April 20, 2017 18:47
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
อาการมือเท้าชาสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเกิดจากการนั่งหรือยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ทั่วถึง อาจเกิดจากมีระดับแร่ธาตุและวิตามินผิดปกติ หรืออาจมีสาเหตุจากโรคบางโรค เช่น โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท งูสวัด เบาหวาน ปวดศีรษะไมเกรน ลมชัก หลอดเลือดสมอง และ Raynaud's phenomenon เป็นต้น นอกจากนี้อาการชายังเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อยจากการใช้ยาเคมีบำบัดหรือฉายรังสี
ในกรณีที่รู้สาเหตุของอาการมือเท้าชา จะรักษาตามสาเหตุนั้นๆ เช่น มือเท้าชาที่เกิดจากโรคเบาหวาน โดยอาการชานี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่แสดงถึงภาวะของโรคเบาหวานที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานหากจะบรรเทาหรือรักษาอาการชาก็ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมแต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาสาเหตุของมือเท้าชาได้ ควรปรึกษาแพทย์ถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เพื่อหาสาเหตุของอาการชาและทำการรักษาหรือป้องกัน เพราะหากเกิดอาการชาบ่อยขึ้นหรือมีอาการชามากขึ้นแล้วปล่อยทิ้งไว้ โดยไม่หาสาเหตุและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นจนอาจไม่มีความรู้สึกเลย ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผลได้ง่ายขึ้น เช่น หากเท้าเหยียบตะปูหรือมือถูกของร้อน จะไม่ชักเท้าหนีจากตะปูหรือชักมือหนีจากของร้อน ทำให้เท้าและมือเป็นแผลได้ง่าย ซึ่งต่างจากคนปกติที่จะมีปฏิกิริยาการตอบสนองที่รวดเร็ว โดยจะรีบชักเท้าหนีจากตะปูหรือชักมือหนีจากของร้อนทันที ดังนั้นจึงต้องระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผลจากของมีคม ของร้อนหรืออันตรายจากสิ่งอื่น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
เจริญ คำสิงห์ (พญว.)
อาการชาปลายนิ้ว เป็นอาการเหน็บชาที่ทำให้ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกบริเวณนิ้วมือ อาจทำให้นิ้วมือและมือไม่มีแรงหยิบจับสิ่งของ เกิดขึ้นกับมือเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง และในบางครั้งอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย อย่างรู้สึกเจ็บแปลบคล้ายถูกเข็มตำที่ปลายนิ้ว หรือปวดแสบปวดร้อนที่ปลายนิ้ว โดยอาการเหล่านี้อาจเกิดจากภาวะเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงมือ หรือเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากสมองเพื่อควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของมือและนิ้วมือ
อาการสำคัญที่ควรไปพบแพทย์
หากผู้ป่วยมีอาการชาปลายนิ้ว ควรสังเกตลักษณะอาการที่เกิดขึ้น หรืออาการที่เกิดร่วมกับชาปลายนิ้ว แล้วไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาหากมีภาวะอาการดังต่อไปนี้
อาการชาลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย หรือลามไปทั่วร่างกาย
ชาปลายนิ้วเป็นเวลานานแล้วอาการไม่หายไป หรือมีอาการหนักขึ้น
มีอาการชาปลายนิ้วบ่อย ๆ แบบเป็น ๆ หาย ๆ
มีอาการชาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ชานิ้วเพียงนิ้วเดียว
อาการเหล่านั้นรบกวนการทำกิจกรรมและการเคลื่อนไหวร่างกาย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ชาปลายนิ้วมือ. เป์นระยะๆคับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)