เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกดหน้าอกเร็วเกินไป ?

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกดหน้าอกเร็วเกินไป ?

มาตรฐานของการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ในปัจจุบันระบุไว้ว่าคุณควรทำการกดหน้าอกในอัตราอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที โดยไม่ได้ระบุไว้เรื่องของอัตราเร็วสูงสุด ซึ่งควรจะมีหรือไม่?

ทำ CPR มีโอกาสกดหน้าอกเร็วเกินไป?

มีประเด็นเรื่องของการกดหน้าอกเร็วเกินไปในการทำ CPR ในการรณรงค์ล่าสุด ทาง American heart association แนะนำให้ผู้ที่จะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ “กดให้เร็วและแรง” เมื่อทำ CPR แนวทางการทำ CPR ฉบับปี 2010 เปลี่ยนคำแนะนำก่อนหน้าเกี่ยวกับการกดหน้าอกจาก “ประมาณ 100 ครั้งต่อนาที” ไปเป็น “อย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที” ผู้ให้ความช่วยเหลือได้รับการสอนง่าย ๆ ว่า พวกเขาควรแน่ใจว่าหน้าอกจะยุบตัวลงสุด และคืนตัวได้เต็มที่สำหรับการกดหน้าอกในแต่ละครั้ง

การกดหน้าอกนั้นเร็วมากขึ้น

เมื่อทาง American heart association ได้ประกาศมาตรฐานของการกดหน้าอกที่ 100 ครั้งต่อนาทีออกมาในปี 2005 ก็ไม่ได้หมายถึงว่าต้องกดหน้าอกเป็นจำนวนดังกล่าวจริง ๆ ในเวลานั้น อัตราส่วน 30:2 หมายถึงหลังจากทุก ๆ 18 วินาที หรือประมาณนั้นของการกดหน้าอก (เป็นช่วงเวลาที่ใช้สำหรับการกดหน้าอก 30 ครั้ง ด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้งต่อนาที) ผู้ให้การช่วยเหลือจะหยุดเพื่อช่วยหายใจสองครั้ง ซึ่งการหยุดนี้ไม่ควรจะเกิน 10 วินาที ผู้ให้การช่วยเหลือที่ชำนาญสามารถทำวงจรการกู้ชีพในอัตรา 30:2 ดังกล่าวได้สองวงจรทุกนาทีอย่างสบาย ๆ ซึ่งจะมีการกดหน้าอกทั้งหมด 60 ครั้งต่อนาทีโดยที่มีการช่วยการหายใจด้วย

การให้ความช่วยเหลือโดยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียวยังไม่ได้รับการยอมรับในขณะนั้น แต่ด้วยการเคลื่อนไหวที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน ทางองค์กรยอมให้ใช้การช่วยเหลือด้วยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียวเป็นทางเลือกในปี 2008 ซึ่งเป็นช่วงครึ่งทางก่อนที่จะมาเป็นการช่วยชีวิตฉบับปัจจุบัน

ในปี 2010 มีแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่กว่าที่ทำให้เกิดการยอมรับการช่วยหายใจโดยการกดหน้าอกเพียงอย่างเดียวและระบบการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินบางอย่างในการกระตุ้นการหายใจเพื่อช่วยคืนชีพแบบผู้ชำนาญ ผู้ให้ความช่วยเหลือได้รับการสนับสนุนให้ทำการกดหน้าอกมากขึ้นและเร็วขึ้นกว่าเดิม

อัตราเร็วที่จำกัดไว้ของการกดหน้าอก ?

ไม่มีการหยุดสำหรับการช่วยหายใจ นั่นหมายถึงจะมีเวลากดหน้าอกมากขึ้น

เราเพิ่มการกดหน้าอก 60 ครั้งต่อนาทีไปเป็นอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที ในตอนนี้ที่เรากดหน้าอกมากเหลือเกิน ก็มีหลักฐานเพิ่มขึ้นว่าการกดหน้าอกก็มีอัตราเร็วสูงสุดเช่นเดียวกับที่มีอัตราเร็วต่ำสุด จากการศึกษาในปี 2012 ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น 3,098 ราย แสดงให้เห็นว่าอัตราเร็วมีผลในการทำการกดหน้าอก นักวิจัยพบว่าเมื่อผู้ให้การช่วยเหลือกดหน้าอกเร็วกว่า 125 ครั้งต่อนาที แรงกดจะลดลง ในการศึกษานี้ นักวิจัยใช้เครื่องมือที่ติดตามการกดหน้าอกและบอกเราได้อย่างแม่นยำว่าผู้ให้ความช่วยเหลือกำลังกดหน้าอกเร็วแค่ไหน ที่สำคัญกว่านั้นคือการวัดของพวกเขามุ่งไปที่ความสำเร็จและความล้มเหลวโดยยึดที่ว่าหัวใจของผู้ป่วยกลับมาเต้นอีกครั้ง (เป็นที่รู้จักกันในวงการ EMS ว่าการไหลเวียนเลือดกลับมา-return of spontaneous circulation หรือ “แม่เจ้า ปั๊มขึ้นแล้ว ! )

คำเตือนที่สำคัญคือ: ความเร็วของการกดหน้าอกไม่ได้มีผลมากนักต่อการอยู่รอดจนออกจากโรงพยาบาล อีกข้อหนึ่งที่หลายคนจะพูดว่าสำคัญกว่าคือ การวัดผล เราก็ยังคงไม่รู้อยู่ดีว่าจุดที่เหมาะสมที่สุดของการกดหน้าอกอยู่ตรงไหน

ทั้งหมดนี้หมายความว่าอะไร?

สำหรับพวกคุณส่วนใหญ่ การทำ CPR เป็นความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นสักครั้งในชีวิต คุณอาจจะกังวลมากกว่าเกี่ยวกับตำแหน่งการวางมือ หรือเมื่อไหร่รถพยาบาลจะมาถึง นี่เป็นหนึ่งในการศึกษากลุ่มเล็ก ๆ ที่ควรสนใจเรื่องดังกล่าว สำหรับผู้อื่น เร็วกว่าก็ดีกว่าช้าอยู่แล้ว

สำหรับกลุ่มที่ว่า มีสิ่งที่ต้องจดจำดังนี้: เมื่อคุณมีผู้ให้ความช่วยเหลือที่ตื่นเต้นสุด ๆ และอยากจะกดหน้าอกสุดแรงเกิด คุณก็คงรู้ ประเภทที่คิดว่าแม้แต่การกดหน้าอกก็เป็นการแข่งขันน่ะ ให้คุณวางมือลงบนบ่าของเขาและบอกให้เขาผ่อนแรงลงหน่อย การที่จะไม่กดหน้าอกเร็วเกิน 130 ครั้งต่อนาทีก็ดูสมเหตุสมผล เนื่องจากจะลดโอกาสเกิดผลดีจากการกดหน้าอกและทำให้ผู้ช่วยเหลือล้ามากขึ้นด้วย


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
CPR - child 1 to 8 years old - series—Chest compressions. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/presentations/100215_2.htm)
How to resuscitate a child. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/resuscitating-a-baby/)
Can You Compress the Chest Too Fast During CPR?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/is-it-possible-to-compress-the-chest-too-fast-1298427)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)