การทำแท้งคือกระบวนการทางการแพทย์ที่ทำให้การตั้งครรภ์ของผู้หญิงยุติลง
โดยมีทั้งการใช้ยาเพื่อยุติการตั้งครรภ์ หรือการทำแท้งด้วยการผ่าตัด การตัดสินใจทำแท้งขึ้นอยู่กับอายุของครรภ์ ซึ่งผู้หญิงที่ประสงค์จะทำแท้งส่วนใหญ่มักสามารถเลือกวิธีการจากที่กล่าวไปข้างต้นได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบางกรณี ผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพก็อาจเป็นผู้ตัดสินใจให้มีการทำแท้งขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การทำแท้งแตกต่างจากการแท้งบุตรเองตามธรรมชาติ (หรืออุบัติเหตุ) ที่ซึ่งเป็นการยุติการตั้งครรภ์โดยไม่มีการแทรกแซงโดยตรงจากกระบวนการทางการแพทย์ใด ๆ
ทำไมจึงมีการพิจารณาให้ทำแท้ง?
- สาเหตุที่ทำให้คุณต้องตัดสินใจทำแท้งนั้นมีอยู่หลายประการ ยกตัวอย่างเช่น:
- เนื่องจากเหตุผลส่วนบุคคล (ทั้งเหตุผลการเป็นอยู่ของคุณหรือบุตรที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรือของทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณ)
- เนื่องจากการตั้งครรภ์ก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณ
- เนื่องจากทารกในครรภ์มีความเสี่ยงเกิดความผิดปรกติที่ร้ายแรงสูง
ควรทำแท้งเมื่อไร?
กฎหมายการอนุญาตให้ทำแท้งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย การทำแท้งโดยไม่มีเหตุผลทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของมารดาหรือลูกในครรภ์ หรือไม่ใช่การตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืนกระทำชำเรา จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากคุณอยู่ในเกณฑ์ข้อยกเว้นเหล่านี้และต้องการทำแท้งจริง ๆ ควรทำก่อนที่อายุครรภ์จะมีมากกว่า 20 สัปดาห์ แต่กระนั้น การทำแท้งที่เกิดขึ้นทั้งหมด (เกือบ 98% ซึ่งเป็นข้อมูลจากประเทศสก็อตแลนด์) มักเกิดขึ้นกับอายุครรภ์ก่อน 20 สัปดาห์
การทำแท้งในช่วงที่อายุครรภ์ยังน้อยจะทำให้กระบวนการง่ายดายและปลอดภัยขึ้นมาก แต่กระนั้นทางผู้ที่ตั้งครรภ์ต้องทำการพินิจพิจารณาทางเลือกให้ถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจเสียก่อนเพื่อจะได้ไม่มาเสียใจในภายหลัง
สำหรับวิธีการนับอายุครรภ์นั้นคือการนับจากวันที่คุณมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายนั่นเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ตั้งครรภ์ก็ไม่มั่นใจในวันดังกล่าวอยู่ดี ทำให้มีการใช้เทคนิคอัลตราซาวด์เข้ามาตรวจอายุของครรภ์แทน
การตัดสินใจส่วนบุคคล
การเลือกตัวเลือกทำแท้งนั้นไม่ใช่การตัดสินใจที่ง่าย ก่อนการตัดสินใจ คุณต้องทำการปรึกษาสถานการณ์กับผู้ดูแลด้านสุขภาพ สมาชิกในครอบครัว และคู่สมรสของคุณก่อน (หากมี)
ตัวคุณจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะทำแท้งหรือไม่ และคุณต้องมั่นใจว่าตนเองจะไม่หวนกลับมาเสียใจกับการตัดสินใจของตน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หากคุณเป็นผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี คุณสามารถทำแท้งได้โดยไม่ต้องผ่านการยินยอมจากผู้ปกครอง ตราบใดที่แพทย์มีความเห็นว่าการทำแท้งนั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุดต่อตัวคุณ
แต่กระนั้น ทางแพทย์ก็มองว่าคุณควรไปปรึกษาผู้ปกครองก่อนทำการตัดสินใจใด ๆ ก่อนจะดีที่สุด แต่หากคุณยังยืนกรานต้องการทำแท้ง คุณก็มีสิทธิ์ที่จะทำโดยที่ปกปิดเรื่องนี้ไว้เป็นความลับโดยไม่เกี่ยวข้องอายุของคุณ
ผู้หญิงมักมีการตอบสนองทางอารมณ์ในการทำแท้งที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้หญิงคนหนึ่งสามารถมีความรู้สึกปนเปหลายอย่างได้ หากคุณมีปัญหากับการจัดการความรู้สึกผิดชอบชั่วดีนี้ คุณควรทำการปรึกษาศูนย์บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำแท้งก่อนการตัดสินใจ
เหตุใดการทำแท้งจึงจำเป็น?
เหตุผลที่ผู้ที่ตั้งครรภ์จะทำแท้งได้ถูกระบุไว้ในกระบวนกฎหมายหมดแล้ว ซึ่งมีดังนี้:
- การตั้งครรภ์ทำให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงแต่ชีวิตของผู้ตั้งครรภ์
- การตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะสร้างการบาดเจ็บทางร่างกายหรือจิตใจของผู้ที่ตั้งครรภ์อย่างรุนแรง
- ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงจะเกิดมาพร้อมความผิดปรกติหรือพิการทางร่างกายหรือจิตใจ
ด้วยเหตุนี้ทำให้แพทย์มีความยืดหยุ่นในการทำแท้งให้ผู้หญิงอย่างมาก
แต่สำหรับการตัดสินใจทำการแท้งนั้นเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากที่สุด ซึ่งอาจส่งผลต่อปัจจัยทางสังคม ทางการเงิน และทางอารมณ์ของผู้ที่ตั้งครรภ์
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทำให้ ณ ปัจจุบันมีศูนย์บริการให้คำปรึกษา ให้ข้อมูลและคำแนะนำมากมายให้เลือกใช้ โดยศูนย์เหล่านี้มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการช่วยเหลือผู้หญิงที่กำลังทำการตัดสินใจทำแท้ง และช่วยหาตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพวกเธอ
การทำแท้งดำเนินการอย่างไร?
ก่อนการทำแท้ง
ก่อนที่คุณจะถูกส่งไปทำแท้งและก่อนการนัดหมายครั้งแรกของคุณ (บางครั้งจะใช้คำว่าการนัดประเมิน) คุณจะมีโอกาสเปิดอกพูดคุยสถานการณ์ของคุณ และคุณจะได้รับคำชี้แจงถึงวิธีการต่าง ๆ ของการทำแท้งที่เหมาะสมกับอายุครรภ์ของคุณ ณ ตอนนั้น รวมไปถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำแท้ง
แพทย์หรือพยาบาลจะตรวจสอบประวัติการรักษาที่ผ่านมาของคุณเพื่อให้มั่นใจว่าประเภทการทำแท้งที่จะดำเนินการขึ้นนั้นเหมาะกับคุณจริงหรือไม่ ในช่วงนัดหมายประเมินจะมีกระบวนการเกิดขึ้นมากมายอย่างเช่น:
- การสแกนอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจสอบอายุครรภ์ของคุณ (ซึ่งอาจเป็นการตรวจภายในผ่านช่องคลอดหรือช่วงท้อง)
- การตรวจเลือด เพื่อตรวจกรุ๊ปเลือดของคุณและเพื่อหาภาวะโลหิตจาง
- การตรวจสอบหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ
- เพื่อเป็นข้อมูลและคำแนะนำการคุมกำเนิดหลังจากการทำแท้ง
- และท้ายที่สุด ก่อนจะเริ่มกระบวนการ คุณจะต้องทำการลงชื่อยืนยันการตัดสินใจของคุณ
- กระบวนการทำแท้งมีอยู่หลากหลายวิธี ซึ่งประเภทที่จะใช้กับคุณจะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ของคุณเอง
การทำแท้งด้วยยาในช่วงอายุครรภ์อ่อน (มากสุดคืออายุครรภ์ 10 สัปดาห์)
การทำแท้งด้วยยาจะใช้ยาสองตัว โดยมีระยะเวลาใช้ยาแต่ละตัวห่างกัน 48 ชั่วโมง ซึ่งผลของยาจะให้ผลคล้ายกับการแท้งบุตรเองตามธรรมชาติ
หลังจากการประเมินร่างกายคุณ คุณจะถูกนัดหมายใหม่อีกสองครั้งในวันที่ต่างกัน โดยในวันแรกคุณจะได้รับยาที่เรียกว่าไมฟีพริสโทนซึ่งมีฤทธิ์ไปปิดกั้นฮอร์โมนที่ทำให้ผนังมดลูกสามารถฟูมฟักไข้ได้ หลังจากการใช้ยาตัวนี้ คุณจะสามารถกลับบ้านได้และดำเนินชีวิตไปตามปรกติ ในบางกรณีอาจมีการให้ยาดังกล่าวระหว่างการประเมินร่างกายก็ได้
ในการนัดหมายครั้งต่อไป คุณจะได้รับยาตัวที่สองซึ่งก็คือไมโซพรอสทอล ซึ่งจะเป็นยาสอดเข้าช่องคลอดหรือรับประทานผ่านช่องปาก ยาดังกล่าวจะทำให้เยื่อบุมดลูกภายในเกิดสลายตัวและทำให้ตัวอ่อน (เอ็มบริโอ) ไหลออกมาตามเลือดที่จะไหลผ่านช่องคลอดออกมา โดยมักจะเกิดผลเช่นนี้ขึ้นภายหลังได้รับยาสี่ถึงหกชั่วโมง ในช่วงนี้ผู้ได้รับยาจะมีอาการคล้ายประจำเดือนมามาก อาจมีความรู้สึกเจ็บปวดเกิดขึ้น ซึ่งสามารถใช้ยาแก้ปวดบรรเทาได้
การใช้ยาเพื่อทำแท้งเหล่านี้อาจทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้และอาจมีท้องเสียเช่นกัน
ในบางกรณี คุณจะสามารถกลับบ้านได้หลังจากได้รับยาตัวที่สอง โดยทีมรักษาจะชี้แจงผลของยาให้แก่คุณ หากไม่ใช่กรณีเช่นนี้ คุณต้องนอนพักที่โรงพยาบาลจนกว่าการตั้งครรภ์จะยุติลงจากฤทธิ์ยา
กระบวนการนี้จะทำให้คุณเสียเลือดมากในช่วง 7 ถึง 10 วัน
การทำแท้งด้วยการผ่าตัด (อายุครรภ์ตั้งแต่ 7 - 13 สัปดาห์)
การดูดมดลูกด้วยสุญญากาศหรือการทำแท้งด้วยการดูดออกเป็นกระบวนการที่ใช้เครื่องมือดูดเพื่อนำเนื้อเยื่อที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ออกจากมดลูก กระบวนการดังกล่าวจะใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที และดำเนินการด้วยการใช้ยาชาหรือยาสลบ ซึ่งผู้หญิงส่วนมากมักจะได้รับยาสลบก่อนเริ่มระบวนการ
ปากทางเข้ามดลูกจะถูกถ่างออก และจะมีการใช้ยาที่มีทั้งแบบสอดเข้าช่องคลอดหรือรับประทานที่ทำให้มดลูกอ่อนตัวลงเพื่อให้ง่ายต่อการสอดท่อสุญญากาศเข้าไป
หลังการทำแท้งด้วยการดูดมดลูก คุณจะสามารถกลับบ้านได้ภายหลังกระบวนการ ซึ่งหลังกระบวนการคุณจะมีอาการเลือดออกจากช่องคลอดประมาณ 7 วัน
การทำแท้งด้วยยาในช่วงอายุครรภ์มาก (อายุครรภ์ตั้งแต่ 9 ถึง 18/20 สัปดาห์)
จะมีการใช้ยาสองประเภทเดียวกับการทำแท้งในช่วงอายุครรภ์อ่อน ซึ่งก็คือไมฟีพริสโทนกับไมโซพรอสทอล แต่ช่วงเวลาแท้งลูกจะมีระยะเวลานานกว่าตามระยะครรภ์ และอาจมีการใช้โดสยาไมโซพรอสทอลมากกว่าหนึ่งก็เป็นได้ การทำแท้งประเภทนี้จะออกอาการคล้ายกับการแท้งลูกช่วงอายุครรภ์แก่ โดยระหว่างกระบวนการคุณจะรู้สึกตัวตลอดเวลา โดยจะมีการใช้ยาเพื่อระงับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไว้
หลังจากกระบวนการ คุณจะสามารถกลับบ้านได้ทันที แต่บางกรณีอาจจะใช้ระยะเวลานานกว่าร่างกายจะแสดงผล ทำให้คุณต้องถูกจัดให้ค้างที่โรงพยาบาลเผื่อเอาไว้
ภายหลังกระบวนการคุณจะมีเลือดออกประมาณ 7 ถึง 10 วัน ขึ้นอยู่กับอายุของครรภ์ โดยอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างมีของเหลวออกจากเต้านม เป็นต้น
การผ่าตัดทำแท้งกับอายุครรภ์มาก
กระบวนการต่อไปนี้อาจไม่ถูกใช้กันในหลาย ๆ ประเทศ
การทำแท้งด้วยการขยายและขูดมดลูก (ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ที่ 18 สัปดาห์)
กระบวนการขูดมดลูกจะดำเนินการภายใต้ฤทธิ์ยาสลบ โดยแพทย์จะทำการถ่างมดลูกอย่างเบามือ และแพทย์จะใช้คีมปากยาวกับท่อดูดกำจัดตัวอ่อนและเนื้อเยื่อตั้งครรภ์โดยรอบออก
กระบวนการจะใช้เวลาประมาณ 10 ถึง 20 นาที และหากคุณมีสุขภาพโดยรวมดีและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ คุณก็สามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกับการทำแท้ง โดยคุณจะมีเลือดออกภายหลังกระบวนการประมาณ 14 วัน
การผ่าตัดทำแท้งกับครรภ์ระยะที่สอง (ตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ที่ 20 - 24 สัปดาห์)
หากคุณตั้งครรภ์มามากกว่า 22 สัปดาห์และต้องการทำแท้ง กระบวนการที่ใช้จะมีสองขั้นตอน ซึ่งจะดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบกับคุณ
ขั้นตอนแรก จะมีการฉีดยาเพื่อทำให้หัวใจตัวอ่อนหยุดเต้น และจะมีการใช้ยาเพื่อทำให้ปากมดลูกอ่อนตัว ขั้นตอนที่สองจะดำเนินการในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นกระบวนการนำตัวอ่อนและเนื้อเยื่อโดยรอบออก
ภายหลังกระบวนการ คุณจะมีเลือดออกซึ่งจะคงอยู่มากถึง 14 วัน โดยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย อาทิเช่นมีของเหลวไหลออกจากเต้านม เป็นต้น
ความเสี่ยง
กระบวนการทั้งหมดจะไม่มีความเสี่ยงใด ๆ แต่หลังจากกระบวนการทำแท้งอาจจะเกิดความเสี่ยงกับสุขภาพของผู้เข้ารับทำแท้งบางอย่างขึ้น โดยเฉพาะหากเป็นการทำแท้งกับอายุครรภ์อ่อน ๆ หรือก่อน 12 สัปดาห์
- การทำแท้งไม่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของโอกาสที่จะตั้งครรภ์ใหม่ในอนาคต หรือกล่าวคือผู้หญิงที่ผ่านการทำแท้งมาแล้วจะไม่มีผลต่อความสามารถในการมีบุตรในอนาคต
- ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นระหว่างการทำแท้งมีต่ำมาก ซึ่งมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นกับการทำแท้งที่ดำเนินการกับครรภ์อายุมาก สำหรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งมีดังนี้:
- การตกเลือด (มีเลือดออกมา): เกิดกับกรณีผู้ที่ทำแท้ง 1 ใน 1,000 คน
- ความเสียหายที่ปากมดลูก: เกิดขึ้นน้อยมาก หรือประมาณ 20 ต่อ 1,000 ครั้ง
- ความเสียหายที่มดลูก: สำหรับการทำแท้งแบบผ่าตัดจะมีโอกาสเกิดที่ 4 ต่อ 1,000 ครั้ง และน้อยกว่า 1 ใน 1,000 ในกรณีการทำแท้งด้วยยากับครรภ์อายุ 12 ถึง 24 สัปดาห์
หลังจากการทำแท้ง
หลังการทำแท้ง ความเสี่ยงหลักคือการติดเชื้อที่มดลูก ซึ่งเกิดจากการที่เนื้อเยื่อตั้งครรภ์บางส่วนตกค้างอยู่ภายใน
การติดเชื้อหลังการทำแท้งจะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออก หรือมีของเสียขับออกจากช่องคลอดรุนแรง และมีอาการปวดช่วงท้อง ซึ่งทั้งหมดสามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษาอาการติดเชื้อได้
หากปล่อยให้การติดเชื้อลุกลาม จะทำให้การติดเชื้อลามไปทั่วระบบสืบพันธุ์จนเกิดเป็นภาวะติดเชื้อรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการมีบุตรหรือเพิ่มโอกาสการท้องนอกมดลูกได้ ความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจะลดลงหากมีการใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างการทำแท้ง
หากคุณคาดว่าตนเองติดเชื้อหลังการทำแท้ง ควรรีบติดต่อแพทย์เจ้าของไข้ของคุณในทันที
หลังการทำแท้ง คุณอาจถูกห้ามไม่ให้มีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ และหลีกเลี่ยงไม่ให้ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดในขณะที่มีภาวะเลือดออกอยู่ แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้วิธีคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ ก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์อีกครั้งเพื่อให้ระบบสืบพันธุ์ของคุณฟื้นสภาพให้กลับมาปรกติให้เร็วที่สุด
การคุมกำเนิด
การคุมกำเนิดที่น่าเชื่อถือที่สุดคือการใช้ห่วงคุมกำเนิด หากสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม คุณก็สามารถติดต่อปรึกษากับศูนย์บริการการทำแท้งได้ ซึ่งพวกเขาก็สามารถให้ข้อมูลการคุมกำเนิดหลังจากการทำแท้งแก่คุณหรือทำการนัดหมายคุณมาพบก็ได้ นอกนั้นแล้ว คุณก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลของคุณได้ตลอดเวลา
การสนับสนุนทางด้านอารมณ์
ผู้หญิงแต่ละคนจะมีความรู้สึกเกี่ยวกับการทำแท้งที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะรู้สึกโล่งใจ อีกหลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกผิดกับโศกเศร้า และส่วนมากจะมีความรู้สึกสับสนปนเประหว่างอารมณ์เหล่านี้ การวิจัยได้พบว่าผู้หญิงที่ทำแท้งและเกิดความรู้สึกสับสนเช่นนี้ถือว่าเป็นเรื่องปรกติ และการทำแท้งก็ไม่ได้ส่งผลต่ออารมณ์หรือปัญหาจิตวิทยาในระยะยาวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามผู้หญิงที่ผ่านหรือกำลังตัดสินใจทำแท้งก็ควรเข้ารับคำปรึกษาจากศูนย์หรือบริการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเยียวยาช่วยเหลือผู้หญิง หรือจะเลือกปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลก็สามารถทำได้