พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
เขียนโดย
พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เชื้อราในร่มผ้า...ความผิดปกติที่พบบ่อย ณ จุดซ่อนเร้น

บทความนี้เขียนโดย พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์ทั่วไป วันที่ 17/04/2562
เผยแพร่ครั้งแรก 30 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เชื้อราในร่มผ้า...ความผิดปกติที่พบบ่อย ณ จุดซ่อนเร้น

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อราที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ เกิดได้ทั้งในผู้หญิง ผู้ชาย โดยส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรักษาความสะอาดที่ไม่เหมาะสม เช่น ทำความสะอาดอวัยวะเพศไม่ดีพอ ปล่อยให้อับชื้น ใช้สบู่ที่ออกฤทธิ์รุนแรง
  • เชื้อราที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศสามารถติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ด้วย จึงถือเป็นกามโรคอย่างหนึ่ง
  • อาการเมื่อเป็นเชื้อราบริเวณอวัยวะเพศในผู้หญิงผู้ชายจะคล้ายกัน คือ มีอาการคัน มีผื่นแดง มีหนองไหลออกมา และมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
  • คุณสามารถรักษาอาการเชื้อราบริเวณอวัยวะเพศได้ด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันให้ร่างกายตนเองสะอาดขึ้น ใช้ยาฆ่าเชื้อ ยาทาผิวหนังสำหรับฆ่าเชื้อรา หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ต่อผิวหนัง
  • ให้คุณปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนซื้อยา เพื่อป้องกันอาการแพ้สารเคมีในยา และหากรู้สึกระคายเคืองอวัยวะเพศ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

อาการคันบริเวณในร่มผ้า หรือจุดซ่อนเร้นของทั้งเพศชาย และหญิงเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย ในบางคนอาจมีอาการได้หลายครั้งไปตลอดช่วงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่องคลอดของเพศหญิง โดยปกติจะมีเชื้อรา และแบคทีเรียที่สมดุลกันอยู่ร่วมกันได้อย่างดี ทำให้เชื้อราสงบ ไม่เจริญเติบโต 

อย่างไรก็ตาม แต่ถ้าหากมีสิ่งแปลกปลอมไปทำให้ความสมดุลของเชื้อรากับเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดเปลี่ยนแปลงไป เช่น ทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดน้อยลง ก็จะมีผลให้เชื้อราในช่องคลอดเจริญมากขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดเชื้อราในร่มผ้า ซึ่งทำให้เกิดอาการคันในร่มผ้าตามมาได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราช่องคลอดที่พบบ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อราชนิดแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans)

สาเหตุของการเกิดเชื้อราในร่มผ้า

อาการผิดปกติที่เกิดกับอวัยวะเพศนั้นมาจากหลายสาเหตุ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุของอาการคันได้ทั้งสิ้น เช่น โรคผิวหนังอักเสบ หรือแพ้สารประกอบในครีมอาบน้ำก็เป็นสาเหตุของอาการแพ้ผื่นคันได้เช่นกัน 

ส่วนสาเหตุของการเกิดเชื้อราในร่มผ้า มีดังต่อไปนี้

  1. ดูแลความสะอาดได้ไม่ดีพอ ทำให้บริเวณอวัยวะเพศไม่สะอาด และอับชื้น เช่น ไม่อาบน้ำหลังจากทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน โดยเฉพาะหลังออกกำลังกายอย่างหนักซึ่งมีเหงื่อออกมาก หรือหลังอาบน้ำไม่เช็ดตัวให้แห้งก่อนสวมเสื้อผ้า
    นอกจากนี้ การสวมใส่กางเกงที่รัดแน่น อับชื้น รวมถึงใส่ผ้าอนามัยผืนเดิมนานๆ ก็เป็นเป็นสาเหตุให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน
  2. การใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดถูกทำลาย เชื้อราก่อโรคอื่นๆ จึงเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว
  3. สวนล้างช่องคลอดด้วยสบู่ หรือน้ำยาที่รุนแรง ทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล และถูกกำจัดออกไป เชื้อโรคอื่นๆ ได้แก่พวกเชื้อราจึงฉวยโอกาสมารุกรานได้ง่ายขึ้น
  4. ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง เช่น อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคลูปัส โรคเอดส์
  5. ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์จากคู่นอน ซึ่งเป็นกามโรคอย่างหนึ่ง

อาการของเชื้อราในร่มผ้าทั้งของผู้ชายและผู้หญิง

เชื้อราในร่มผ้าเกิดได้ทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง โดยมักมีอาการดังต่อไปนี้

  • คันบริเวณจุดซ่อนเร้นอย่างมาก ในเพศหญิงจะคันที่ปากช่องคลอด ผู้ชายจะรู้สึกคันที่ปลายอวัยวะเพศ หนังปลายอวัยวะเพศเป็นปื้นสีแดง รวมถึงอาจมีผื่นบวมแดง มีอาการแสบร้อน และระคายเคืองมาก่อน
  • เวลาปัสสาวะ หรือมีเพศสัมพันธ์ จะรู้สึกแสบขัด หรืออาจมีอาการเจ็บ
  • ในเพศหญิงจะมีตกขาวสีขาวขุ่น จับตัวเป็นก้อนคล้ายแป้งเปียก มีกลิ่นเปรี้ยวเหมือนนมบูด ซึ่งบ่งบอกว่า มีการติดเชื้อราในช่องคลอด ส่วนเพศชายจะมีของเสียคล้ายหนองไหลออกมาจากหนังหุ้มปลาย และมีกลิ่นไม่พึงประสงค์เช่นกัน

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยเชื้อราในร่มผ้ามีอาการอื่นๆ ร่วมกับอาการที่กล่าวไปข้างต้น ได้แก่ เป็นไข้สูง (อุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป) ปวดท้องน้อย ปวดหลัง คลื่นไส้ มีเลือดออกจากช่องคลอด และ/หรือมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ก็ควรปรึกษาแพทย์

วิธีการรักษาเชื้อราในร่มผ้าให้หายขาด

การรักษาเชื้อราในร่มผ้าให้หายขาดสามารถทำได้ แต่จะต้องมีการหาสาเหตุของการเกิดเชื้อราให้รู้ชัดเจน ถี่ถ้วน และหากสาเหตุนั้นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคุณเอง ก็ควรละ หรือเลี่ยงพฤติกรรมนั้นๆ เพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. สังเกตตนเอง 

ให้คุณสังเกต หรือลองทบทวนเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวันของตนเองว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราในร่มผ้าของตนเอง หรือพฤติกรรมใดที่เสี่ยงทำให้เกิดอาการนี้ แล้วหาวิธีหลีกเลี่ยง เช่น ภาวะอับชื้น การหมักหมม หรือชอบใส่เสื้อผ้าซ้ำ เหงื่อไคลออกมากระหว่างเล่นกีฬา 

เมื่อรู้สาเหตุแล้ว ก็ให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักษาความสะอาดร่างกายให้มากขึ้น เมื่ออาบน้ำเสร็จก็ให้เช็ดตัว และอวัยวะเพศให้แห้ง ในผู้หญิงหากเป็นประจำเดือนก็ให้หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ อย่าปล่อยให้อวัยวะเพศอับชื้นทั้งเพศชาย และเพศหญิง

2. ใช้ยาฆ่าเชื้อ 

คุณควรให้แพทย์เป็นผู้แนะนำการเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อรา เนื่องจากยาแต่ละชนิดจะมีการออกฤทธิ์ และแต่ละบริเวณของร่างกายมีระยะเวลาในการรักษาตนเองที่แตกต่างกัน การใช้ยาที่ไม่นาน หรือไม่สม่ำเสมอเท่าที่ควรอาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล รวมทั้งมีการดื้อยาด้วย

3. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะระคายเคืองผิวหนัง 

ผิวหนังที่มีอาการภูมิแพ้เป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังเกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย อีกทั้งผิวหนังจะอ่อนแอมากกว่าคนทั่วไป จึงจำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากง่ายต่อการติดเชื้อต่างๆ ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา 

นอกจากนี้ ผิวหนังที่เป็นโรคภูมิแพ้ยังมีลักษณะเฉพาะตัว ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังจึงจำเป็นต้องพยายามหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่จะทำให้ระคายเคืองผิวหนังบริเวณนั้น

ข้อแนะนำในการใช้ยารักษาเชื้อราในร่มผ้า

ผู้ที่ต้องการรักษาเชื้อราในร่มผ้าโดยการใช้ยา ควรทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. รักษาโดยใช้ยาทาผิวหนังฆ่าเชื้อราในรูปแบบครีม 

เป็นยาซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการรักษาเชื้อราในร่มผ้า เนื่องจากมีส่วนประกอบที่เป็นไขมันน้อย แต่มีปริมาณน้ำมาก จึงเหมาะสมสำหรับใช้กับผิวชุ่มชื้นในจุดซ่อนเร้น และผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เนื่องจากดูดซึมง่าย และไม่ทำให้เหนียวเหนอะหนะ ใช้ได้ทั้งในเพศชาย และหญิง

2. การรักษาโดยใช้ยารักษาเชื้อราในร่มผ้า 

ซึ่งตัวยาจะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อราโดยตรง ทำให้นิยมใช้รักษาเชื้อราอย่างแพร่หลายได้เช่นกัน และได้ผลการรักษาที่ดีด้วย ได้แก่ โคลไทรมาโซล (Clotrimazole) เป็นยาใช้ภายนอก ชนิดออกฤทธิ์ได้กว้าง (Broad-Spectrum) สามารถฆ่าเชื้อราหลายชนิด เช่น 

  • เดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophyte) 
  • ยีสต์ (Yeast) 
  • เชื้อไตรโคโมแนส (Trichomonas vaginalis)  

นอกจากนี้ ยารักษาเชื้อราในร่มผ้ายังเป็นยาในกลุ่ม Pregnancy Category B คือ ใช้ในสตรีมีครรภ์ได้อย่างปลอดภัย (จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง ไม่พบว่า เป็นพิษทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อระบบสืบพันธุ์)

ระยะเวลาในการรักษาเชื้อราในร่มผ้า

การรักษาเชื้อราในร่มผ้าที่เกิดบนผิวหนังจะใช้เวลารักษาประมาณ 3-4 สัปดาห์ โรคเชื้อราจากเชื้อแคนดิดา (Candida spp.) ใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์ โดยทั่วไปหากอาการไม่ดีขึ้นใน 7 วัน ควรปรึกษาแพทย์ อาจมีการพิจารณาใช้ยาซ้ำได้เมื่อจำเป็น

การรักษาเพิ่มเติม 

ในเพศหญิง กรณีที่มีการอักเสบ คัน ระคายเคืองของอวัยวะเพศภายนอกของสตรี และบริเวณใกล้เคียง ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ใช้ยาโคลไทรมาโซลชนิดเม็ดสอดช่องคลอด เพื่อเป็นการรักษาการติดเชื้อภายในช่องคลอดควบคู่ไปด้วย (Combination treatment

และในบางกรณี แพทย์ก็อาจต้องให้คู่นอนของผู้ป่วยรักษาไปพร้อมกันด้วย หากมีอาการคัน หรืออักเสบบริเวณอวัยวะเพศเช่นเดียวกัน โดยยาตัวนี้ควรใช้ในผู้ใหญ่ และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป

อาการแพ้ยารักษาเชื้อราในร่มผ้า

และหากผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ยา เช่น วูบหมดสติ ความดันเลือดต่ำ หายใจลำบาก ลมพิษ ก็ให้หยุดใช้ยาทันที และไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอให้เปลี่ยนยา

นอกจากนี้ ก่อนที่คุณจะซื้อยามารักษาอาการคันเอง ก็ควรแน่ใจก่อนว่า อาการเชื้อราเกิดจากสาเหตุใด เพราะถ้าหากใช้ครีมรักษาเชื้อราในช่องคลอดทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นโรคนี้จริงๆ จะยิ่งทำให้อาการคันรุนแรงขึ้น และลามไปสู่การแพ้สารบางชนิดที่อยู่ในยารักษาเชื้อราดังกล่าว

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รัศมี ธรรมจุลสถิตย์, คู่มือการทายาโรคผิวหนัง หน่วยตรวจผิวหนัง ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (http://pts.mahidol.ac.th/dpt/MD/know12-skin-20), พฤษภาคม 2551.
Donders GGG, Grinceviciene S, Bellen G, Jaeger M, Ten Oever J, Netea MG. Is non-response to fluconazole maintenance therapy for recurrent Candida vaginitis related to sensitization to atopic reactions?. Am J Reprod Immunol. 2018 Apr. 79 (4):e12811.
American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG). Vaginitis. Washington (DC): American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG); 2006 May. 12 p. (ACOG practice bulletin; no. 72

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ถุงน้ำในช่องคลอด
ถุงน้ำในช่องคลอด

ทำความรู้จักอาการถุงน้ำในช่องคลอด วิธีการวินิจฉัยและรักษา

อ่านเพิ่ม
รักษาตกขาวคันอย่างไร ให้หายขาดและปลอดภัย
รักษาตกขาวคันอย่างไร ให้หายขาดและปลอดภัย

ตกขาวคัน มักเกิดจากการติดเชื้อราภายในช่องคลอด นอกจากทำให้แสบและคันแล้ว ก็ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด และสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม