Meloxicam (เมลอกซิแคม) - เป็นยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
Meloxicam (เมลอกซิแคม) - เป็นยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)

เมลอกซิแคม เป็นยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) มีฤทธิ์ท้้งบรรเทาอาการปวดและลดไข้ โดยเมลอกซิแคม มีโครงสร้างใกล้เคียงกันกับไพรอกซิแคม และจัดอยู่ในกลุ่มอีโนลิก (enolic) ในตัวยากลุ่ม NSAID เมลอกซิแคมมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดภายในประมาณ 30 ถึง 60 นาทีหลังจากการบริหารยา ยาเมลอกซิแคมถูกพัฒนาโดย Boehringer-Ingelheim ในปีค.ศ. 2013 มีการรับรองการใช้ยาเมลอกซิแคมในสุนัขโดนองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา เพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของข้อและกระดูก โดยยาอยู่ในรูปของของเหลว และมีการรับรองการใช้ในแมว กรณีสำหรับกาอนการผ่าตัดเท่านั้นในปี ค.ศ. 2004

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Meloxicam ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Cambic

- ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม

L.B.S.

M.P. Osoth

- ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม

Osoth Interlab

Melcam

- ยาเม็ด ขนาด 7.5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม

Unison

Melobic

- ยาเม็ด ขนาด 7.5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม

T.O. Chemicals

Mel-OD

- ยาเม็ด ขนาด 7.5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม

Siam Bheasach

Melox

- ยาเม็ด ขนาด 7.5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม

Siam Bheasach

Mobic

- ยาฉีด ความเข้มข้น 15 มิลลิกรัมต่อ 1.5 มิลลิลิตร

- ยาเม็ด ขนาด 7.5 มิลลิกรัม

- ยาเม็ด ขนาด 15 มิลลิกรัม

Boehringer Ingelheim

Hofbic

- ยาเม็ด ขนาด 7.5 มิลลิกรัม

บริษัท โอสถอินเตอร์ แลบบอราทอรีส์ จำกัด

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดข้อกำเริบเฉียบพลัน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดข้อรูมาตอยด์
  • ข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดข้อรูมาตอยด์ในเด็ก

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Meloxicam

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เมลอกซิแคม เป็นอนุพันธ์ของกรดฟีนิลอะเซติก (phenylacetic acid) ซึ่งเป็นโครงสร้างต้นแบบของยากลุ่ม NSAID ในกลุ่มออกซิแคม (oxicam) มีฤทธิ์สูงในการต้านการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และลดไข้ เมลอกซิแคมยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส (cyclooxygenase; COX) แบบผันกลับได้ เป็นผลลดกระบวนการสร้างสารตั้งต้นของพรอสตาแกลนดิน (prostaglandin)

ข้อบ่งใช้ของยา Meloxicam

ข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดข้อกำเริบเฉียบพลัน ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 7.5 มิลลิกรัมต่อวัน อาจให้ยาสูงสุด 15 มิลลิกรัมต่อวัน ให้ยาครั้งเดียว ข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดข้อรูมาตอยด์ ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ 15 มิลลิกรัมต่อวัน ให้ยาครั้งเดียว การใช้ยาในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงของยานี้สูงให้ใช้ขนาดยาเริ่มต้น 7.5 มิลลิกรัมต่อวัน ข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดข้อรูมาตอยด์ในเด็ก ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี ขนาด 0.125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ขนาดยาสูงสุด 7.5 มิลลิกรัมต่อวัน

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Meloxicam

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Meloxicam

- ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการแพ้เมลอกซิแคม แอสไพริน (aspirin) หรือยา NSAID อื่น - ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหืด ลมพิษหรือผื่นแพ้ - ห้ามใช้ยานี้ในการรักษาอาการปวดก่อนการผ่าตัดในการทำหัตถการ CABG - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีอาการบวมน้ำหรือหัวใจวาย - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือแผลในกระเพาะอาหาร - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Meloxicam

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อาหารไม่ย่อย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเสีย การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ปวดท้อง มึนงง อาการบวมน้ำ ท้องอืด กลุ่มอาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ อาการที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น ปวดหลัง กล้ามเนื้อกระตุก ปวดกล้ามเนื้อ เกิดผื่นแดง โลหิตจาง เพิ่มค่าการทำงานของตับ อาการอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ การแพ้ยาแบบ anaphylactoid การแพ้ยาแบบ Steven Johnson syndrome พิษต่อระบบผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ดีซ่าน ตับอักเสบ ตับวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง พิษต่อไต

ข้อมูลการใช้ยา Meloxicam ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา และอยู่ใน category D ในไตรมาสที่ 3 และช่วงใกล้คลอด คือ ไม่แนะในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ เว้นแต่ในกรณีช่วยชีวิตหรือรักษาอาการรุนแรงที่ยาที่ปลอดภัยกว่ารักษาไม่ได้ผล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษายา Meloxicam

เก็บที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Meloxicam: Side Effects, Dosage, Uses, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/meloxicam-oral-tablet)
meloxicam (Mobic) Side Effects, Uses, Dosage, and Abuse. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/meloxicam/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม