การฝังเข็ม (Acupuncture) เป็นศาสตร์หนึ่งที่ช่วยในการรักษาโรค ป้องกันโรค ฟื้นฟู และสร้างเสริมสุขภาพตามหลักของแพทย์แผนจีนที่มีมานานกว่า 4,000 ปี และมีการเผยแพร่ไปทั่วโลก ทั้งในยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายร้อยปี
จนในปัจจุบันการรักษาโรคด้วยการฝังเข็มได้เป็นที่ยอมรับจากวงการแพทย์ทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลกหรือ WHO (World Health Organization) ได้ให้การรับรองผลการรักษาโรคด้วยวิธีนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนเซี่ยงไฮ้ ได้จัดอบรมแพทย์ฝังเข็มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปัจจุบัน มีจำนวนกว่า 500 คนทั่วประเทศ
การฝังเข็มคืออะไร?
การฝังเข็ม คือ การใช้เข็มที่มีขนาดบางและเล็ก ประมาณ 0.2 มิลลิเมตร หรือเล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไปประมาณ 4-6 เท่า ฝังตามจุดต่างๆ บนเส้นลมปราณ (Meridian) ของร่างกาย ทำให้ให้ระบบลมปราณหมุนเวียนดีขึ้น และช่วยปรับสมดุลของร่างกาย
มีงานวิจัยพบว่า การฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทที่ช่วยระงับการปวด ลดการอักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่มีการอักเสบ
จุดฝังเข็มในร่างกายอยู่ที่ใดบ้าง?
ตามทฤษฎีแพทย์แผนจีน ในร่างกายจะมีเส้นลมปราณใหญ่อยู่ 14 เส้น ซึ่งมีจุดที่สามารถฝังเข็มได้ประมาณเกือบ 800 จุด
อย่างไรก็ดี จุดที่มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนในเอกสารตำราแพทย์จีนโบราณและในเอกสารอ้างอิงขององค์การอนามัยโลก (WHO) มีอยู่ด้วยกันจำนวน 349 จุด ซึ่งการดำเนินการรักษาหรือฝังเข็มในแต่ละจุดจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและอาการของโรคที่ต้องการรักษา
ประโยชน์ของการฝังเข็ม
การฝังเข็มเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารต่างๆ ในระบบประสาท ฮอร์โมน และกลไกของร่างกายโดยรวม
ดูแลสุขภาพด้วยแพทย์แผนจีนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 77 บาท ลดสูงสุด 76%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทั้งยังช่วยทำให้เกิดฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
นอกจากนี้การฝังเข็มยังเป็นการควบคุมเส้นเลือดและการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย ทั้งยังช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ซึ่งจากกลไกเหล่านี้ สามารถจำแนกประโยชน์ของการฝังเข็มได้ ดังต่อไปนี้
การฝังเข็มเพื่อรักษาโรค
จากทฤษฎีแพทย์จีนเชื่อว่ามนุษย์และทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติจะประกอบด้วยพลังธรรมชาติ 2 ประการ ได้แก่ หยินและหยาง เมื่อใดที่หยิน หยาง ในตัวเสียสมดุลก็อาจเกิดภาวะเจ็บป่วยหรือเป็นโรคต่างๆ ได้ การฝังเข็มรักษาโรคจึงเป็นรูปแบบการรักษาโรคที่ช่วยรักษาสมดุลของร่างกายและการไหลเวียดของเลือด
โดยในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยการใช้การฝังเข็มในการรักษาโรค ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังได้ประกาศยืนยันว่าโรคที่สามารถรักษาด้วยวิธีการฝังเข็มได้ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มที่ได้ผลเด่นชัด
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่
- กลุ่มโรคเกี่ยวกับอาการปวด เช่น ปวดต้นคอเรื้อรัง หัวไหล่ ข้อศอก สันหลัง ปวดเอว ปวดหัวเข่า ปวดจากการเคล็ดขัดยอก ปวดประจำเดือน ปวดนิ่วในถุงน้ำดี ปวดศีรษะ ปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า ปวดหลัง การผ่าตัด ปวดไมเกรน ตลอดจนอาการซึมเศร้า เป็นต้น
- กลุ่มโรคอาการทั่วไป อัมพฤกษ์ และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ งูสวัด เม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ สมรรถภาพทางเพศถดถอย ภูมิแพ้ หอบหืด หวาดวิตกกังวล นอนไม่หลับ ขากรรไกรค้าง แพ้ท้อง คลื่นเหียรอาเจียน การเลิกเหล้าบุหรี่ ยาเสพติด
2. การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มที่ให้ผลดี
ได้แก่ การฝังเข็มรักษาอาการเจ็บเฉียบพลันหรือเรื้อรังในลำคอ (ต่อมทอนซิล) อาการวิงเวียนศีรษะสาเหตุจากน้ำในช่องหู สายตาสั้นในเด็ก เด็กในครรภ์มารดาอยู่ในท่าขวาง (ทำให้คลอดยาก) อาการผิดปกติของลำไส้เมื่อเกิดความเครียด
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
3. การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มที่ได้ผล
ได้แก่ การฝังเข็มรักษาท้องผูก ท้องเดิน การมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย กระเพาะอาหารเลื่อนต่ำ เรอบ่อย ปัสสาวะไม่รู้ตัว ไม่คล่อง ไซนัสอักเสบ หญิงหลังคลอดมีน้ำนมไม่พอ
การฝังเข็มเพื่อความงาม
นอกเหนือจากการักษาโรคแล้ว ในปัจจุบันยังมีการศึกษาและพัฒนาศาสตร์การฝังเข็มมาช่วยในเรื่องการดูแลความงาม
เนื่องจากการปัญหาสุขภาพเรื่องความงามโดยส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมน เลือดลมในร่ายกาย สภาวะอารมณ์ ตลอดจนความเครียด ซึ่งล้วนก่อเกิดปัญหาทางด้านผิวพรรณในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิว ฝ้า กระ หรือรอยเหี่ยวย่น
ดังนั้นในกรณีที่มีระดับฮอร์โมนมาเกินไป การฝังเข็มจะช่วยในการปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในระดับกลาง รักษาความสมดุลของร่างกายให้ดีขึ้นได้ หรือถ้าเกิดสภาวะขาด ก็สามารถใช้การฝังช่วยในการกระตุ้นร่างกายสามารถให้สร้างเสริมการทำงานของระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น
พูดง่ายๆ คือ เมื่อร่างกายเรามีความสมดุลในเรื่องของเลือด เกลือแร่ และของฮอร์โมนต่างๆ แล้ว ก็จะได้ผลลัพธ์ของผิวพรรณที่มีสุขภาพดีนั่นเอง
ใครบ้างที่ควรระวังเรื่องการฝังเข็ม?
ถึงแม้ว่าการฝังเข็มจะเป็นรูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพที่ปลอดภัย เนื่องจากเข็มที่ใช้การรักษาไม่มีการเคลือบยาหรือสารใดๆ จึงไม่มีความเสี่ยงเรื่องการใช้เกินขนาด (Overdose) หรือการเกิดพิษ (Intoxication) ตลอดจนผู้ที่มีอาการแพ้ยา
อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่ไม่ควรเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม ได้แก่
- ผู้ป่วยที่หวาดกลัวการฝังเข็มมากเกินไป
- ผู้ป่วยที่เหน็ดเหนื่อยหลังออกกำลังกายหนัก เนื่องจากร่างกายอาจอยู่ในสภาวะอ่อนเพลีย หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตไม่คงที่
- สตรีมีครรภ์ หากต้องการฝังเข็มจริงๆ ให้แจ้งแพทย์เพื่อเลี่ยงบางจุดที่อาจทำให้มดลูกบีบรัดตัว
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย หรือได้รับยาละลายลิ่มเลือด
- ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ติดอยู่ในร่างกาย เนื่องจากการฝังเข็มในปัจจุบันอาจมีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเกิดอันตรายได้
- ผู้ป่วยที่มีเลือดออกง่าย โรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ในสภาวะดังกล่าวนี้ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ จากการฝังเข็ม เช่น เป็นลม เลือดออกหรือมีรอยช้ำที่จุดฝังเข็ม และอาจเกิดการติดเชื้อได้
- ทารกเด็กเล็ก ผู้ป่วยทางจิตเวช หรือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาได้
ค่าใช้จ่ายในการฝังเข็ม
ปัจจุบันในประเทศไทย มีการให้บริการการรักษาด้วยการฝังเข็มตามโรงพยาบาล และคลินิกต่างๆ มากขึ้น
ค่าใช้จ่ายในการฝังเข็มจะขึ้นอยู่กับโรคหรืออาการที่ต้องการรักษาและสถานพยาบาลนั้นๆ เช่น การฝังเข็มหนึ่งครั้ง (ซึ่งอาจมีการฝังหลายจุด) จะอยู่ที่ประมาณ 500-1,000 บาท หรือการฝังเข็มแบบโปรแกรมหรือคอร์ส จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 3,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้ง
ถึงแม้ว่าการฝังเข็มจะสามารถช่วยดูแลรักษาสุขภาพได้หลากหลายด้าน มุ่งเน้นการรักษาสมดุลของร่างกายตามหลักการแพทย์แผนจีน แต่เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า การฝังเข็มจึงควรดำเนินควบคู่ไปกับการรักษาในรูปแบบอื่นๆ หรือการปรับรูปแบบการใช้ชีวิต
ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจการรักษาในรูปแบบฝังเข็ม ควรศึกษาและเลือกสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้การดำเนินการรักษาเป็นไปอย่างปลอดภัย
บทความที่เกี่ยวข้อง
รีวิว ฝังเข็มออฟฟิศซินโดรม กระตุ้นไฟฟ้า ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิว ฝังเข็ม Office Syndrome กระตุ้นไฟฟ้า และโคมไฟอินฟาเรด ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิวฝังเข็ม บรรเทาภูมิแพ้ ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall
รีวิวทุกขั้นตอน ฝังเข็ม ครอบแก้ว ติดหมุดใบหู ที่ Mandarin Clinic | HDmall
รีวิวฝังเข็ม รักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่ สวนกวางตุ้งคลินิก | HDmall
รีวิวการรักษาอาการไหล่ติด ด้วยวิธีผสมผสาน 3 ศาสตร์ กายภาพบำบัด นวดคลายกล้ามเนื้อ และฝังเข็ม ที่ ดวงกมลคลินิกกายภาพบำบัด และการแพทย์แผนจีน | HDmall