ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ยาสามัญประจำทริป มีติดไว้หายห่วง

ยา 10 อย่างที่ควรพกติดกระเป๋า เมื่อไปท่องเที่ยว เพื่อช่วยแก้ไขหรือรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
เผยแพร่ครั้งแรก 4 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ยาสามัญประจำทริป มีติดไว้หายห่วง

เวลาจะเดินทางท่องเที่ยว โดยเฉพาะถ้าไปเป็นครอบครัวใหญ่ มีผู้คนหลายวัย เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง เพราะหากมีใครสักคนเจ็บไข้ไม่สบายขึ้นมา การเดินทางอาจสะดุด ยิ่งถ้าไปเที่ยวห่างไกล ไม่มีสถานพยาบาลหรือผู้เชี่ยวชาญใกล้ๆ อาจเป็นเรื่องใหญ่ได้ทีเดียว HonestDocs เลยขอเสนอรายการยาสามัญประจำทริป ให้พกติดกระเป๋าไว้ เป็นอะไรเล็กๆ น้อยๆ ก็จะได้บรรเทาอาการให้ทันท่วงที

1. ยาแก้ปวด ลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol)

ไปในที่หนาวๆ ร้อนๆ อากาศเปลี่ยนแปลง อาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ส่งผลให้มีไข้หรือปวดหัวได้ง่าย เนื่องจากร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน การมียาแก้ปวดลดไข้ติดตัวไว้จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีรับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม สำหรับผู้ใหญ่ แนะนำให้รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ส่วนเด็กควรรับประทานเพียง ½-1 เม็ด ให้ปลอดภัยที่สุดควรรับประทานตามน้ำหนักตัว โดยขนาดยาที่เหมาะสมอยู่ที่ครั้งละ 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ควรกินยาแก้ปวดหลังจากเริ่มมีอาการ และกินซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อป้องกันอาการไว้ก่อน เนื่องจากอาจทำให้อุณหภูมิของร่างกายต่ำผิดปกติได้

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรรับประทานยาเกินวันละ 4,000 มิลลิกรัม/วัน เนื่องจากหากได้รับปริมาณยามากเกินขนาดและสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดพิษต่อตับได้

2. ยาแก้เมารถ เช่น ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)

บางคนอาจเลือกเดินทางด้วยรถ ซึ่งถ้าเดินทางเพียงใกล้ๆ คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าไกลๆ เส้นทางคดเคี้ยว ก็อาจทำให้บางคนเกิดอาการเมารถ วิงเวียนศีรษะ และหากมีอาการมากอาจถึงขั้นอาเจียนได้

ยาแก้เมารถหรือไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) จึงเป็นยาสามัญที่อยากแนะนำให้ทุกคนพกติดตัวไว้ ควรรับประทานยาไดเมนไฮดรีเนตตั้งแต่ก่อนมีอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นผู้ที่มักเมารถอยู่แล้วเป็นประจำ

ยานี้ค่อนข้างปลอดภัย คนท้องและเด็กก็สามารถรับประทานได้ สำหรับผู้ใหญ่ให้รับประทานยาขนาด 50 มิลลิกรัม 1 เม็ด อย่างน้อย 30 นาทีก่อนการเดินทาง โดยเด็กอายุ 2-5 ปี ให้รับประทาน ¼ เม็ด (12.5 มิลลิกรัม) และเด็กอายุ 6-12 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ให้รับประทาน ½-1 เม็ด แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 300 มิลลิกรัม/วัน

อย่างไรก็ตาม ยาไดเมนไฮดริเนตมีผลข้างเคียงทำให้ง่วง จึงควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง ส่วนยาแก้เมารถชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอนเป็นสูตรผสมที่มีจำหน่ายในต่างประเทศ ไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

3. ยาแก้ท้องเสีย เช่น คาร์บอน (Carbon) และเกลือแร่

สำหรับหลายคน การเดินทางไปท่องเที่ยวต่างถิ่นนั้นมีความสนุกอยู่ตรงที่ทำให้ได้ไปเห็น ไปลอง ไป “กิน” อะไรแปลกใหม่ ไม่เหมือนกับที่ตัวเองคุ้นเคย แต่ของเหล่านั้นไม่แน่ว่าจะสะอาดถูกสุขอนามัยเสมอไป

ยิ่งถ้าไปเที่ยวช่วงอากาศร้อนด้วยแล้ว เชื้อโรคยิ่งเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การลองของแปลกจึงทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

ยาถ่าน หรือ ยาคาร์บอน (Carbon) เป็นสิ่งที่ควรติดตัวไว้สำหรับกรณีแบบนี้ เพราะมันจะช่วยดูดซับสารพิษ ทำให้อาการท้องเสียบรรเทาลงได้

ในผู้ใหญ่ ให้รับประทานยาคาร์บอน 1-2 เม็ด หากอาการยังไม่ดีขึ้น สามารถรับประทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ส่วนในเด็ก ให้รับประทานเพียง ½-1 เม็ด คนท้องก็สามารถรับประทานได้ แต่ควรเว้นระยะห่าง 2 ชั่วโมง จากการรับประทานยาชนิดอื่น เช่น ยาฆ่าเชื้อ เพื่อไม่ให้คาร์บอนไปดูดซึมยาดังกล่าว ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยพบว่า การรับประทานยาคาร์บอนก่อนการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดหรือปรุงไม่สุก ไม่มีผลในการป้องกันอาการท้องเสีย ดังนั้นจึงกินยาดักไว้ก่อนเกิดอาการไม่ได้

หากท้องเสียไปแล้ว การละลายผงเกลือแร่ดื่มสามารถช่วยเสริมแร่ธาตุที่ร่างกายสูญเสียไปได้ โดยควรค่อยๆ จิบ ไม่ดื่มรวดเดียวหมด เนื่องจากอาจทำให้ถ่ายเหลวเป็นน้ำเพิ่มขึ้น 

4. ยาลดกรด แก้ท้องอืด

นอกจากเรื่องความสะอาดของอาหาร การรับประทานอาหารปริมาณมากกว่าที่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้องได้ ดังนั้นจึงควรพกยาลดกรด แก้ท้องอืดเผื่อเอาไว้ ตัวอย่างยาและวิธีใช้มีดังนี้

  • ยาลดกรด เช่น โอมีพาโซล (Omeprazole) ให้รับประทาน 1 เม็ด ก่อนอาหารเช้าและเย็น
  • ยาธาตุน้ำขาวขับลม ประกอบด้วยตัวยาฟีนิลซาลิไซเลต (Phenyl Salicylate หรือ Salol) เอนีสออยล์ (Anise Oil) และเมนทอล (Menthol) ผู้ใหญ่ให้รับประทาน 1-2 ช้อนโต๊ะ ส่วนเด็กให้รับประทาน ½-1 ช้อนโต๊ะ หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น
  • ยาขับลม แก้ท้องอืด ชนิดเม็ด เช่น ไซเมทิโคน (Simethicone) เป็นยาบรรเทาอาการจุกเสียดอันเนื่องมาจากแก๊สที่มีปริมาณมากเกินไป โดยผู้ใหญ่ให้รับประทาน 1 เม็ด ส่วนเด็กให้รับประทาน ½-1 เม็ด หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น โดยต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อให้ตัวยามีพื้นที่ผิวในการดูดซับแก๊สได้ดีขึ้น

5. ยาแก้แพ้

คนที่มีอาการแพ้ง่ายหรือเป็นโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว เวลาไปเที่ยวอาจไปสัมผัสสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่นควัน อาหารทะเล ทำให้มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล หรือเกิดผื่นคัน อาการดังกล่าวสามารถบรรเทาลงได้ด้วย

ตัวอย่าง

ในผู้ใหญ่ให้รับประทาน 1 เม็ด

ในเด็กใช้ ½-1 เม็ด หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น

ยาแก้แพ้ชนิดง่วงมีประสิทธิภาพในการลดอาการแพ้ได้ดีกว่ายาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงเล็กน้อย และช่วยให้หลับได้ง่าย ผู้ป่วยจึงไม่รู้สึกถึงอาการแพ้ในขณะที่หลับ

แต่ยาออกฤทธิ์สั้นกว่า ชนิดไม่ง่วง จึงต้องรับประทานวันละ 3 เวลา เพื่อให้ควบคุมอาการได้ทั้งวัน แต่เนื่องจากฤทธิ์ยาส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะ ดังนั้นเมื่อซื้อยาทุกครั้งจึงควรสอบถามและขอคำแนะนำจากเภสัชกรให้ชัดเจน

  • ชนิดไม่ง่วง เช่น เซตเทอร์ริซีน (Ceterizine) ลอร์ลาทาดีน (Lorlatadine) และเฟโซเฟเนดีน (Fexofenedine) ในผู้ใหญ่ให้รับประทาน 1 เม็ด ส่วนในเด็กให้รับประทาน ½-1 เม็ด หลังอาหารเช้า และหากมีอาการอีกให้กินซ้ำช่วงหัวค่ำ
  • ชนิดง่วง เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) และไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)    

6. ยาประกอบชุดทำแผล

ใครชอบเที่ยวสไตล์แอดเวนเจอร์ บุกป่า ลุยทุ่ง เข้าถ้ำ จะรู้ว่าการเกิดอุบัติเหตุลื่นหกล้มหรือเป็นแผลถลอกนั้นเกิดขึ้นได้ประจำ แต่ไม่ควรละเลย หรือให้มีรอยแผลกลับมาเฉยๆ ไม่ได้รักษา

ควรพกติดน้ำเกลือและแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อเอาไว้ใช้ทำความสะอาดแผล ช่วยในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ การทำความสะอาดแผลนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

วิธีใช้คือ หากเกิดบาดแผลเปิดให้ใช้น้ำเกลือล้างบาดแผลก่อน 2-3 รอบ จนแผลสะอาด จากนั้นจึงใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบ ๆ บริเวณบาดแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ ควรติดยาเบตาดีน (Betadine) พลาสเตอร์ หรือผ้าก๊อซเอาไว้ปิดแผลหลังทำความสะอาดด้วย เวลาเดินแผลจะได้ไม่ชนสิ่งของที่อาจทำให้แผลฉีกรุนแรงขึ้นได้

น้ำเกลือ แอลกอฮอล์ และยาเบตาดีน ควรเก็บในที่ร่ม ไม่ควรสัมผัสแสงโดยตรง และต้องดูวันหมดอายุก่อนใช้ทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการใช้ยาหมดอายุ

7. ยาดม

บางที่เที่ยวคนเยอะ โดยเฉพาะหากไปพร้อมๆ กันอย่างช่วงเทศกาล ยิ่งถ้าประกอบเข้ากับอากาศร้อนๆ อาจทำให้บางคนมีอาการหน้ามืดเป็นลมได้

ยาดมซึ่งมีส่วนประกอบของเมนทอล การบูร พิมเสน มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสมองและกระตุ้นระบบการหายใจ เมื่อสูดดมเข้าไปจะทำให้ร่างกายตื่นตัว รู้สึกสดชื่นขึ้น จึงช่วยบรรเทาอาการหน้ามืดวิงเวียนเหล่านี้ได้ดี   

8. ยาหม่อง

ยาหม่องเป็นอีกไอเท็มหนึ่งที่อยากแนะนำให้มีพกติดไว้ เพื่อบรรเทาอาหารเมื่อมีแมลงสัตว์กัดต่อย เกิดตุ่มคัน เล็กๆ น้อยๆ ยาหม่องมีส่วนประกอบเป็นสารสกัดจากสมุนไพรหลายชนิด เช่น เมนทอล พิมเสน การบูร น้ำมันระกำ น้ำมันยูคาลิปตัส เหง้าข่า น้ำมันสะระแหน่ ฯลฯ

เมนทอล พิมเสน และสมุนไพรหลายชนิดมีสรรพคุณช่วยให้ผิวหนังรู้สึกเย็นหรือร้อนและชา จึงช่วยลดอาการคันหรือระคายเคืองจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้

ยาหม่องบางสูตรอาจใส่สารเมทิลซาลิไซเลต (Methyl Salicylate) เพื่อให้มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สารเมทิลซาลิไซเลตใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรงเท่านั้น หากมีอาการมากควรไปพบแพทย์   

9. ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบ

บางที่ต้องเดินเยอะ ขึ้นทางลาดชัน หรือมีกิจกรรมให้เคลื่อนไหวอยู่ตลอด จนรู้ตัวอีกทีอาจปวดก็ล้าไปทั้งตัวแล้ว สิ่งที่จะช่วยได้คือ ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมีทั้งชนิดนวดแก้ปวดและชนิดรับประทาน

  • ยาชนิดนวดแก้ปวด เช่น ยานวดที่มีส่วนผสมของไดโคลฟีแน็ก (Diclofenac) 1% ได้แก่ Voltaren® Emulgel, Difelene Gel ยานวดที่มีส่วนปสมของแคปไซซิน (Casaisin) 0.0125% ได้แก่ Capsika® Gel เป็นต้น
  • ยาที่มีส่วนผสมของไดโคลฟีแน็กชนิดรับประทาน เช่น Voltaren®, Amminac®, Bufenac®, Difelene® ผู้ใหญ่ให้รับประทาน 25-50 มิลลิกรัม หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ยาในกลุ่มนี้ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หากมีความจำเป็นควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง นอกจากนี้ควรระมัดระวังการใช้ยาไดโคลฟีแน็กในผู้ป่วยที่แพ้ยาลดอักเสบชนิดที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ หรืออาจเรียกว่ายากลุ่ม NSAIDs (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs) ด้วย

10. ยาสำหรับโรคประจำตัว

ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีอาการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หอบหืด ต้องไม่ลืมพกยาของตัวเอง และเพราะเป็นช่วงหยุดยาวของเทศกาล

ดังนั้นจะไปเที่ยวไหนจึงควรคำนวณให้เรียบร้อยว่ายาของคุณจะมีให้ใช้ต่อเนื่องเนื่องจนจบทริป ป้องกันอาการกำเริบจากการขาดยา และทำให้การรักษาไม่ขาดตอน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, www.thaicrudedrug.com. Access online: 10 May 2014.
Clinical Infectious Diseases, https://academic.oup.com/cid/article/41/Supplement_8/S557/570068, 01 December 2005.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป