ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)

มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5)
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder)

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorder) เป็นภาวะทางจิตที่เริ่มต้นในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอย่างต่อเนื่องหลายปี ก่อให้เกิดความยากลำบากในการดำรงชีวิต กระทบความสามารถในการทำงาน การเรียน หรือการคบเพื่อน โดยตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5) กล่าวถึงภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ 10 ชนิด รวมถึงภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline PersonalityDisorders หรือ BPD) ไว้ด้วย

จะวินิจฉัยภาวะผิดปกติทางบุคลิกภาพได้อย่างไร?

ตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 4 (DSM-4) ใช้ระบบวินิจฉัยแบบหลายๆ แกน โดยให้ความสนใจใน 5 ลักษณะเด่นที่สามารถแยกแยะการวินิจฉัยรายบุคคล การวินิจฉัยภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพแบบแกนที่สองเป็นเงื่อนไขเดียวที่ใช้วินิจฉัยลักษณะปัญญาอ่อนมายาวนาน แต่ในตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด) ไม่ได้ใช้การแบ่งแบบหลายๆ แกนอีกต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การแบ่งกลุ่มของภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ

มีการจัดแบ่งความผิดปกติด้านบุคลิกภาพออกเป็น 3 กลุ่ม ทั้งในตำราฉบับเก่าและฉบับใหม่ ในแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะสำคัญบ่งชี้หรืออาจมีบางอาการที่ทับซ้อนกัน

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม A

กลุ่ม A มีความผิดปกติด้านบุคลิกภาพด้วยการแสดงพฤติกรรมแปลกๆ หรือผิดปกติ มีแนวโน้มที่จะเจอกับการถูกบอกเลิกหรือยุติความสัมพันธ์เพราะมีพฤติกรรมแปลกประหลาด แยกตัว และทำตัวน่าสงสัย ซึ่งความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม A จะรวมอาการอื่นๆ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดแปลก (Schizotypal Personality Disorder) เช่น มีความเชื่อ ท่าทาง หรือคำพูดที่แปลกๆ
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดหวาดระแวง (Paranoid Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดแยกตัว (Schizoid Personality Disorders)

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม B

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม B จะมีพฤติกรรมเจ้าอารมณ์เหมือนแสดงละคร เอาแน่ไม่ได้ มักเคยอยู่ในภาวะที่มีการใช้อารมณ์รุนแรง อาจทำตัวแบบในหนัง สำส่อน ทำผิดกฎหมาย ซึ่งความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม B จะรวมอาการอื่นๆ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorders หรือ BPD)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดเจ้าอารมณ์เหมือนแสดงละคร (Histrionic Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorders)

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม C

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม C มีลักษณะเด่น คือ กังวลและหวาดกลัว ซึ่งความผิดปกติด้านบุคลิกภาพของกลุ่ม C จะรวมอาการอื่นๆ ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดพึ่งพาคนอื่น (Dependent Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดครอบงำ (Obsessive Personality Disorders)
  • ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดหลีกเลี่ยงสังคม (Avoidant Personality Disorders)

การรักษาภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ

มีการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาความผิดปกติด้านบุคลิกภาพค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood Disorder) การวิจัยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง ซึ่งมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการใช้ยารักษาและจิตบำบัด

โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการรักษาความผิดปกติด้านบุคลิกภาพเป็นการรักษาที่ค่อนข้างยาก เพราะเป็นบุคลิกภาพที่ติดตัวยาวนาน ทั้งยังไม่มีการวิจัยที่ดีพอ จำเป็นต้องวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของการรักษา อย่างไรก็ตาม ก็มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการรักษาความผิดปกติด้านบุคลิกภาพในปัจจุบันดีขึ้นกว่าเดิมจากผู้ที่มีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาต่อเนื่อง

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

ผู้มีความผิดปกติของบุคลิกภาพ มักมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วยถึง 85% ตามข้อมูลสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ เช่น ผู้มีภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง มักมีความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดอื่นๆ หรือมีความผิดปกติด้านอารมณ์อย่างน้อยหนึ่งอย่างร่วมด้วย


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
nhs.uk, Personality disorder (https://www.nhs.uk/conditions/personality-disorder/), 2 October 2017
med.mahidol, ชอบวีนเหวี่ยงเข้าข่าย “โรคบุคลิกภาพแปรปรวน” (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%e0%b8%8a%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2/), 4 ธันวาคม 2558

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ความเป็นจริงของภาวะติดเกมออนไลน์มากผิดปกติ (Internet Gaming Disorder)
ความเป็นจริงของภาวะติดเกมออนไลน์มากผิดปกติ (Internet Gaming Disorder)

ผู้ที่เล่นเกมออนไลน์มากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน

อ่านเพิ่ม
อาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD) Symptoms
อาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง Borderline Personality Disorder (BPD) Symptoms

เข้าใจถึงอาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder (BPD))

อ่านเพิ่ม
คุณเป็นกลุ่มที่ใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวามากกว่ากัน?
คุณเป็นกลุ่มที่ใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวามากกว่ากัน?

บุคลิกภาพและความถนัดของแต่ละคนเกี่ยวข้องกับสมองฝั่งซ้าย หรือขวา จริงหรือไม่ เรามีคำตอบ

อ่านเพิ่ม