November 12, 2018 02:07
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
1. ในเรื่องของสภาวะอารมร์ที่แปรปรวน อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยค่ะ เช่น อารมณ์แปรปรวนตามรอบเดือน จากความเครียดความวิตกกังวล จากภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
เบื้องต้นทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตัวเอง ดูก่อนก็ได้ค่ะ โดยให้สำรวจอาการภายในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมารวมวันนี้มีอาการเหล่านี้มากน้อยเพียงใด โดยให้คะแนนแต่ละอาการดังนี้
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มี 1-7วัน 1 คะแนน
มากกว่า 7 วัน 2 คะแนน
ทุกวัน 3 คะแนน
ลักษณะอาการในช่วง 2 สัปดาห์
1. เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากจะทำอะไร
2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า ท้อแท้
3. หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากเกินไป
4. เหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย
5. เบื่ออาหาร หรือ กินได้มาก กินจุบจิบตลอดเวลา
6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าล้มเหลว หรือคิดว่าทำให้ตนเองและครอบครัวต้องผิดหวัง
7. ขาดสมาธิ เหม่อลอย ขี้ลืมบ่อย
8. ทำอะไรช้าลง กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้
9. คิดทำร้ายตัวเอง อยากตาย หรือตายไปจะดีกว่า
รวมคะแนน หากคะแนนรวมมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป ก็อาจเข้าข่ายโรคซึมเศร้าได้ค่ะ ซึ่งควรพบจิตแพทยื ประเมินอาการเพิ่มเติม รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมนะคะ
2.เรื่องของอาการปวดท้องน้อย หากมีอาการปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะไม่สุด ปวดฉี่บ่อยๆแต่ฉี่ไม่ออก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการอั้นฉี่บ่อยๆ ทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ค่ะ ในกรณีนี้แนะนำพบแพทย์ตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมจะดีที่สุดนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
1. มีความรู้สึกว่าไม่ค่อยมีสมาธิหรือสติในการทำอะไรคะ หนูมีอาการอยากร้องไห้แบบดื้อ คืออยู่ดีๆก็อยากร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล แล้วสักพักหนูก็อารมณ์ดี ใช้ชิวิตเรื่อยเปื่อยดำเนินชีวิตไปอย่างช้าๆ ไม่ทราบว่าหนูเป็นอะไรคะ? 2. หนูมีอาการปวดตรงท้องน้อยอยู่เฉยๆก็มีอาการ ปวดแบบหน่วงๆ ร่วมด้วยกับหนูเป็นคนกลั้นปัสสาวะอยู่บ่อยจนทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และช่วงนี้ปวดปัสสาวะถี่แต่ปัสสาวะไม่ค่อยจะไหล ไม่ทราบว่าหนูเป็นอะไรคะ?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)