อาการปวดศีรษะในแต่ละช่วงอายุ
ผู้สูงอายุมีอาการปวดศีรษะไม่บ่อยเท่าคนหนุ่มสาว โดยพบว่า
- ในช่วงอายุ 21-34 ปี ผู้หญิงร้อยละ 92 และผู้ชายร้อยละ 74 จะมีอาการปวดศีรษะ
- ในช่วงอายุ 55-74 ปี จะลดลงเป็นร้อยละ 66 และร้อยละ 55 ตามลำดับ
- ในช่วงอายุมากกว่า 75 ปี ลดเหลือ ร้อยละ 55 และร้อยละ 22
อาการปวดศีรษะในผู้สูงอายุอันตรายไหม?
อาการปวดศีรษะก็ยังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีความแตกต่างจากผู้ที่อายุน้อยกว่า ดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มีโอกาสเกิดจากโรคปวดศีรษะชนิดไม่มีความผิดปกติในสมอง เช่น ไมเกรนหรือปวดจากกล้ามเนื้อตึง น้อยกว่าคนหนุ่มสาว แต่โรคปวดศีรษะชนิดไม่มีความผิดปกติในสมอง ก็ยังเป็นอาการส่วนใหญ่ของอาการปวดศีรษะในผู้สูงอายุ (พบร้อยละ 66 เมื่อที่กับผู้ที่อายุน้อยกว่า ซึ่งพบสูงกว่าร้อยละ 90)
ผู้สูงอายุมีโอกาสปวดศีรษะจากโรคที่มีความผิดปกติสูงขึ้น โดยพบว่าเป็นสาเหตุได้ถึง 1 ใน 3 เช่น จากหลอดเลือดอักเสบ ก้อนเนื้องอกในสมอง ความผิดปกติของโรคทางกายหรือโรคเมแทบอลิก
กลุ่มที่เป็นโรคปวดศีรษะชนิดไม่มีความผิดปกติในสมอง อาการจะไม่แสดงออกชัดเจน ไม่เหมือนผู้ป่วยที่อายุน้อย
ผู้สูงอายุมีโรคที่เกิดร่วมหลายอย่าง จึงทำให้การวินิจฉัยและการรักษาทำได้ยากกว่าปกติ
อาการปวดศีรษะในผู้สูงอายุชนิดที่มีสาเหตุพบได้มากขึ้น จึงควรระมัดระวัง และสังเกตอาการ โดยถ้ามีอาการบางอย่างต่อไปนี้เกิดขึ้นต้องไปปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นการปวดศีรษะชนิดมีสาเหตุ
ปวดศีรษะอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ปวดกะทันหัน ต้องระวังว่าอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดในสมองแตกหรือผนังหลอดเลือดในสมองถูกเซาะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มีไข้หรืออาการตามระบบที่อวัยวะอื่น อาจเกิดจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือหลอดเลือดอักเสบ
มีอาการหรืออาการแสดงที่น่าสงสังว่ามีรอยโรคในสมอง เช่น แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งตัว ใบหน้าเบี้ยว เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้ฟังไม่เข้าใจ
เริ่มปวดศีรษะครั้งแรกตอนอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งอาจเกิดจากโรคบางโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอายุนี้ เช่น หลอดเลือดอักเสบ เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง เลือดคั่งในสมอง
ในกรณีที่มีอาการปวดศีรษะเรื้อรังมาก่อน ถ้าอาการปวดเปลี่ยนไปจากเดิมทั้งในด้านตำแหน่ง ความรุนแรง ความถี่ และลักษณะการปวด ต้องระวังว่าจะมีความผิดปกติอื่นเกิดขึ้น
มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เบ่งขับถ่าย หรือไอจาม เช่น โรคความดันในกะโหลกศีรษะต่ำจะมีอาการปวดศีรษะมากขึ้น เมื่อลุกขึ้นนั่งหรือยืน ผู้ป่วยที่มีความดันในกะโหลกศีรษะสูงหรือมีก้อนในสมอง จะมีอาการปวดมากขึ้นในท่านอนราบ
มีอาการปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือต้องใช้ยาแก้ปวดมากขึ้นเพื่อบรรเทา
มีประวัติเป็นโรคมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือติดเชื้อเอดส์ ทำให้ต้องนึกถึงการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่สมอง และโรคติดเชื้อในระบบประสาท