กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยา Pseudoephedrine

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Pseudoephedrine

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Pseudoephedrine ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Maxiphed, Pseudoephedrine Asian Pharm, Pseudoephedrine BJ Benjasoth, Pseudoephedrine Milano

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Pseudoephedrine

ซูโดอิเฟดรีน (aspirin) เป็นยากลุ่มยาสำหรับอาการไอและหวัด ยาสำหรับรับประทาน มีทั้งรูปแบบของยาเดี่ยวและยาผสม ยาชนิดเม็ด ประกอบด้วยซูโดอิเฟดรีน ขนาด 30 และ 60 มิลลิกรัม ยาชนิดน้ำเชื่อม ประกอบด้วยซูโดอิเฟดรีน ความเข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อช้อนชา

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Pseudoephedrine

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ซูโดอิเฟดรีนเข้าจับกับตัวรับ อัลฟ่า และ บีต้า อะดรีเนอจิก (alpha, beta adrenergic) เป็นผลให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ผ่านการกระตุ้นโดยตรงที่ตัวรับอัลฟ่า-อะดรีเนอจิก ที่บริเวณเยื่อเมือกในทางระบบทางเดินหายใจ และกระตุ้นโดยตรงที่ตัวรับบีต้า-อะดรีเนอจิก ทำให้เกิดการคลายตัวของหลอดลม เพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ และเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ

ข้อบ่งใช้ของยา Pseudoephedrine

ยาซูโดอิเฟดรีน ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ บรรเทาอาการคัดจมูก ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ยาในรูปซัลเฟต (sulfate) หรือไฮโดรคลอไรด์ (hydrochloride) ขนาด 60 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 240 มิลลิกรัม ขนาดการใช้ยาในเด็ก ยาในรูปซัลเฟต (sulfate) หรือไฮโดรคลอไรด์ (hydrochloride) เด็กอายุ 2-6 ปี ขนาด 15 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง เด็กอายุ 6-12 ปี ขนาด 30 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง

สามารถรับประทานยานี้ก่อนหรือหลังอาหาร

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Pseudoephedrine

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Pseudoephedrine

  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วยที่โรคความดันโลหิตสูงรุนแรง
  • ไม่ใช้ยาในผู้ป่วย pheochromocytoma
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยระดับฮอร์โมนไธรอยด์สูง
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจเต้นเร็ว
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอุดกั้น เช่น โรค atherosclerosis โรคความดันโลหิตสูง หรือ aneurysm
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยต้อหินมุมปิด
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยตั้งครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Pseudoephedrine

อาจก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ วิตกกังวล ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ หัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation) กล้ามเนื้อหัวใจตาย

ข้อมูลการใช้ยา Pseudoephedrine ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายยาทั่วไป

ข้อมูลการเก็บรักษายา Pseudoephedrine

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 15-25 องศาเซลเซียส


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pseudoephedrine (Sudafed) - Side Effects, Dosage, Interactions. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/drugs/pseudoephedrine)
Pseudoephedrine. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682619.html)
Pseudoephedrine Uses, Dosage & Side Effects. Drugs.com. (https://www.drugs.com/pseudoephedrine.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม