มันเทศ หรือที่เรียกว่า Sweet Potato เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกับผักบุ้ง และมีมากถึง 400 ชนิด โดยจำแนกตามผิว และสีของเนื้อ ซึ่งสามารถเป็นได้ตั้งแต่สีครีม สีเหลือง และสีส้มไปจนถึงสีชมพูหรือสีม่วง สำหรับวันนี้เราจะพาคุณไปดูความแตกต่างของมันเทศและมันฝรั่ง ผลข้างเคียง และประโยชน์จากการทานมันเทศ
มันเทศ vs. มันฝรั่ง
มันฝรั่งเป็นส่วนหนึ่งของพืชตระกูล Solanaceae และมีความเกี่ยวข้องกับมะเขือเทศ พริกไทย และมะเขือม่วง ทั้งนี้ส่วนใบของมันฝรั่งมีพิษ เราจึงไม่สามารถทานใบของมันฝรั่ง แต่เรากลับทานใบของมันเทศได้ แถมมันยังอุดมไปด้วยสารอาหาร
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- มันเทศเป็นส่วนของรากในขณะที่มันฝรั่งทั่วไปคือส่วนหัว สำหรับปริมาณแคลอรีของมันทั้งสองชนิดนั้นใกล้เคียงกัน ซึ่งมันฝรั่งสีขาวอบแบบที่มีเปลือก 100 กรัมมีประมาณ 93 แคลอรี ในขณะที่มันเทศอบปริมาณเท่ากันมีประมาณ 90 แคลอรี
- มันทั้งสองสปีชีส์ที่ต้มและปอกเปลือกแล้วมีปริมาณของน้ำ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนใกล้เคียงกัน
- มันเทศมีไฟเบอร์และน้ำตาลสูงกว่ามันฝรั่ง และบางครั้งก็มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า
- ทั้งมันเทศและมันฝรั่งเป็นแหล่งของธาตุโพแทสเซียมและวิตามินซี แต่มันเทศเป็นสุดยอดแหล่งของวิตามินเอ
- หากให้กล่าวโดยสรุปก็คือ มันเทศมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่า มีไฟเบอร์มากกว่า และมีปริมาณของวิตามินและแร่ธาตุใกล้เคียงหรือมากกว่ามันฝรั่งเล็กน้อยโดยเฉพาะวิตามินเอ
ผลข้างเคียงของการทานมันเทศ
1.นิ่วในถุงน้ำดีและนิ่วในไต
มันเทศเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีสารออกซาเลตสูง ซึ่งมีมากกว่า 10 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค ทั้งนี้ออกซาเลตมีแนวโน้มที่จะตกผลึกเมื่อมันสะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป ซึ่งมันมีส่วนสำคัญในการก่อตัวของก้อนนิ่วชนิดแคลเซียมออกซาเลต ทั้งนี้คนที่ไตและถุงน้ำดีมีปัญหากับการจัดการและขับออกซาเลตออกจากร่างกายจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทาน
2.ปวดท้อง
มันเทศมีน้ำตาลชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า แมนนิทอล ซึ่งสามารถทำให้ปวดท้องหากคุณมีกระเพาะอาหารที่ไวต่อการกระตุ้น การปวดท้องทุกครั้งที่คุณทานมันเทศอาจบอกได้ว่าร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารที่มีแมนนิทอลได้ ในบางกรณีสารแมนนิทอลยังเป็นตัวการที่ทำให้เราท้องอืดและท้องเสีย
3.ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
มันเทศมีระดับของดัชนีน้ำตาลต่ำ แต่วิธีที่คุณใช้เตรียมอาหารนั้นส่งผลต่อค่าดังกล่าว ทั้งนี้มันเทศที่ต้มแล้วมีค่าดัชนีน้ำตาลประมาณ 44 แต่หากนำไปอบเป็นเวลา 45 นาที ค่าดัชนีน้ำตาลกลับดีดตัวสูงขึ้นจนมีค่าประมาณ 94 ดังนั้นหากคุณกำลังอยู่ในช่วงควบคุมอาหารและติดตามระดับของน้ำตาลในเลือดเพื่อควบคุมโรคหรือเพื่อให้สุขภาพในภาพรวมดี คุณก็ควรใช้วิธีทำอาหารให้เหมาะสม
ประโยชน์ด้านสุขภาพของมันเทศ
- สารแอนโทไซยานินสีม่วงที่พบได้ในมันเทศช่วยปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระและโลหะหนัก รวมถึงช่วยบรรเทาอาการของโรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผลและโรคลำไส้แปรปรวน
- สารสีม่วงชนิดนี้ยังช่วยลดกระบวนการออกซิเดชั่นที่ทำให้ตับเสีย ซึ่งเกิดจากการทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง อีกทั้งยังยับยั้งการเพิ่มขึ้นของเซลล์มะเร็งลำไส้ กระเพาะอาหาร ปอด และหน้าอก
- มันเทศอุดมไปด้วยวิตามิน โดยเฉพาะมันเทศที่มีเนื้อสีส้ม ซึ่งเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ สารต้านการอักเสบ และสารต้านสารก่อมะเร็ง
- โพแทสเซียมที่พบได้ในมันเทศสามารถช่วยลดความดันโลหิต ในขณะที่ฟอสฟอรัสสามารถช่วยร่างกายเก็บพลังงาน และซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย
- มันเทศมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ และมีสรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2
อย่างไรก็ตาม มันเทศเป็นพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อีกทั้งยังมีรสชาติที่อร่อย เพียงแต่คุณต้องควบคุมการทานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและประกอบอาหารโดยใช้วิธีที่ดีต่อสุขภาพ