สแกนสิว : คู่มือปราบสิวฉบับ TIY

รู้จักและเรียกชื่อสิวให้ถูกประเภท เพื่อใช้ยารักษาอย่างถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
สแกนสิว : คู่มือปราบสิวฉบับ TIY

สิว” เมื่อเกิดขึ้นกับใคร ก็มักทำให้คนๆ นั้นขาดความมั่นใจ และเชื่อว่าหลายๆ คนก็เคยมี “ประสบการณ์สิว” เหมือนกัน ดังนั้น HonestDocs ก็มีวิธีการปราบสิวฉบับ TIY หรือ Treat it yourself มาแนะนำให้ลองทำตามกัน จะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามพร้อมๆ กันเลย

ประเภทของสิว

นอกจากใบหน้าแล้ว สิวยังสามารถพบได้ที่ คอ อก หลัง ไหล่ ต้นแขน หรือก้นด้วย ส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณที่มีต่อมไขมันมากๆ  ซึ่งการรักษาสิวอย่างถูกต้องและเหมาะสม เราอ้างอิงจาก GUIDELINE MANAGEMENT OF ACNE 2016 ของ American Academy of Dermatology จะเป็นการรักษาตามระดับความรุนแรงของสิว ซึ่งพิจารณาความรุนแรงจากจำนวนของสิวอักเสบที่พบ ดังนั้น  เรามาทำความเข้าใจกับสิวประเภทต่างๆ กันก่อนดีกว่า 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สิว แบ่งง่ายๆ เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สิวอุดตันหรือสิวไม่อักเสบ (กดไม่เจ็บ) และ สิวอักเสบ (กดเจ็บ) ซึ่งแบ่งต่อเป็นประเภทย่อยๆ ได้ดังนี้

ประเภท ลักษณะ ตัวอย่าง
สิวไม่อักเสบ (สิวอุดตัน)

สิวหัวขาว / สิวหัวปิด

(White head / closed comedones)

ตุ่มนูนเล็ก ๆ หัวสีขาว   สิว-สิวหัวขาว

สิวหัวดำ / สิวหัวเปิด

(Black head / open comedones)

ตุ่มนูนเล็ก ๆ มีจุดดำอยู่ตรงกลาง   สิว-สิวหัวดำ
สิวอักเสบ

ตุ่มนูนแดง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาสิว ลดรอยสิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 93%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

(papule)

ตุ่มนูน สีแดง ขนาดเล็ก   สิว-ตุ่มนูนแดง

ตุ่มหนอง

(pustule)

ตุ่มหนอง มีหลายขนาด

อาจอยู่ตื้นหรือลึกก็ได้

  สิว-ตุ่มหนอง

ตุ่มแดงก้อนลึก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาสิว ลดรอยสิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 93%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

(nodule)

เป็นก้อนสีแดง ขนาดใหญ่

อาจพบรวมเป็นกลุ่มติดกัน

  สิว-ตุ่มแดงก้อนลึก

ถุงใต้ผิวหนัง

(cyst)

เป็นก้อนนูน แดง นิ่ม

มีถุงหนองขนาดใหญ่อยู่ใต้ผิวหนัง

อาจรวมกันเป็นขนาดใหญ่มาก ๆ

  สิว-ถุงใต้ผิวหนัง

เมื่อเข้าใจลักษณะของสิวแต่ละประเภทแล้ว ก็มาเริ่ม “ภารกิจพิชิตสิว” ขั้นแรกกันดีกว่า ด้วยการหาระดับความรุนแรงของสิวบนใบหน้าของเรากันเลย

ระดับความรุนแรงของสิว

ระดับความรุนแรง

จำนวนตุ่มนูนแดงและตุ่มหนอง

(papules and pustules)

จำนวนตุ่มแดงก้อนลึก/ถุงใต้ผิวหนัง

(nodules/cysts)

สิวเล็กน้อย

(mild acne)

ไม่เกิน 10 จุด ไม่มี

สิวปานกลาง

(moderate acne)

มากกว่า 10 จุด น้อยกว่า 5 จุด

สิวรุนแรง

(severe acne)

มีจำนวนมาก มากกว่า 5 จุด

 เมื่อทราบระดับความรุนแรงของสิวที่เป็นอยู่แล้ว ต่อไป คือ วิธีการรักษา

วิธีการรักษา

  1. สิวเล็กน้อย (mild acne)

จะรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่ โดยมีทางเลือกในการรักษา ดังนี้

  • ใช้ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) อย่างเดียว
  • ใช้ยาทาวิตามินเอ (Topical retinoid) อย่างเดียว
  • ใช้ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) + ยาปฏิชีวนะชนิดทา (Topical antibiotics)
  • ใช้ยาทาวิตามินเอ (Topical retinoid) + ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide)
  • ใช้ยาทาวิตามินเอ (Topical retinoid) + ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) + ยาปฏิชีวนะชนิดทา (Topical antibiotics)

การเลือกการรักษาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคน โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น จำนวนสิวอุดตันและสิวอักเสบ ข้อจำกัดในการใช้ยา (เช่น การแพ้ยา การตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร) งบประมาณ ประวัติการรักษาและการตอบสนองต่อการรักษา เป็นต้น 

หากคุณยังไม่รู้ว่าจะพิจารณาอย่างไร คุณสามารถใช้การประเมินเบื้องต้นต่อไปนี้ เพื่อเลือกระดับการรักษาได้ ดังนี้

การประเมินเบื้องต้นเพื่อเลือกใช้ยารักษาสิวระดับเล็กน้อย (Mild acne)

สิว-การประเมิน

 หมายเหตุ :

  • BPO หมายถึง Benzoyl peroxide (ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์)
  • TR หมายถึง Topical retinoid (ยาทาวิตามินเอ)
  • TA หมายถึง Topical antibiotics (ยาปฏิชีวนะชนิดทา) 
ข้อมูลเพิ่มเติม
  • Topical retinoid (ยาทาวิตามินเอ) ถือเป็นทางเลือกแรกในการรักษาสิวระดับเล็กน้อย ในผู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในการใช้ยานี้ โดยอาจพิจารณาใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกับยาตัวอื่นตามความเหมาะสม แต่ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกที่ใช้ อาจมีสิวเห่อมากขึ้น เพราะยาจะขับสิวอุดตันออกมา ไม่ต้องตกใจหรือหยุดใช้ยา
  • การรักษาสิวต้องอาศัยระยะเวลา ดังนั้นการประเมินว่าสูตรยาที่ใช้อยู่นั้นได้ผลหรือไม่ ต้องมีการใช้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ จึงจะพิจารณาว่าควรใช้ต่อไปจนสิวหายดี หรือเปลี่ยนยาใหม่มาใช้แทน
  • เนื่องจากบทความนี้ แนะนำการรักษาด้วยตนเองในเบื้องต้น ดังนั้น เมื่อใช้ยาไป 6-8 สัปดาห์แล้ว การรักษาสิวไม่มีแนวโน้มที่ดี แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนสูตรการรักษาที่เหมาะสม
  • เมื่อสิวหายดีแล้ว (ซึ่งอาจใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 เดือน) สามารถใช้ Topical retinoid (ยาทาวิตามินเอ) ต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้สิวเกิดใหม่ได้ค่ะ
  • นอกจากยาที่ถือเป็นตัวหลักในการรักษาสิวแล้ว การเลือกใช้เครื่องสำอาง วิตามิน และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เหมาะสม ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการรักษาได้ ซึ่งในการเลือกซื้อวิตามิน ก็ต้องเลือกที่มาจากโรงงานรับผลิตอาหารเสริมและวิตามินที่มีคุณภาพด้วย

  1. สิวปานกลาง

มีทางเลือกในการรักษา ดังนี้...

  • ใช้ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) + ยาปฏิชีวนะชนิดทา (Topical antibiotics)
  • ใช้ยาทาวิตามินเอ (Topical retinoid) + ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide)
  • ใช้ยาทาวิตามินเอ (Topical retinoid) + ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) + ยาปฏิชีวนะชนิดทา* (Topical antibiotics)
  • ใช้ยาทาวิตามินเอ (Topical retinoid) + ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) + ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน (Oral antibiotics)
  • ใช้ยาทาวิตามินเอ (Topical retinoid) + ยาทาเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) + ยาปฏิชีวนะชนิดทา* (Topical antibiotics) + ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน (Oral antibiotics)

*ยาปฏิชีวนะแบบทาที่แนะนำ คือ Erythromycin และ clindamycin เพราะจะลดการเกิดเชื้อดื้อยา 

กรณีรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น แนะนำให้พิจารณาการใช้สูตรที่ 1, 2 หรือ 3 สูตรใดสูตรหนึ่งก่อน หากผลรักษาไม่ดี (ประเมินผล เมื่อรักษาต่อเนื่องกัน 6-8 สัปดาห์แล้ว) จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน 

การรับประทานยาปฏิชีวนะ แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากมียาหลายตัวที่สามารถใช้ได้ แต่ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลด้วย จำเป็นต้องประเมินอย่างละเอียด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา มีความปลอดภัยในการใช้ และไม่เกิดปัญหาการดื้อยาตามมา

  1. สิวรุนแรง

สิวที่มีระดับความรุนแรง หมายถึง อาการค่อนข้างหนักหรือมีความซับซ้อนมาก จึงไม่เหมาะที่จะรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น อีกทั้งการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมต้องอาศัยความรู้ ความเชี่ยวชาญอย่างมากเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด จึงไม่ขอกล่าวถึงในบทความนี้ ซึ่งเน้นการรักษาเบื้องต้นด้วยตัวเองมากกว่า ดังนั้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับข้อมูลและการรักษาที่เหมาะสมจะดีที่สุด


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร, หน่วยโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุศาสตร์ รพ.รามาธิบดี, Update in acne management (https://med.mahidol.ac.th/rama...), 19 มิถุนายน 2559
ภญ.ดร.กุสาวดี เมลืองนนท์, ยารักษาสิว (http://www.pharm.tu.ac.th/pdf/...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)