กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ปวดเกร็งท้อง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

รวมสาเหตุของอาการปวดเกร็งท้อง พร้อมมีวิธีรักษาและป้องกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 9 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ปวดเกร็งท้อง เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการปวดท้องเกร็งเป็นอาการที่พบบ่อยและเกิดได้จากหลายสาเหตุ หรือเป็นอาการร่วมของบางโรค 
  • ความแปรปรวนในระบบทางเดินอาหารและความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคลำไส้อักเสบและอาหารเป็นพิษ ไส้ติ่งอักเสบ เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งท้อง
  • ปัญหาในระบบสืบพันธุ์ การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นสาเหตุของอาการปวดเกร็งที่พบบ่อยรองลงมา
  • การรักษาและบรรเทาอาการมี 2 วิธี ได้แก่ การรักษาที่ต้นเหตุ เช่น หากติดเชื้อแบคทีเรียก็ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ และการบรรเทาอาการปวดด้วยาแก้ปวด การประคบร้อน
  • การป้องกันอาการปวดท้องเกร็งที่สำคัญ คือ การรู้สาเหตุเพื่อรักษา หลีกเลี่ยง และป้องกันไม่ให้เกิดอาการขึ้นได้อีก หรือควบคุมโรคไม่ให้เข้าสู่ระยะอันตราย (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

อาการปวดเกร็งท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อยในหลายๆ โรค หลายครั้งก็มักจะมาพร้อมกับอาการอื่นๆ ด้วย เช่น ท้องร่วง อาเจียน มีไข้ ปัสสาวะแสบขัด อาการปวดเกร็งท้องนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากเกิดจากสาเหตุรุนแรงอาจเป็นอันตรายได้หากไม่รีบรักษา

สาเหตุของอาการปวดเกร็งท้อง

1. ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

ความแปรปรวนในระบบทางเดินอาหาร และความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งท้อง สาเหตุ หรือโรคที่พบบ่อย ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษาโรคทางเดินอาหาร วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 116 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรือพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้มีอาการปวดท้องและจุกเสียดที่แถบเหนือสะดือค่อนไปด้านซ้าย รวมถึงมักมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน และอาหารไม่ย่อยด้วย
  • โรคกรดไหลย้อน เป็นอาการที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมายังหลอดอาหาร ทำให้มีอาการปวดเกร็งท้อง จุกแน่นลิ้นปี่ ร่วมกับมีอาการแสบระคายเคืองช่วงอกและลำคอ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย รวมถึงคลื่นไส้อาเจียนด้วย
  • โรคลำไส้อักเสบและอาหารเป็นพิษ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือโปรโตซัวที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ทำให้มีอาการปวดเกร็งท้อง หรือปวดบิดรุนแรงร่วมกับอาการท้องร่วง ท้องเสีย บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและอ่อนเพลียร่วมด้วยซึ่งอาจเสี่ยงต่อภาวะร่างกายขาดน้ำได้
  • ไส้ติ่งอักเสบ เป็นอาการปวดเกร็งตรงกลางท้อง หรือด้านล่างขวาใต้สะดือรุนแรง เมื่อกดมือลงไปแล้วจะรู้สึกเจ็บ สาเหตุเกิดจากการอักเสบของไส้ติ่ง รวมถึงมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ท้องเสีย หรือท้องอืด หากไม่ได้รับการผ่าตัดนำไส้ติ่งออก อาการจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  • โรคตับอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป โรคตับอักเสบจะทำให้ปวดเสียดท้องอย่างรุนแรงบริเวณด้านขวาบนและอาจปวดร้าวจนถึงหลัง หรือใต้สะบัก รวมถึงมีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย และอ่อนเพลีย
  • มีนิ่วในถุงน้ำดี หากนิ่วมีขนาดเล็กก็มักไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา แต่หากมีขนาดใหญ่ก็มักทำให้เกิดอาการปวดท้องด้านขวาบนอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง คลื่นไส้ อาเจียน เช่นเดียวกับโรคตับอักเสบ

2. ปัญหาในระบบสืบพันธุ์

อาการปวดเกร็งท้องเนื่องมาจากปัญหาของระบบสืบพันธุ์ มักพบในผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ภาวะที่พบบ่อย ได้แก่

  • อาการระหว่างมีประจำเดือน ขณะผู้หญิงมีประจำเดือน มดลูกจะมีการบีบตัวทำให้มีอาการปวดเกร็งที่ท้องน้อยซึ่งเป็นอาการปกติที่พบได้บ่อย แต่หากอาการรุนแรงมากก็อาจต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือฉีดยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
  • อาการจากการตั้งครรภ์ ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกจะขยายตัวใหญ่ขึ้นทำให้มีการยืดตัวของเส้นเอ็นและดันกล้ามเนื้อหน้าท้องออก รวมถึงเมื่อมดลูกมีการเคลื่อนไหว หรือบีบตัวก็อาจทำให้รู้สึกปวดเกร็งท้องได้ ซึ่งเป็นอาการปกติในช่วงตั้งครรภ์ ไม่อันตรายแต่อย่างใด
  • การติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคหนองใน อุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือเชื้อราในช่องคลอด การติดเชื้อเหล่านี้มักทำให้ปวดท้องน้อยรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับรู้สึกเจ็บแสบขณะมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวมีสีและมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ 
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น มีซีสต์ หรือเนื้องอกในมดลูก โรคมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุที่พบได้น้อย  

3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหน้าท้อง

การออกกำลังกาย เล่นกีฬา ยกของหนัก หรือเกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องบาดเจ็บจนมีอาการปวดเกร็งท้องได้เช่นกัน หากเป็นการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย เมื่อพักใช้กล้ามเนื้อสักระยะหนึ่ง อาการปวดก็จะดีขึ้นเอง 

แต่หากเกิดการบาดเจ็บรุนแรง หรือส่งผลต่ออวัยวะภายใน ผู้ป่วยควรไปต้องพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาอาการบาดเจ็บให้หายตั้งแต่เนิ่นๆ

4. ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

อาการปวดเกร็งท้องจากความผิดปกติในทางเดินปัสสาวะนั้นสามารถพบได้ในผู้คนทุกเพศทุกวัย โดยสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นผลมาจากการกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือรักษาสุขอนามัยไม่ดี อาการที่พบคือ ปวดเกร็งท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวกะปริดกะปรอย ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น หรือพบเลือดปนในปัสสาวะ
  • โรคนิ่วไต เป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทยเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาการของโรคนิ่วไตคือ ปวดท้องบริเวณบั้นเอวและสีข้าง ปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่ออก คลื่นไส้ อาเจียน ยิ่งก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ อาการก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น

5. ความผิดปกติของหลอดเลือด

  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ถูกกัดเซาะ
  • โรดเส้นเส้นเลืดแดงใหญ่โป่งพอง

6. กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด 

เช่น โรคลำไส้แปรปรวน

7. กลุ่มที่เกิดจากโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษาโรคทางเดินอาหาร วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 116 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

8. กลุ่มที่เกิดจากการเจ็บป่วยที่อวัยวะอื่นแต่มีอาการปวดท้อง 

เช่น อัณฑะบิดตัว เส้นประสาทที่หลังอักเสบ

9. กลุ่มที่เกิดจากระบบการเผาผลาญของร่างกายผิดปกติ

การบรรเทาและรักษาอาการปวดเกร็งท้อง

การบรรเทาอาการปวดเกร็ง 

โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวด ปวด ซึ่งชนิดของยาแก้ปวดขึ้นอยู่กับกลไกบองโรค เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หากอาการปวดเป็นอาการปวดทั่วไป 

หรือให้ยา hyoscine เพื่อลดการบีบตัวของลำไส้เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen

การรักษาที่สาเหตุ 

วิธีการรักษาประเภทนี้จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ เช่น หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินอาหาร หรือทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยอาจต้องให้ยาปฏิชีวนะในการรักษา 

แต่หากสาเหตุมาจากกรดในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยาลดกรด เช่น อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium Hydroxide) หรือในบางกรณีอาจต้องใช้การผ่าตัดเพื่อรักษา เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ซีสต์ในมดลูก นิ่วในไต 

การป้องกันอาการปวดเกร็งท้อง

เนื่องจากอาการปวดเกร็งท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่สามารถควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ วิธีป้องกันจึงแตกต่างกันไปตามต้นเหตุ เช่น

  • การป้องกันจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร สามารถทำได้โดยปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่รับประทานครั้งละมากๆ หรือเร็วเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป รวมถึงเลือกรับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย และล้างมือก่อนรับประทานอาหารเสมอ
  • การป้องกันอาการที่เกิดจากระบบสืบพันธุ์ นั่นคือการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีอาการปวดท้องน้อยบ่อยๆ หรือปวดรุนแรงขณะมีประจำเดือนและปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการที่แน่ชัด
  • การป้องกันจากอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ต้องออกแรงกดที่หน้าท้องมากๆ เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป และระวังการเกิดอุบัติเหตุที่มีการกระแทกรุนแรง
  • การป้องกันจากความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยให้หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนานๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน และดูแลสุขอนามัยให้ดีอยู่เสมอ

อาการปวดเกร็งท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางสาเหตุก็อาจรุนแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ หมั่นสังเกตตนเองและคนใกล้ตัวหากมีอาการปวดท้องบ่อยๆ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุด  

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stomach ache and abdominal pain. (2016). (http://www.nhs.uk/conditions/stomach-ache-abdominal-pain/Pages/Introduction.aspx), 25 March 2020.
Patterson JW, Dominique E (14 November 2018), Acute Abdomen (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29083722), 23 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
จัดการกับอาการปวดคอด้วย Cervical Roll
จัดการกับอาการปวดคอด้วย Cervical Roll

จัดให้คอของคุณอยู่ในท่าที่เหมาะสมขณะหลับ

อ่านเพิ่ม
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม