วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ตกขาวสีน้ำตาล เป็นสัญญาณของโรคมะเร็งจริงหรือไม่?

รวมสาเหตุทำให้เกิดตกขาวสีน้ำตาล ตกขาวสีน้ำตาลขณะตั้งท้องเกิดขึ้นได้หรือไม่ มีตกขาวสีน้ำตาลแสดงว่าเป็นโรคมะเร็งจริงหรือเปล่า
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ตกขาวสีน้ำตาล เป็นสัญญาณของโรคมะเร็งจริงหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตกขาวสีน้ำตาลเป็นสีของตกขาวที่มักเกี่ยวข้องกับการมาของประจำเดือน ทั้งก่อนและหลังประจำเดือนมา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการรับประทานยาคุมกำเนิด
  • โรคเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่ เช่น ซีสต์ในถุงน้ำรังไข่ ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ รวมถึงการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ ก็สามารถทำให้เกิดตกขาวสีน้ำตาลได้ ร่วมกับมีอาการอื่นๆ ของโรคร่วมด้วย
  • ตกขาวสีน้ำตาลยังเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ โดยในช่วง 10-14 วันแรกของการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์อาจมีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดเล็กน้อย หรือมีตกขาวสีน้ำตาล ซึ่งเกิดจากตัวอ่อนได้ไปฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุมดลูกแล้ว
  • ควรไปพบแพทย์ หากมีตกขาวสีน้ำตาลมากกว่า 1 สัปดาห์ มีตกขาวสีน้ำตาลทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงมีตกขาวสีน้ำตาลที่มีกลิ่นเหม็น มีอาการปวดท้อง และคันช่องคลอดร่วมด้วย
  • ตกขาวสีน้ำตาลคือ หนึ่งในสัญญาณของโรคมะเร็งปากมดลูก แต่จะต้องมีอาการอื่นๆ ของโรคมะเร็งร่วมด้วยจึงจะจัดว่า เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ปวดท้องน้อย ขาบวม อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ตรวจพบก้อนเนื้อ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิง

ตกขาวสีน้ำตาลเป็นสีของตกขาวที่สามารถแสดงถึงความผิดปกติ หรือภาวะต่างๆ ของร่างกาย แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดไปว่า ตกขาวสีน้ำตาลต้องหมายถึงสีของเลือดเท่านั้น หรืออาจหมายถึงความผิดปกติร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งปากมดลูก เพราะมีสาเหตุมากมายที่สามารถทำให้เกิดตกขาวสีน้ำตาลได้

ความหมาย และสีปกติของตกขาว

ตกขาวคือ ของเหลวบริเวณช่องคลอดซึ่งทำหน้าที่สร้างความหล่อลื่นให้กับช่องคลอด และปากมดลูก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของร่างกายผู้หญิง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตกขาวปกติจะมีลักษณะเป็นมูกเหลวใสปนขาว ไม่มีกลิ่น ไม่สร้างความระคายเคืองให้ผิว ปริมาณจะมีเพียงวันละเล็กน้อยเท่านั้น แต่จะมีปริมาณมากขึ้นในช่วงใกล้มีประจำเดือน หรือตกไข่

สาเหตุที่ทำให้มีตกขาวสีน้ำตาล

ตกขาวสีน้ำตาลมักมีความเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาการมีประจำเดือน ทั้งก่อนและหลังมีประจำเดือน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับโรคและอาการบาดเจ็บบางอย่างของอวัยวะสืบพันธุ์ได้อีกด้วย ซึ่งสามารถจำแนกสาเหตุได้ดังต่อไปนี้

1. การมีประจำเดือน

คุณจะสังเกตว่า ในช่วงก่อนมีประจำเดือน รวมถึงวันแรก และวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน สีของประจำเดือนจะค่อนข้างเข้มเป็นสีน้ำตาล รวมถึงสีของตกขาวด้วย

นั่นเป็นเพราะในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่เลือดสีแดงปกติและมีปริมาณน้อยถูกขังไว้ในมดลูก หรือช่องคลอดเป็นระยะเวลาหนึ่งจึงเกิดการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล

นอกจากเลือดประจำเดือนในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นสีน้ำตาลแล้ว อาจสังเกตว่า ประจำเดือนจะมีลักษณะเป็นก้อนเลือดแห้งกรังมากกว่าเป็นเลือดประจำเดือนด้วย

2. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

สามารถพบได้ในหญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนด้วยเช่นกัน ตกขาวสีน้ำตาลมักเป็นผลมาจากการทำงานที่ไม่สมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญในเพศหญิง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้คุณยังสามารถพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ร่วมกับมีตกขาวสีน้ำตาลด้วยเช่นกัน ได้แก่

  • นอนไม่หลับ
  • ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน
  • ไม่มีสมาธิ
  • เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection: UTI)
  • น้ำหนักขึ้นผิดปกติ

ส่วนในหญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนซึ่งระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดต่ำลงนั้นจะมีอาการอื่นๆ ร่วมกับมีตกขาวสีน้ำตาลดังต่อไปนี้

  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ
  • มีเหงื่อออกมากขณะนอนหลับ โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • ช่องคลอดแห้ง
  • อารมณ์แปรปรวน
  • มีอาการร้อนวูบวาบ (Hot flash)

3. การรับประทานยาคุมกำเนิด

ในช่วงแรกของการใช้ยาคุมกำเนิดอาจมีผลข้างเคียงเป็นตกขาวสีน้ำตาลได้ โดยเฉพาะหากรับประทานยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยกว่า 35 ไมโครกรัม หรือใช้ยาคุมกำเนิดแบบฝัง (contraceptive implant)

หากมีตกขาวสีน้ำตาลในระหว่างใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 3 เดือน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาให้เปลี่ยนยาคุมกำเนิดเป็นแบบอื่นแทน

4.โรคเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่

โรคเกี่ยวกับถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Cyst) สามารถทำให้มีตกขาวสีน้ำตาลได้ เช่น

ซีสต์ในถุงน้ำรังไข่ (Follicle Cyst)

ซีสต์ในถุงน้ำรังไข่ (Follicle Cyst) เกิดจากถุงน้ำภายในรังไข่ ถุงน้ำนี้จะทำหน้าที่บรรจุไข่ให้เจริญเติบโตไม่แตกออก และทำให้ของเหลวภายในถุงน้ำก่อตัวเป็นซีสต์ขึ้นมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ซีสต์ในถุงน้ำรังไข่สามารถขยายขนาดใหญ่ขึ้นได้ ส่งผลให้ตกขาวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ร่วมกับอาการเจ็บกระดูกเชิงกรานอย่างรุนแรง

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome: PCOS) เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ รวมถึงฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงร่วมกับไม่มีไข่ตก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น

  • มีภาวะขนดก หรือผมร่วง ผมบางลงผิดปกติ
  • เป็นสิวมาก
  • ผิวหนังหมองคล้ำ
  • อ้วนลงพุง
  • มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และอารมณ์แปรปรวน
  • ประจำขาดเป็นเวลานาน
  • มีตกขาวสีน้ำตาล

5.การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Disease: STD) ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดตกขาวสีน้ำตาล รวมถึงมีเลือดไหลออกจากช่องคลอดได้อีกด้วย เช่น

  • โรคหนองในแท้ (Gonorrhea)
  • โรคหนองในเทียม (Chlamydia)
  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)

นอกจากมีตกขาวสีน้ำตาลแล้ว ผู้ป่วยยังอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • ระคายเคือง หรือคัน ช่องคลอด
  • เจ็บอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ และขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดท้องน้อย
  • มีตกขาวสีอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น สีเขียว สีเหลือง

6. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)เป็นภาวะที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญเติบโตอยู่ภายนอก หรือบริเวณผนัง กล้ามเนื้อของมดลูก

ภาวะนี้มักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดบริเวณท้องน้อยอย่างรุนแรง รวมถึงมีตกขาวสีน้ำตาล และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • ท้องอืด
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อ่อนเพลียง่าย
  • ท้องผูก
  • ท้องร่วง
  • เจ็บแสบขณะปัสสาวะ และขณะมีเพศสัมพันธ์

ตกขาวสีน้ำตาลกับการตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ถือเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ตกขาวเป็นสีน้ำตาลได้ สามารถจำแนกระยะของการตั้งครรภ์ที่อาจมีตกขาวสีน้ำตาลได้ดังต่อไปนี้

1. ช่วงการฝังตัวของตัวอ่อน

ในช่วง 10-14 วันแรกของการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นช่วงที่ตัวอ่อนไปฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุมดลูก อาจพบว่า มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดในปริมาณเล็กน้อย หรืออยู่ในรูปตกขาวสีน้ำตาลก็ได้

นอกจากนี้อาจพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ร่วมกัน เช่น คลื่นไส้อาเจียน ตัวบวม อ่อนเพลียง่าย คัดตึงหน้าอก ซึ่งเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์

หากคุณกำลังวางแผนมีลูก และมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ควรไปซื้ออุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์มาทดสอบ

2. ระหว่างการตั้งครรภ์

หากมีอายุครรภ์มากกว่า 10 สัปดาห์ และมีตกขาวสีน้ำตาล หรือมีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณของการแท้งบุตรได้

นอกจากตกขาวและเลือดไหลออกจากช่องคลอด ยังมีอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่ควรสังเกต และควรไปพบแพทย์ทันที

  • ปวดเจ็บบริเวณท้องน้อย
  • เวียนศีรษะ
  • เป็นลม

3. การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คือ การตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไม่ได้ไปฝังตัวอยู่ที่ผนังมดลูกอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงจนลามขึ้นมาถึงหัวไหล่ เวียนศีรษะ มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด รวมถึงมีตกขาวสีน้ำตาลด้วย

4. หลังจากคลอดบุตรแล้ว

หลังจากคลอดบุตรแล้ว 4-5 สัปดาห์ อาจมีน้ำคาวปลา (Lochia) ไหลออกมาจากช่องคลอด (น้ำคาวปลาคือ ของเหลว เช่น เลือด น้ำคร่ำ แบคทีเรีย เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกหลังจากคลอดบุตรนั่นเอง)

ในช่วงแรกน้ำคาวปลาจะมีสีแดงและอาจมีลิ่มเลือดปน แต่หลังจากผ่านไปประมาณ 3 วันน้ำคาวปลาจะมีสีจางลง อาจเป็นสีใสปนน้ำตาล ซึ่งสามารถเป็นตกขาวสีน้ำตาลได้เช่นกัน

ตกขาวสีน้ำตาลกับความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง

หลายคนยังเชื่อว่า ตกขาวสีน้ำตาลเป็นหนึ่งในอาการของโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก ซึ่งก็ไม่ใช่ความเชื่อที่ผิดนัก เพราะสีของตกขาวที่ผิดปกติก็เป็นหนึ่งในสัญญาณของโรคมะเร็งปากมดลูกเช่นกัน เพียงแต่ต้องมีอาการอื่นๆ ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งร่วมด้วย เช่น

  • ปวดท้องน้อย
  • ตรวจพบก้อนเนื้อ
  • น้ำหนักลด
  • อ่อนเพลียบ่อยผิดปกติ
  • ขับถ่ายยาก ทั้งปัสสาวะ และอุจจาระ
  • ขาบวม

หากมีอาการเหล่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจวินิจฉัย แต่หากยังไม่มีการอื่นๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้น ก็อย่าเพิ่งเข้าใจผิดไปก่อนว่า ตนเองเป็นโรคมะเร็ง

อาการของตกขาวสีน้ำตาลที่ควรไปพบแพทย์

ตกขาวสีน้ำตาลยังไม่จัดเป็นสีของตกขาวที่ต้องไปพบแพทย์ทันทีที่เจอ อย่างไรก็ตาม หากตกขาวมีลักษณะดังนี้

  • ตกขาวมีสีน้ำตาลมากกว่า 1 สัปดาห์ 
  • มีตกขาวสีน้ำตาลทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์ 
  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็นคาว หรือเหม็นเปรี้ยว 
  • มีตกขาวสีน้ำตาลร่วมกับอาการปวดท้อง คันช่องคลอด 

คุณควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อความปลอดภัย

ทั้งนี้มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้มีตกขาวสีน้ำตาลได้ เพื่อให้คุณรู้เท่าทันโรคที่เป็นสาเหตุทำให้มีตกขาวสีผิดปกติ รวมถึงไม่ตื่นตูมไปก่อนว่า ตนเองอาจเป็นโรคร้ายบางอย่าง 

คุณควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของตกขาวที่ผิดปกติแต่ละสีเอาไว้ เพื่อจะได้หาสาเหตุเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง และไม่เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสีของตกขาวที่เกิดขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Traci C. Johnson, MD, Causes of Bloody Vaginal Discharge (https://www.webmd.com/women/bloody-vaginal-discharge-causes#3), 27 June 2020.
Holly Ernst, What Causes Brown Vaginal Discharge and How Is It Treated? (https://www.healthline.com/health/brown-vaginal-discharge), 10 June 2020.
Holly Ernst, P.A., A color-coded guide to vaginal discharge (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322232), 27 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear

มะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย แต่เป็นมะเร็งที่มีวิธีสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 80%

อ่านเพิ่ม