กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

5 ขั้นตอนในการป้องกันการเกิดนิ่วในไต

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
5 ขั้นตอนในการป้องกันการเกิดนิ่วในไต

หากคุณเคยเป็นนิ่วในไตมาก่อน คุณคงจะจำได้ว่าอาการปวดนั้นรุนแรงมากขนาดไหน และจะต้องมีอาการซ้ำ ๆ จนกว่านิ่วดังกล่าวนั้นจะหลุดออกมาทางปัสสาวะ พบว่าโรคนี้สามารถเกิดซ้ำได้ในหลายคน โดยพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่เคยเป็นนิ่วมาแล้วจะเป็นนิ่วอีกครั้งภายใน 7 ปีโดยไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันได้

วิธีการป้องกันการเกิดนิ่วนั้นไม่ใช่วิธีการที่ซับซ้อน แต่ต้องใช้ความตั้งใจ นิ่วจะเกิดเมื่อมีสารเคมีบางชนิดสะสมอยู่ในปัสสาวะมากเพียงพอที่จะตกผลึก เมื่อผลึกเหล่านี้โตขึ้นก็จะกลายเป็นนิ่ว ซึ่งอาจอุดตันระบบทางเดินปัสสาวะได้ และเมื่อเกิดการอุดตัน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดตามมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นิ่วส่วนใหญ่เกิดจากแคลเซียมรวมกับสารอย่างน้อยหนึ่งชนิดคือ oxalate หรือ phosphorous นอกจากนั้นนิ่วยังอาจเกิดจากกรดยูริกซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการสลายโปรตีนของร่างกาย

วิธีการป้องกันการเกิดนิ่วในไต

แพทย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการเกิดนิ่วในไตไว้ดังนี้

  • ดื่มน้ำมาก ๆ : การดื่มน้ำเพิ่มจากปกติจะช่วยละลายสารที่อยู่ในปัสสาวะที่อาจทำให้เกิดนิ่ว คุณควรดื่มน้ำในปริมาณที่จะทำให้ร่างกายปัสสาวะออกมาได้ 2 ลิตรต่อวันหรือก็คือประมาณ 8 แก้ว คุณไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว แต่อาจดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำมะนาวหรือน้ำส้ม เพราะว่ากรด citrate ในเครื่องดื่มเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันการเกิดนิ่วได้เช่นกัน
  • รับประทานแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย: การรับประทานแคลเซียมน้อยเกินไปจะทำให้ระดับของ oxalate นั้นสูงขึ้นและเกิดนิ่วตามมา ดังนั้นคุณควรรับประทานแคลเซียมให้เหมาะสมกับอายุ วิธีที่ดีที่สุดก็คือการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เนื่องจากมีการศึกษาที่พบว่าการรับประทานแคลเซียมเสริมนั้นอาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้ ผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปีควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัมร่วมกับวิตามินดีอีก 800-1,000 ยูนิตเพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย
  • ลดปริมาณโซเดียม: อาหารที่มีโซเดียมสูงนั้นอาจกระตุ้นให้เกิดนิ่วได้ เนื่องจากมันจะเพิ่มปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะ ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำสำหรับคนที่เสี่ยงต่อการเป็นนิ่ว ในปัจจุบันแนะนำให้รับประทานโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม แต่ถ้าหากคุณคิดว่าโซเดียมนั้นทำให้เกิดนิ่วในไตในอดีต ควรลดปริมาณการรับประทานเหลือ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนั้นการลดปริมาณโซเดียมยังดีต่อความดันโลหิตและหัวใจของคุณอีกด้วย
  • จำกัดการรับประทานโปรตีนจากสัตว์: การรับประทานโปรตีนจากสัตว์ เช่น จากเนื้อแดง, สัตว์ปีก, ไข่ และอาหารทะเลนั้นจะเพิ่มระดับของกรดยูริกและอาจทำให้เกิดนิ่วในไตได้ อาหารเหล่านี้ยังจะไปลดระดับของ citrate ซึ่งเป็นสารในปัสสาวะที่ช่วยป้องกันการเกิดนิ่ว ดังนั้นหากคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นนิ่ว ควรจำกัดปริมาณการรับประทานของคุณให้ไม่เกิน 1 ชิ้นต่อวัน และขนาดของชิ้นนั้นไม่เกิน 1 ฝ่ามือ นอกจากนั้นสัดส่วนการรับประทานอาหารแบบนี้ยังดีต่อหัวใจอีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดนิ่ว: เช่น chocolate, ผักโขม, รูบาร์บ, ชา และถั่วส่วนใหญ่นั้นมีสาร oxalate อยู่ในปริมาณมาก และน้ำอัดลมนั้นก็มี phosphate มาก สารทั้งสองชนิดนี้สามารถทำให้เกิดนิ่วได้ ดังนั้นหากคุณเป็นนิ่ว แพทย์อาจแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าวหรือลดการรับประทานอาหารในกลุ่มนี้ลง

สำหรับคนทั่วไป การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้มักจะไม่ได้กระตุ้นให้เกิดนิ่ว ยกเว้นแต่ว่าจะรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก มีการศึกษาบางชิ้นที่พบว่าผู้ชายที่รับประทานวิตามินซีเสริมในขนาดที่สูงนั้นจะมีความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการที่ร่างกายเปลี่ยนวิตามินซีให้กลายเป็น oxalate


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Preventing kidney stones: Hydration, reducing salt intake, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319537)
Kidney Stone Prevention: How To Prevent Kidney Stones. WebMD. (https://www.webmd.com/kidney-stones/understanding-kidney-stones-prevention#1)
How to Prevent Kidney Stones: 9 Ways. Healthline. (https://www.healthline.com/health/kidney-health/how-to-prevent-kidney-stones)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง

รวบรวมอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมด้วยวิตามิน E เพื่อจะได้เติมประโยชน์ได้ร่างกายกันได้ง่ายขึ้น

อ่านเพิ่ม