สารอะไรในครีมทาผิวที่ทำให้แพ้ได้ อาการเป็นอย่างไรบ้าง และวิธีการบรรเทาอาการแพ้

สารเคมีชนิดใดที่ควรหลีกเลี่ยงในครีมทาผิว แนะนำวิธีเลือกใช้ครีมทาผิวอย่างปลอดภัย และวิธีดูแลผิวเมื่อเกิดอาการแพ้
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
สารอะไรในครีมทาผิวที่ทำให้แพ้ได้ อาการเป็นอย่างไรบ้าง และวิธีการบรรเทาอาการแพ้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เมื่อใช้ครีมทาผิวแล้วเกิดอาการแสบ ผื่นแดง แห้งลอก คัน ตุ่มแดง หรือตุ่มน้ำ ให้หยุดใช้ทันที เพราะนั่นคืออาการแพ้ครีมทาผิว
  • สารเคมีในครีมทาผิวที่คนผิวแพ้ง่ายควรหลีกเลี่ยง เช่น สารกันเสีย น้ำหอม แอลกอฮอล์ โพรพิลีนไกลคอล หรือลาโลนิน
  • สารต้องห้ามที่ห้ามใช้ในครีมทาผิวเด็ดขาด ได้แก่ ปรอท สเตียรอยด์ ไฮโดรควิโนน และกรดเรติโนอิก
  • ก่อนใช้ครีมทาผิวควรตรวจสอบส่วนประกอบของครีม วันเดือนปีที่ผลิต เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน อย. และทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้งาน
  • หากหยุดใช้ครีมแล้วอาการแพ้ไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับยาแก้แพ้ หรือยาลดการอักเสบ และต้องรักษาความชุ่มชื้นให้ผิวเสมอ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ได้ที่นี่)

ครีมทาผิว (Skin care) เป็นหนึ่งในเครื่องสำอาง หรือเวชสำอางที่จำเป็นสำหรับใครหลายคน โดยมักเลือกใช้ตามปัญหาผิวที่แตกต่างกันไป เช่น ลดริ้วรอย ลดความหมองคล้ำ หรือเพิ่มความชื้น

อย่างไรก็ตามครีมทาผิวแต่ละชนิด ก็มีส่วนผสม หรือสารเคมีที่แตกต่างกันไป หากใช้ครีมโดยไม่ระมัดระวังก็อาจทำให้เกิดการแพ้ครีมทาผิวตามมาได้ เช่น เป็นผื่น คันตามตัว หรือรอยแดง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทำไมเราถึงแพ้ครีมทาผิว สาเหตุเกิดจากอะไร และรักษาได้ไหม หาคำตอบได้ที่บทความนี้

แพ้ครีมทาผิวเกิดจากอะไร?

กลไกการเกิดอาการแพ้ครีมทาผิว หรือแพ้เครื่องสำอาง ก็คล้ายกับอาการแพ้อื่นๆ คือ ภูมิคุ้มกันในร่างกายไวต่อสารเคมี หรือส่วนผสมที่อยู่ในครีมทาผิว ทำให้เกิดอาการแพ้ตามมา

อาการแพ้ครีมทาผิวมักแสดงอาการทางระบบผิวหนัง เช่น มีผื่นแดง คัน แสบร้อน แห้งลอก ตุ่มแดง หรือตุ่มน้ำ

บางรายที่มีอาการแพ้รุนแรง (พบได้น้อย) อาจมีอาการบวมแดง ลมพิษ แน่นหน้าอก หรือหายใจไม่ออกร่วมด้วย หากเกิดอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์ เพราะอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อย่างไรก็ตามอาการที่เกิดขึ้นส่วนมากมักไม่ใช่อาการแพ้ แต่เป็นการระคายเคืองจากการที่มีผิวหนังบอบบาง (Sensitive skin) มากกว่า

อาการระคายเคืองจะแตกต่างจากอาการแพ้ตรงที่เมื่อหยุดใช้ครีมทาผิวนั้นๆ อาการก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

5 สารเคมีในครีมทาผิวที่ควรหลีกเลี่ยง

ครีมทาผิวแต่ละชนิด แต่ละยี่ห้อ จะมีส่วนผสมที่แตกต่างกันไป โดยครีมทาผิวที่ได้มาตรฐานจะแจ้งรายละเอียดของส่วนประกอบทั้งหมดที่กล่องบรรจุภัณฑ์ หรือตัวผลิตภัณฑ์

การทำความเข้าใจส่วนประกอบของครีมทาผิวจะสามารถลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ได้มาก และช่วยให้คุณเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัย

5 สารเคมีต่อไปนี้ เป็นสารที่คนผิวแพ้ง่ายควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจเสี่ยงต่อการแพ้ได้

1. สารกันเสีย (สารในกลุ่มพาราเบน)

  • ครีมทาผิวส่วนมากผสมสารพาราเบนเข้าไป โดยสารที่มักเห็นบ่อยๆ คือ เมทิลพาราเบน (Methylparaben) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
  • กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีอัตราการใช้ไม่เกิน 0.4% เมื่อใช้ชนิดเดียว และ 0.8% เมื่อใช้หลายชนิด
  • ส่วนใหญ่มักก่อให้เกิดสิวในผู้ที่แพ้ ซึ่งเราสามารถรักษาตามอาการได้เลย โดยหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ก่อน
  • ปัจจุบันได้มีการจำกัดปริมาณการใช้พาราเบนในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแล้ว เพราะพบว่า สามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม
  • ครีมทาผิว หรือเครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของพาราเบนจะเขียนกำกับไว้ชัดเจน เช่น Non-Paraben แต่จะมีราคาสูงกว่าครีมทั่วไป

2. สารลาโนลิน (Lanolin)

  • สารลาโนลิน เป็นน้ำมันที่สกัดมาจากน้ำมันหล่อเลี้ยงบนขนแกะ และมีความปลอดภัยสูง มีสรรพคุณช่วยปรับสภาพผิวของเราให้เนียนนุ่ม ชุ่มชื่น ลดความหยาบกระด้างลงได้
  • สำหรับบางคนอาจทำให้เกิดภูมิแพ้ หรือผื่นคันได้ อาการแพ้จะน้อย หรือมากขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
  • หากแพ้น้อย สามารถไปปรึกษาเภสัชกรเพื่อทำการรักษาได้
  • แต่ถ้าแพ้มาก เช่น มีผื่นลมพิษ หายใจไม่ออก หรือแน่นหน้าอกก็ควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง และต่อไปก็ไม่ควรใช้ครีมบำรุงที่มีสารนี้เป็นส่วนผสมอีก

3. หัวน้ำหอม (Fragrances)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เป็นสาเหตุอันดับตรงๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หรืออาการระคายเคือง มักพบในส่วนผสมของครีมกันแดด ครีมทาผิวกาย ครีมทาหน้า ซีรัม ยาสระผม หรือเครื่องแต่งหน้า
  • กลิ่นของน้ำหอมอาจทำให้เกิดผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ตื่นตัว ซึมเศร้า และอาจเกิดการระคายเคืองในโพรงจมูกด้วย
  • หากแพ้ภายนอกก็อาจทำให้เกิดสิวได้ ถ้าเกิดอาการแพ้จะต้องหยุดใช้ทันที

4. โพรพิลีนไกลคอล (Propylene Glycol: PEG)

  • เป็นสารที่มักผสมลงในครีมบำรุงผิวเพื่อทำให้เนื้อครีมเข้มข้นขึ้น พบว่า เป็นสารที่รบกวนการสร้างไขมันตามธรรมชาติของผิวหนัง ทำให้ผิวแห้งกร้าน หรือเสื่อมสภาพลง
  • เมื่อผิวอ่อนแอลงก็มีโอกาสทำให้แพ้ง่าย เสี่ยงติดเชื้อได้มากขึ้น และอาจทำให้เกิดผื่นแพ้ได้

5. สารสกัดจากน้ำมันปิโตรเลียม Mineral Oil (Petrolatum)

  • เป็นน้ำมันที่ช่วยให้ความชุ่มชื้นกับผิว ทำให้แต่งหน้าติดทนมากขึ้น เหมาะสำหรับคนผิวแห้ง
  • หากผิวคนผิวมันใช้ก็อาจทำให้ผิวอุดตัน และเกิดสิวตามมาได้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นสิวอักเสบอีกด้วย
  • ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์บำรุงผิวมักพยายามหลีกเลี่ยงไม่ใส่สารตัวนี้ลงไป เพื่อป้องกันการตกค้างของน้ำมัน จนทำให้เกิดสิวตามมา และอาจส่งผลให้รูขุมขนกว้างอีกด้วย

สารต้องห้ามในครีมทาผิวที่ห้ามใช้เด็ดขาด

ปัจจุบันมีครีมทาผิว หรือครีมทาหน้าขาวที่ไม่ได้มาตรฐานวางขายตามท้องตลาดหลายยี่ห้อ โดยจะมีสรรพคุณช่วยให้ผิวขาวขึ้นอย่างรวดเร็ว

ครีมเหล่านี้มักมีส่วนผสมของสารเคมีที่ใช้สำหรับยารักษาโรคผิวหนังโดยเฉพาะอยู่ด้วย แม้ว่าจะสามารถช่วยให้ผิวขาวขึ้นในระยะสั้น แต่ก็มีอันตรายต่อผิวมาก และเกิดผลข้างเคียงตามมามากมาย

4 สารต้องห้ามที่ห้ามใช้ในครีมทาผิว หรือเครื่องสำอางมีดังนี้

1. ปรอท (Mercury)

  • ทำให้ผิวขาวขึ้น และป้องกันการเกิดสิวจากเชื้อแบคทีเรีย
  • สามารถทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ เกิดฝ้าถาวร หรือผิวบางลงได้
  • หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ตัวยาสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ตับ ไต และทางเดินอาหารอักเสบ อีกทั้งยังทำให้เป็นโรคโลหิตจางอีกด้วย
  • หญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้เด็ดขาด เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

2. ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone)

  • ช่วยยับยั้งเม็ดสี ทำให้ผิวขาวขึ้น
  • มีอาการแสบร้อน ตุ่มขึ้น และผิวคล้ำบริเวณที่ใช้
  • หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนัง
  • หากใช้ในปริมาณสูง ตัวยาสามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ โดยจะทำให้เกิดอาการสั่น ลมชัก หรือเกิดอาการแพ้ยา หากมีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์ทันที

3. สเตียรอยด์ (Steroid)

  • มักพบในครีมทาหน้าขาว เพราะมีสรรพคุณทำให้ผิวขาวขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ทำให้มีผดผื่นขึ้นง่าย ผิวหน้าบาง ส่งผลให้ไวต่อมลภาวะในอากาศ เมื่อมาสัมผัสบนใบหน้าก็จะทำให้เกิดอาการแพ้ หรือการอักเสบได้ง่าย

4. กรดเรติโนอิก (Retinoic acid)

  • ช่วยในการยับยั้งเม็ดสี ป้องกันการเกิดสิวอุดตัน
  • ทำให้ผิวระคายเคือง แสบ หน้าลอก อักเสบ หรือไวต่อแดด
  • หญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้เด็ดขาด เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์

วิธีป้องกันอันตรายจากสารต้องห้ามเหล่านี้คือ เวลาเลือกซื้อครีมทาหน้า หรือเครื่องสำอางอื่นๆ ให้ซื้อในสถานประกอบการที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันของปลอม และใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรองรับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

หากสงสัยว่า ครีมทาหน้าที่กำลังใช้อยู่อันตรายหรือเปล่า หรือต้องการตรวจสอบเลขอย. สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของอย. www.fda.moph.go.th คลิกไปที่หมวดตรวจสอบผลิตภัณฑ์

วิธีการดูแลรักษาอาการแพ้

  • เมื่อเกิดอาการแพ้ให้หยุดใช้ครีมทาหน้าที่คาดว่า เป็นสาเหตุของอาการแพ้ทันที แต่ถ้าไม่แน่ใจก็ให้หยุดใช้ครีมทั้งหมด โดยปกติแล้วเมื่อหยุดใช้อาการก็มักจะดีขึ้น
  • หากอาการแย่ลง หรือแพ้ง่ายขึ้น ให้ไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยแพทย์จะเริ่มจากการรักษาอาการแพ้โดยให้ยาต้านฮีสตามีน และครีมทาลดการอักเสบก่อน ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • อย่ากังวลถ้าหากมีสิวอักเสบ รอยแดง หรือรอยดำในช่วงที่ผิวอักเสบจากอาการแพ้ ให้รักษาอาการแพ้ให้ผิวกลับมาแข็งแรงเป็นปกติก่อน แล้วค่อยรักษาอาการเหล่านี้ในภายหลัง
  • รักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวโดยการทามอยเจอร์ไรซ์เซอร์ที่อ่อนโยน อย่าปล่อยให้ผิวแห้ง เพราะจะยิ่งเสี่ยงต่อการอักเสบมากยิ่งขึ้น

วิธีเลือกใช้ครีมทาผิวอย่างปลอดภัย

  • ใช้ครีมทาหน้าที่ได้รับมาตรฐานผ่านการรับรองจากอย.
  • ไม่ใช้ครีมทาหน้าที่หมดอายุ และเมื่อเปิดใช้งานจะต้องดูด้วยว่า ครีมมีอายุได้กี่เดือนหลังเปิดใช้ สังเกตรายละเอียดได้จากบรรจุภัณฑ์
  • หากเป็นคนที่มีผิวบอบบางแพ้ง่ายจะต้องใส่ใจกับส่วนประกอบในครีมทาหน้าด้วย ไม่ควรใช้ครีมที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หัวน้ำหอม สารกันเสีย หรือสารต้องห้ามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น
  • เลือกใช้ครีมทาผิวให้เหมาะกับสภาพผิวหน้าของตัวเอง เนื่องจากครีมแต่ละตัวผลิตมาเพื่อคนที่ผิวหน้าแตกต่างกัน เช่น ผิวแห้ง ผิวบอบบาง ผิวมัน หรือผิวผสม
  • หากใช้ครีมทาหน้าไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตาม ควรทดสอบอาการแพ้ก่อน

วิธีทดสอบอาการแพ้ครีมทาหน้าด้วยตัวเอง

ก่อนเริ่มใช้ครีมทาหน้าอันใหม่ ควรทดสอบก่อนทุกครั้งว่า มีอาการแพ้หรือไม่ โดยคุณสามารถทดสอบการแพ้ด้วยตัวเองง่ายๆ ดังนี้

  • ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ โดยทาในปริมาณน้อยๆ บริเวณหลังใบหู หรือท้องแขน
  • รอประมาณอย่างน้อย 48-72 ชั่วโมง หรือทาติดต่อกันประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • หากมีผื่นแดง มีตุ่มนูน คัน แสบ หรือผิวไหม้ แสดงว่า คุณแพ้สารเคมี หรือส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด

อาการแพ้ครีมทาผิวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากเราศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เลือกใช้ครีมที่เหมาะกับสภาพผิวของตัวเอง และทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน ก็สามารถป้องกันการเกิดอาการแพ้ได้แล้ว

อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดอาการแพ้ก็อย่าตื่นตระหนก ให้คุณหยุดใช้ครีมทาผิวทันที และทำตามคำแนะนำเบื้องต้น ก็จะช่วยลดความรุนแรงของอาการแพ้ได้

แต่หากอาการแพ้ยังไม่ดีขึ้น คุณควรไปพบแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะการรักษาที่ถูกวิธีจะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ และป้องกันไม่ให้อาการแพ้รุนแรง

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Understanding allergic reactions to skin care products. National Institutes of Health (NIH). (https://www.nih.gov/news-events/nih-research-matters/understanding-allergic-reactions-skin-care-products)
Allergens in Cosmetics. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-ingredients/allergens-cosmetics)
Are You Allergic to Your Skin Care Products?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/allergic-to-skin-care-products-4121121)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แหล่งวิตามินบำรุงผิว
แหล่งวิตามินบำรุงผิว

แนะนำ 5 วิตามินบำรุงผิว และวิธีรับประทานให้ได้ประโยชน์สูงสุด

อ่านเพิ่ม
ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น
ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น

อาการผิวแห้งมีหลายระดับ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการอักเสบได้ มาเรียนรู้วิธีดูแลรักษา และป้องกันผิวแห้งกันเถอะ

อ่านเพิ่ม