุหรี่โดยการลดปริมาณการเสพติดนิโคตินลงเรื่อยๆ จากการใช้นิโคตินทดแทนที่สะอาดและเป็นนิโคตินชนิดที่นำมาใช้เพื่อการบำบัดซึ่งปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างคาร์บอนมอนน๊อกไซด์หรือทาร์ นอกจากนี้การใช้นิโคตินทดแทนยังช่วยลดอาการเสพติดบุหรี่และลดอาการลงแดงจากการเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วย

โดยปกติแล้วแพทย์แนะนำให้ใช้นิโคตินทดแทนประมาณ 8 – 12 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ควรอ่านรายละเอียดคำแนะนำการใช้บนฉลากผลิตภัณฑ์อีกครั้ง พบว่าการใช้นิโคตินทดแทนในระยะยาวจะทำให้ผู้ใช้เกิดอาการลงแดงจากการเลิกสูบบุหรี่เล็กน้อยเมื่อเลิกใช้นิโคตินทดแทน อย่างไรก็ตามการใช้นิโคตินทดแทนในระยะยาวก็ยังปลอดภัยและดีกว่าการกลับมาสูบบุหรี่มาก นิโคตินทดแทนสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างไรก็ตามคุณสามารถขอรับนิโคตินทดแทนได้จากหน่วยงานบำบัดรักษาหรือหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข

วิธีการใช้นิโคตินที่ดีที่สุดคือ การเริ่มใช้ตั้งแต่วันแรกที่คุณเลิกสูบบุหรี่ หากคุณยังไม่สามารถหาซื้อนิโคตินได้ แนะนำให้คุณยังคงต้องเลิกสูบบุหรี่ตามวันที่คุณกำหนดไว้แล้วจึงเริ่มใช้นิโคตินทดแทนในภายหลังเพื่อให้แผนการเลิกสูบบุหรี่ของคุณประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การรักษาโดยการใช้นิโคตินทดแทนกับคุณแม่ตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่ที่สูบบุหรี่และทราบว่าตนตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องเลิกสูบบุหรี่ทันทีและไม่แนะนำให้ใช้นิโคตินทดแทนใดๆ ในการบำบัด แต่หากคุณแม่ไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้จริงๆ คุณแม่จำเป็นต้องพบแพทย์หรือนักบำบัดเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้นิโคตินทดแทน โดยแพทย์จะให้ข้อมูลรายละเอียดและชั่งน้ำหนักเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของการสูบบุหรี่ต่อไปกับการเลิกสูบบุหรี่โดยใช้นิโคตินทดแทน อย่างไรก็ตาม การใช้นิโคตินทดแทนในการบำบัดนั้นมีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์น้อยกว่าการที่คุณแม่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป ดังนั้นการใช้นิโคตินทดแทนทุกชนิดควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ นักบำบัด หรือเภสัชกรเท่านั้น   

การใช้ยาบูโพรพิออน (Bupropion) 

ยาบูโพรพิออน (Bupropion) หรือ Zyban เป็นยาที่สามารถทานได้ตามใบสั่งแพทย์เท่านั้นและเป็นตัวยาที่ไม่มีส่วนประกอบของนิโคติน เพื่อให้การเลิกบุหรี่ได้ผล แนะนำให้ใช้ยาควบคู่ไปกับการบำบัดรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญหรือนักบำบัด แพทย์จะแนะนำให้มีการใช้ยาก่อนวันที่คุณจะเลิกสูบบุหรี่จริงซึ่งตัวยาจะทำงานโดยการลดอาการอยากสูบบุหรี่และควบควบคุมสารเคมีในร่างกายที่ทำให้ผู้สูบบุหรี่รู้สึกดีในขณะสูบ นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการลงแดงจากการเลิกสูบบุหรี่ เช่น อาการวิตกกังวล และอาการหงุดหงิด โมโหง่าย ยาบูโพรพิออนหรือ Zyban ไม่สามารถใช้ร่วมกับยาวาเรนิคลินหรือ Champix และนิโคตินทดแทนอื่นๆ ได้ ทั้งนี้ไม่สามารถใช้ได้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หญิงตั้งครรภ์ หรือคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตร

ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วยเลิกบุหรี่

คุณสามารถโทรขอคำปรึกษาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่จากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการบำบัดรักษาการเสพติดบุหรี่และการเลือกวิธีการรักษที่เหมาะสมสำหรับคุณมากที่สุด

บุหรี่ไฟฟ้า หรือ E-cigarettes 

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ทำมาจากพลาสติกใช้แบตเตอรี่เป็นพลังงานถูกออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายกับบุหรี่ธรรมดาและทำให้ผู้สูบรู้สึกเหมือนสูบบุหรี่ปกติ โดยในตัวบุหรี่จะมีแท้งก์เติมน้ำยาที่มีส่วนประกอบของนิโคติน กลิ่นสังเคราะห์ และสารเคมีประกอบอื่นๆ ซึ่งความร้อนจะทำให้น้ำยาเปลี่ยนเป็นไอที่ผู้สูบสามารถสูดเข้าปอดได้เช่นเดียวกับบุหรี่ธรรมดา จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมบุหรี่ไฟฟ้าจึงถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งคือ “Vaping”

บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างใหม่และมีการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว โดยยังไม่มีการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจนที่ระบุผลข้างเคียงและความปลอดภัยจากการใช้ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรูปร่างของบุหรี่ไฟฟ้ามีลักษณะคล้ายกับบุหรี่ปกติ ดังนั้นบุหรี่ชนิดนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ติดการคีบบุหรี่ไว้ในมือ

ความปลอดภัยจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า 

 ตามข้อกฎหมายของประเทศไทย บุหรี่ไฟฟ้าเมื่อมีไว้ในครอบครองถือว่าผิดกฎหมาย ดังนี้

  • บุหรี่ไฟฟ้า ถือเป็นสินค้าที่ไม่เสียภาษีของประเทศไทย
  • บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้าสู่ราชอาณาจักร กล่าวคือ ห้ามนำเข้า ห้ามขาย ห้ามให้บริการ
  • ไม่มีกฎหมายห้ามครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า แต่สาเหตุที่ห้ามครอบครองนั้นเป็นเพราะว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าไม่เสียภาษี ฉะนั้น การครอบครองสินค้าที่ไม่เสียภาษี มีความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469
  • อ้างอิงจากพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2559 ตามลำดับ
  • มาตรา 27 ทวิ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจําหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจํานํา หรือรับไว้โดยประการใดอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจํากัด หรือของต้องห้าม หรือที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องก็ดี หรือเป็นของที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อจํากัด หรือข้อห้ามอันเกี่ยวแก่ของนั้นก็ดี มีความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจําทั้งปรับ
  • ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง สินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 ข้อ 3 ให้สินค้าตามบัญชีท้ายประกาศนี้เป็นสินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า

หากคุณใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนการสูบบุหรี่ อย่างน้อยสิ่งที่คุณได้รับคือสุขภาพที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาวจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากการศึกษาวิจัยที่สำเร็จแล้วส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการใช้ยารักษาหรือบำบัดการเสพติดการสูบบุหรี่มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพของยา เป็นต้น

บุหรี่ไฟฟ้า – ทางเลือกเพื่อการเลิกบุหรี่? 

 บุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ตัวเลือกเดียวสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ เพราะคุณสามารถบำบัดด้วยการใช้ยารักษา เช่น การใช้ยา Champix, Zyban หรือนิโคตินทดแทน แต่หากคุณติดนิสัยคีบบุหรี่ไว้ในมือนานๆ เมื่อสูบบุหรี่ แนะนำให้คุณอาจลองใช้หลอดสูบนิโคตินที่มีลักษณะคล้ายมวนบุหรี่แทน

เริ่มต้นเลิกบุหรี่จากการลดปริมาณการสูบ 

ไม่ว่าจะสูบบุหรี่มากหรือน้อย ต่างก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งนั้น และประโยชน์ที่ได้จากการลดปริมาณการสูบบุหรี่จึงมีน้อยมากเมื่อเทียบกับการเลิกสูบบุหรี่ให้ได้โดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นเลิกบุหรี่ด้วยการลดปริมาณการสูบให้น้อยลงเรื่อยๆ จึงเป็นทางเลือกของการเลิกสูบบุหรี่ที่ดีทางหนึ่ง ซึ่งคุณยังจำเป็นต้องมีการวางแผนการเลิกสูบบุหรี่อย่างดี มีการกำหนดวันเลิกที่แน่นอน และพยายามทำตามเป้าหมายที่วางไว้ให้สำเร็จ

ในขณะที่การเลิกสูบบุหรี่แบบหักดิบไม่ได้เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน คุณสามารถกำหนดช่วงเวลาการเลิกสูบบุหรี่ให้อยู่ในช่วง 6 สัปดาห์ หรือน้อยกว่านั้น โดยช่วงเวลานั้นคุณอาจเริ่มด้วยการค่อยๆ ลดปริมาณการสูบให้น้อยลงเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวันที่คุณต้องเลิกสูบบุหรี่จริง

การลดปริมาณการสูบบุหรี่ก่อนวันเลิกสูบจริง 

 การค่อยๆ ลดปริมาณการสูบบุหรี่ก่อนวันเลิกสูบจริงถือเป็นวิธีการเลิกบุหรี่ที่ดีวิธีหนึ่ง โดยมีคำแนะนำดังนี้

  • กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน – ลองวางแผนว่าคุณจะลดจำนวนการสูบบุหรี่ให้น้อยลงในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์เท่าใด
  • พยายามลดปริมาณการสูบบุหรี่ให้น้อยลงเรื่อยๆ จนถึงวันเลิกจริงตามที่คุณกำหนดไว้
  • ใช้วิธีการรักษาโดยการใช้นิโคตินทดแทนร่วมด้วย ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้คุณสามารถลดปริมาณการสูบลงอย่างได้ผล
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้คุณคุ้นเคยกับการสูบบุหรี่ เช่น ออกไปเดินเล่นเมื่อทานข้าวเสร็จแทนที่จะนั่งสูบบุหรี่อย่างเคย

เมื่อคุณสามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ให้น้อยลงได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ คุณต้องเลิกมันให้ได้จริงๆ ! แนะนำให้ระมัดระวังในประเด็นต่อไปนี้ในช่วงที่คุณกำลังลดปริมาณการสูบบุหรี่ลง ดังนี้

  • คุณต้องไม่พยายามสูบควันบุหรี่เข้าไปให้มากหรือสูบถี่ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณนิโคตินเท่าเดิม
  • พยายามบีบช่วงเวลาการลดปริมาณการสูบบุหรี่ไปจนถึงวันเลิกจริงให้สั้นลง เนื่องจากการทิ้งระยะเวลาการลดปริมาณการสูบให้ยาวนานเกินไปจะทำให้คุณเลิกสูบบุหรี่ได้ยากขึ้น

บางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าการลดปริมาณการสูบบุหรี่ลงอาจมีอุปสรรค ต้องใช้ความมุ่งมั่นสูง และต้องมีวินัยมาก เพื่อให้สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ ในขณะที่อาการอยากสูบบุหรี่ยังคงมีอยู่โดยอาจลืมมองเห็นประโยชน์มหาศาลที่คุณจะได้รับจากการเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ

หากคุณรู้สึกว่ายังไม่พร้อมที่จะเลิกทันที แนะนำให้ลองใช้วิธีอื่นๆ อย่างการใช้นิโคตินแทนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับสารเคมีอันตรายต่างๆ

ความเชื่อผิดๆ เกี่วกับการเลิกสูบบุหรี่  

พบว่ามีคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับวิธีการเลิกสูบบุหรี่ที่อาจไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมดหรือเป็นความเชื่อผิดๆ เพราะความเชื่อเหล่านี้อาจทำให้คุณเลิกล้มความตั้งใจได้ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม

“แม้จะเลิกสูบบุหรี่แล้วสุขภาพร่างกายก็ยังแย่อยู่ดี”   คุณอาจคิดว่า แม้จะเลิกสูบบุหรี่ไปแล้วแต่คุณก็ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือโรคร้ายต่างๆ อยู่ดี ดังนั้นการเลิกสูบบุหรี่จึงไม่ได้ช่วยอะไร

มันคือความเชื่อที่ผิด! ไม่มีอะไรที่สายจนเกินไป – ทันทีที่คุณเลิกสูบบุหรี่สำเร็จ ร่างกายจะเริ่มซ่อมแซมตัวเองจนคุณสามารถสังเกตได้ภายในไม่กี่วันหลังจากเลิกสูบบุหรี่ เช่น กลิ่นของลมหายใจที่ดีขึ้น หรือสามารถรับรสชาติอาหารได้ดีขึ้น และภายในหนึ่งปี จะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรค

เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ยังเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นให้กับคนในครอบครัวด้วย ทำให้พวกเขามีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้นได้ เป็นการป้องกันไม่ให้บุหรี่มือสองทำร้ายพวกเขา

“การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้อ้วนขึ้น” เป็นเรื่องปกติที่คุณอาจมีความกังวลใจเกี่ยวกับน้ำหนักตัวที่อาจเพิ่มมากขึ้นหลังจากเลิกสูบบุหรี่ นั่นเพราะเมื่อสูบบุหรี่ นิโคตินจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณไม่อยากอาหารและทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรี่เร็วกว่าปกติ

แต่หากคุณเลิกสูบบุหรี่และแทนที่พฤติกรรมการสูบบุหรี่ด้วยการทานของว่างที่ไม่มีประโยชน์ก็จะทำให้คุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อเลิกบุหรี่ คุณก็ควรใส่ใจเกี่ยวกับอาหารที่ทานเข้าไปด้วยก็จะไม่ทำให้คุณอ้วนขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามใช่ว่าผู้ที่เลิกบุหรี่สำเร็จจะอ้วนไปซะทุกคน นั่นเพราะความอ้วนขึ้นอยู่กับการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ตังหาก

“นิโคตินเป็นอันตรายมากต่อสุขภาพ” ความจริง คือ นิโคตินเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการเสพติด แต่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทว่าส่วนประกอบและสารเคมีอื่นๆ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ และทาร์ ตังหากที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นี่จึงเป็นเหตุผลที่มีการใช้นิโคตินทดแทนในการบำบัดรักษาและนำมาใช้เป็นตัวช่วยเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ ซึ่งการใช้นิโคตินเหล่านี้มีข้อบ่งใช้เกี่ยวกับระดับและปริมาณการใช้ที่ปลอดภัย ทั้งยังเป็นนิโคตินสะอาดด้วย

เพื่อให้การเลิกสูบบุหรี่สำเร็จได้ คุณอาจต้องฝ่าฟันกับอุปสรรค์เหล่านี้

  • การเสพติดสารเคมีในนิโคติน
  • ความคุ้นเคยกับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่บุหรี่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน

“การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้ตกอยู่ในภาวะเครียด” จริงๆ แล้วผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ตังหากที่มีระดับความเครียดต่ำกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ แต่การสูบบุหรี่อาจทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย นั่นเพราะ...

  • คุณได้รับนิโคตินจนถึงระดับที่ทำให้คุณรู้สึกสบายและผ่อนคลาย
  • สารเคมีในบุหรี่กระตุ้นให้ร่างกายมีการหลั่งสารที่ทำให้รู้สึกดีและมีความสุข อย่างสารโดพามีน

นิโคตินถือเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรงที่สามารถควบคุมการหลั่งสารโดพามีนในสมองได้ เมื่อคุณสูบบุหรี่ คุณจะรู้สึกต้องการสูบบุหรี่อยู่เรื่อยๆ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข แม้สมองจะสั่งการให้รู้สึกดีเมื่อได้สูบบุหรี่แต่ร่างกายของคุณกลับตึงเครียดมากขึ้น และประมาณ 3 เดือนหลังจากที่คุณสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ สมองก็จะกลับมาทำงานเพื่อควบคุมระดับโดพามีนได้ตามปกติ

“ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมสำหรับการเลิกสูบบุหรี่” ก็จริงที่ว่าคุณไม่ควรเลือกช่วงเวลาที่คุณกำลังตึงเครียดในการเลิกสูบบุหรี่ แต่ไม่ควรใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างที่จะไม่พยายามเลิกสูบบุหรี่ให้ได้!

แนะนำให้กำหนดวันที่คุณคิดว่าเหมาะและพร้อมสำหรับคุณมากที่สุด เช่น ช่วงเริ่มต้นวันหยุดพักร้อนหรือช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ ลองพิจารณาว่าพฤติกรรมใดเป็นสาเหตุทำให้คุณต้องการสูบบุหรี่ อย่างการพักจิบกาแฟหรือไปปาร์ตี้กับเพื่อนๆ แล้วจึงเลือกวันที่จะไม่ทำให้คุณต้องมีพฤติกรรมหรืออยู่ในสถานการณ์ที่คอยกระตุ้นให้คุณอยากสูบบุหรี่

บอกกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนทราบเกี่ยวกับแผนการและวันเลิกบุหรี่ของคุณ ร่วมทั้งบอกให้เพื่อนร่วมงานทราบด้วยเพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่ชักชวนคุณสูบบุหรี่

“ยาเส้นมวนปลอดภัยกว่าบุหรี่?” คุณอาจคิดว่าการสูบยาเส้นมวนปลอดภัยกว่าบุหรี่ แม้มันจะมีราคาถูกกว่าบุหรี่มาก แต่ยาเส้นมวนกลับมีสารเคมีที่เป็นพิษมากกว่า 4,000 ชนิด โดยสารเคมีส่วนใหญ่เป็นพิษต่อร่างกายและมีสารก่อมะเร็ง

นอกจากนี้ยังมีนิโคตินและทาร์สูงกว่าบุหรี่ทั่วไปด้วย นั่นเพราะผู้ที่สูบยาเส้นมวนไม่มีการใช้ตัวกรองหรือฟิลเตอร์ จึงเป็นสาเหตุทำให้มีการสูบนิโคตินและทาร์เข้าไปมากกว่าปกตินั่นเอง

“การสูบบุหรี่ของผมไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้อื่น” ความจริง คือ ควันมือสองเป็นอันตรายมาก! มีการกำหนดกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะในหลายประเทศ โดยผลกระทบระยะยาวจากการสูดดมควันบุหรี่มือสอง ดังนี้

  • อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 25-30%
  • อัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งอื่นๆ เพิ่มขึ้น 20-30%
  • มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคทางระบบทางเดินหายใจอื่นๆ

นอกจากนี้ ควันมือสองยังอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคไหลตายในทารก การติดเชื้อของหูชั้นกลาง และโรคหอบหืดกำเริบในเด็ก พบว่าผลกระทบที่เกิดจากการสูดดมควันบุหรี่มือสองต่อทารกและเด็กมีความรุนแรง นั่นเพราะเด็กหายใจเร็วและถี่กว่าผู้ใหญ่มาก

อาการเสพติดบุหรี่ 

ตั้งแต่วันแรกที่คุณเลิกสูบบุหรี่ ร่างกายจะเริ่มกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง ในช่วงแรกหรือเดือนแรกคุณจะมีอาการลงแดงหรืออาการขาดนิโคตินและอาการที่เป็นผลข้างเคียงมาจากการที่ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง ดังนี้

  • รู้สึกพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • หงุดหงิด ฉุนเฉียว
  • รู้สึกกระวนกระวาย ว้าวุ่นใจ
  • รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย

อาการลงแดงจะค่อยๆ ดีขึ้นหลังจากหยุดสูบบุหรี่ได้ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ นั่นเพราะร่างกายกำลังปรับตัว คุณอาจมีอาการไอแห้งๆ บ้าง แต่นี่ถือเป็นสัญญาณที่ดี เนื่องจากปอดกำลังขจัดของเสียออกไปนั่นเอง ซึ่งอาการลงแดงที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณบอกว่าร่างกายของคุณกำลังซ่อมแซมตัวเองจากการรับสารพิษจากบุหรี่มาเป็นระยะเวลานาน

การจัดการกับอาการลงแดง  

เมื่อเลิกสูบบุหรี่ คุณอาจเจอปัญหาจากอาการลงแดง โดยอาการลงแดงที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่ร่างกายขาดนิโคตินและไม่ได้รับนิโคตินในปริมาณที่ร่างกายต้องได้รับดังที่ผ่านมา ดังนั้น แนะนำให้ลองใช้แผ่นแปะนิโคตินเพื่อควบคุมความต้องการของร่างกายที่มีต่อนิโคติน นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์นิโคตินอื่นๆ ด้วยที่คุณสามารถนำมาใช้ควบคู่ไปกับการบำบัดรักษา

กลยุทธ์การจัดการกับอาการลงแดง เมื่อคุณเริ่มมีอาการอยากสูบบุหรี่ แนะนำให้ลองวิธีการเหล่านี้

  • ถ่วงเวลาไว้ (Delay) – เมื่ออยากสูบบุหรี่ อย่าเพิ่งเปิดซองบุหรี่หรือ จุดบุหรี่ เมื่อผ่านไป 5 นาทีผ่านไป ความอยากจะลดลง แล้วความตั้งใจของคุณที่จะเลิกก็จะกลับมา
  • หายใจลึกๆ ช้าๆ  (Deep breathe) – หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ 3 - 4 ครั้ง
  • ดื่มน้ำสักแก้ว  (Drink water) – ค่อยๆ จิบน้ำและอมไว้สักครู่ให้รู้รสน้ำแล้วจึงกลืนลงคอ
  • เปลี่ยนอิริยาบถ (Do something else) – อย่าคิดเรื่องการสูบบุหรี่ เปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นเสีย เช่น ฟังเพลง ไปเดินเล่น หรือ ไปหาเพื่อนฝูง (ที่ไม่สูบบุหรี่)

เลิกคิดถึงเรื่องการสูบบุหรี่

  • เคี้ยวหมากฝรั่งนิโคตินหรือใช้หลอดสูบนิโคติน
  • หยุดพักและผ่อนคลาย หากเริ่มมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว ลองดื่มน้ำเย็นหรือน้ำส้มสักแก้ว
  • ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายหรือลุกเดินเล่นเมื่อเริ่มมีอาการอยากสูบบุหรี่
  • หางานอดิเรกทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ
  • คอยตระหนักถึงสิ่งดีๆ ที่จะได้รับจากการเลิกสูบบุหรี่สำเร็จ อย่างเงินที่คุณสามารถประหยัดได้มากขึ้น

การกลับสู่พฤติกรรมการสูบบุหรี่และความพยายามในการเลิกสูบบุหรี่อีกครั้ง 

หลังจากที่คุณเลิกบุหรี่สำเร็จแล้ว เป้าหมายต่อไปคือคุณต้องพยายามเลิกสูบบุหรี่ให้ได้ตลอดไป ไม่ว่าจะนานเพียงใดตั้งแต่การสูบบุหรี่ครั้งสุดท้าย คุณอาจมีอาการอยากสูบบุหรี่อยู่บ้าง อย่าลืมว่าการเลิกสูบบุหรี่ได้เปลี่ยนชีวิตของคุณไปในทางที่ดีแล้ว การกลับไปสูบเพียงมวนเดียวก็อาจทำให้กลับมาติดบุหรี่เช่นเดิมอีก

พบว่าหลายคนต้องใช้ความพยายามอย่างมากกว่าจะเลิกบุหรี่สำเร็จ และยิ่งคุณใช้ความพยายามมากเท่าไหร่ การที่จะเลิกบุหรี่ได้สำเร็จก็มีมากขึ้นเท่านั้น โปรดจำไว้ว่าคุณพยายามมากเพียงใดกว่าจะเลิกมันได้และบทเรียนเหล่านี้มีค่าสำหรับคุณ และหากคุณกลับมาสูบบุหรี่อีกคุณต้องเชื่อว่าคุณจะสามารถเลิกมันได้ในครั้งนี้ด้วย

พยายามอีกครั้ง! มองโลกในแง่บวก 

 คุณควรพยายามมองโลกในแง่บวก โปรดจำไว้ว่าคุณจะต้องเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะคุณทราบแล้วว่าการเลิกสูบบุหรี่ครั้งนี้คุณต้องพยายามอย่างไรบ้าง

การพยายามเลิกสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมทางบวกและคุณควรโฟกัสในเรื่องต่อไปนี้

  • ตะหนักถึงประโยชน์ที่คุณได้รับจากการเลิกสูบบุหรี่ (แม้จะเป็นการเลิกเพียงระยะสั้นๆ ก็ตาม)
  • คิดเสียว่าการกลับสู่พฤติกรรมการสูบบุหรี่อีกครั้งเป็นเหมือน “การฝึกฝน” สู่การเลิกสูบบุหรี่ให้สำเร็จอย่างถาวร
  • เตือนตัวเองเสมอว่าคุณต้องการเลิกสูบบุหรี่เพื่อใครหรือเพื่ออะไร

เรียนรู้จากข้อผิดพลาด 

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้คุณเดินผิดทางอีกครั้ง? ลองนึกถึงแนวทางที่จะทำให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ได้ คอยฝึกฝนทักษะนี้เพื่อจัดการกับสถานการณ์ที่อาจกระตุ้นให้คุณกลับมาสูบบุหรี่ คราวนี้คุณก็จะมีการเตรียมพร้อมหากครั้งต่อไปคุณกลับมาอยู่ในสถานการณ์เดิมอีกครั้ง แนะนำให้ลองคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้

  • วิธีการใดที่ทำให้คุณเลิกสูบบุหรี่สำเร็จในครั้งก่อน?
  • อะไรที่คุณคิดว่ายากเหลือเกินเมื่อเลิกสูบบุหรี่?
  • สถานการณ์ใดที่กระตุ้นให้คุณกลับมาสูบบุหรี่อีกครั้ง?
  • อะไรคือสาเหตุทำให้คุณล้มเลิกความตั้งใจเรื่องการเลิกสูบบุหรี่?

ลองจดบันทึกลงในสมุดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่ในครั้งก่อน

กำหนดแผนการเลิกสูบบุหรี่

  • ให้เวลากับการวางแผนอย่างรอบคอบและคำนึงถึงวิธีการที่เหมาะสำหรับคุณจริงๆ ที่คุณเคยใช้ในการเลิกสูบบุหรี่ครั้งก่อน รวมทั้งคำนึงถึงสาเหตุที่ทำให้คุณกลับมาสูบบุหรี่ ลองพิจารณาว่าอะไรที่จะทำให้คุณยังคงเลิกสูบบุหรี่ต่อไปได้ในครั้งนี้ การเตรียมความพร้อมในครั้งนี้จะทำให้แผนการเลิกสูบบุหรี่แตกต่างจากครั้งก่อน
  • หลีกเลี่ยงการพาตนเองไปยังสถานที่หรือสถานการณ์ที่คุ้นเคยกับการสูบบุหรี่
  • พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่รวมกลุ่มกับเพื่อนๆ ที่สูบบุหรี่ในช่วงพักหากเป็นไปได้
  • หากยังมีบุหรี่เหลืออยู่ไม่ว่าจะแค่มวนเดียวหรือสองมวน พยายามห้ามใจ! นำบุหรี่เหล่านั้นทิ้งซะให้หมดและพยายามทำตามแผนที่คุณวางไว้ต่อไป
  • เมื่ออยากสูบบุหรี่ขึ้นมา พยายามบังคับตัวเองโดยถ่วงเวลาไว้ให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง แล้วค่อยสูบหากคุณทนไม่ไหวแล้วจริงๆ
  • พกนิโคตินทดแทนติดตัวแทนการพกบุหรี่ เพราะคุณจำเป็นต้องใช้นิโคตินจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยป้องกันการกลับมาสูบบุหรี่ในระยะยาว
  • ลองใช้วิธีการบำบัดรักษาหลายๆ แบบ
  • คุณควรแน่ใจว่าคุณได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนที่ถูกต้องเหมาะสม
  • หากคุณกลับมาสูบบุหรี่เช่นเดิม อย่ารู้สึกผิดหรือรู้สึกแย่กับตัวเอง ลองกำหนดวันเลิกสูบบุหรี่อีกครั้งให้เร็วที่สุดหลังจากที่กลับมาสูบบุหรี่ อาจจะภายใน 1 สัปดาห์หรือภายใน 1 เดือน

เมื่อคุณสามารถทำสำเร็จอีกครั้งขอให้คุณมีความสุขอยู่กับสิ่งที่ได้รับจากการไม่สูบบุหรี่และการเป็นผู้ที่ไม่สูบบุหรี่อย่างแท้จริง

ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วยเลิกบุหรี่

หากคุณกำลังมีปัญหาระหว่างการเลิกสูบบุหรี่สามารถโทรขอคำปรึกษาจากศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ 1600 สายด่วนเลิกบุหรี่ ทางเจ้าหน้าที่จะคอยสนับสนุน สร้างแรงบันดาลใจ และให้คำแนะนำกับคุณในแนวทางที่ถูกต้อง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Quitting Smoking. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/quittingsmoking.html)
Quit-smoking products: Boost your chance of success. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/quit-smoking/in-depth/quit-smoking-products/art-20045599)
Quitting Smoking / Smoking Cessation Center: Find in-depth information to help you stop smoking. WebMD. (https://www.webmd.com/smoking-cessation/default.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป