กระดูกข้อมือหัก

เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
กระดูกข้อมือหัก

ในที่นี้หมายถึง การหักของกระดูกปลายแขนท่อนนอก (ท่อนด้านหัวแม่มือ หรือ colts’’ fracture) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อย ตำแหน่งหนึ่ง แต่อาจจะพบปลายแขนหักได้พร้อมกัน ทั้งกระดูกปลายแขนท่อนนอกและท่อนใน (ท่อนด้านนิ้วก้อย) ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรง

พบกระดูกข้อมือหักได้ในทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็ก นักกีฬา และผู้สูงอายุ เพราะเป้นกลุ่มที่มีโอกาสล้มได้สูง จากการล้มไปด้านหน้าและใช้มือช่วยยัน ส่งผลให้น้ำหนักตัวกระแทกลงบนข้อมือ กระดูกข้อมือรับแรงกดไม่ไหว จึงร้าวหรือหัก ขึ้นกับความรุนแรงของการล้มและน้ำหนักตัวของผู้ล้ม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกข้อมือหัก

ได้แก่ ภาวะกระดูกบาง ภาวะกระดูกพรุน ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป อุบัติเหตุทางรถยนต์ ลื่นล้มไปด้านหน้า ตกบันได

อาการของกระดูกข้อมือหัก

เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในเรื่องกระดูกหักที่สำคัญ ได้แก่ เจ็บมากบริเวณข้อมือด้านที่หักทันที ข้อมือผิดรูป ใช้มือไม่ได้ บวม อาจฟกช้ำ

การวินิจฉัยและแนวทางการักษา

แพทย์วินิจฉัยกระดูกข้อมือหักด้วยวิธีการเช่นเดียวกับการวินิจฉัยกระดูกหักทั่วไป (อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อกระดูกหัก)

ผลข้างเคียงและความรุนแรง

กระดูกข้อมือหักไม่ทำให้เสียชีวิต แต่คุณภาพชีวิตจะลดลง เนื่องจากมือหรอแขนด้านที่หักใช้งานไม่ได้ และผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ  อาการปวดข้อมือด้านที่กระดูกหักเรื้อรัง กระดูกข้อมือที่หักอักเสบเรื้อรัง ข้อมือด้านที่หักยึด ขยับเขยื้อนได้ยาก ไม่เป็นปกติ

โดยทั่วไป กว่ากระดูกข้อมือจะเริ่มติดจนพอเคลื่อนไหวหรือถอดเฝือกได้ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ แต่ต้องรอถึงอย่างน้อย 6 เดือน จึงจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ

การดูแลตนเอง การพบแพทย์ และการป้องกันกระดูกข้อมือหัก

เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องกระดูกหักในภาพรวม (อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อนั้น)

 


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Colles fracture: Causes, symptoms, and diagnosis. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318366)
Stabilization and treatment of Colles’ fractures in elderly patients. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3010169/)
Broken Wrist (Colles Fracture): Symptoms, Treatment, Recovery. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/colles-fracture#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป