ทีมเภสัชกร HD
เขียนโดย
ทีมเภสัชกร HD

ยารักษาหนองใน

หนองในเป็นโรคที่เกิดได้ทั้งในเพศหญิง ชาย รวมถึงทารกซึ่งติดเชื้อจากมารดาตั้งแต่ในครรภ์ ยารักษาหนองในนั้นมีอยู่ เพื่อความปลอดภัย ควรใช้อย่างถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยารักษาหนองใน

ยารักษาหนองใน มีหลายชนิดตามประเภทของโรคหนองใน โรคหนองในแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โรคหนองในแท้ หรือ โกโนเรีย (Gonorrhoea) กับโรคหนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis: NSU) หนองในเทียมเป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดจากเชื้อโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่หนองในแท้ หลายคนมีความสับสนระหว่างสองโรคนี้

ยารักษาหนองใน ชนิดหนองในแท้

ยารักษาหนองใน มีหลายตัว ใช้แตกต่างกันตามตัวเชื้อ บริเวณที่ติดเชื้อ อายุและน้ำหนักตัวของผู้ติดเชื้อ ดังนี้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. การติดเชื้อ Gonorrhoeae ที่ปากมดลูก ทางเดินปัสสาวะ ทวารหนัก และคอหอย ชนิดไม่ซับซ้อน
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 250 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ร่วมกับการรับประทานอะซิโทรไมซิน (Azithromycin) 1 กรัม ครั้งเดียว หรือ รับประทานเซฟิไซม์ (Cefixime) 400 มิลลิกรัม ร่วมกับ Azithromycin 1 กรัม ครั้งเดียว
  2. การติดเชื้อ Gonorrhoeae ที่ปากมดลูก ทางเดินปัสสาวะ และทวารหนักชนิดซับซ้อน
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 1 กรัม ฉีดเข้ากระแสเลือดร่วมกับรับประทานอะซิโทรไมซิน (Azithromycin) 1 กรัม ครั้งเดียว
  3. การติดเชื้อ Gonorrhoeae ที่มีเยื่อบุตาอักเสบ (Gonorrhoeae Conjunctivitis)
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 1 กรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อร่วมกับรับประทานอะซิโทรไมซิน (Azithromycin) 1 กรัม ครั้งเดียว
  4. การติดเชื้อ Gonococcal ที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Gonococcal Meningitis)
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 1-2 กรัม ฉีดเข้ากระแสเลือด ทุก 12-24 ชั่วโมง ร่วมกับรับประทานอะซิโทรไมซิน (Azithromycin) 1 กรัม ครั้งเดียว
  5. การติดเชื้อ Gonococcal ในเด็กทารกแรกเกิด
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 25–50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้ากระแสเลือดหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว โดยขนาดยาห้ามเกิน 125 มิลลิกรัม
  6. การติดเชื้อ Gonorrhoeae ชนิดแพร่กระจายในเด็กทารกแรกเกิด (ทารกจะมีการติดเชื้อในกระแสเลือด ข้อ และเยื่อหุ้มสมอง) และการติดเชื้อที่หนังศีรษะ (Gonococcal Scalp Abscesses)
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 25–50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ฉีดเข้ากระแสเลือดหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อวันละ 1 ครั้ง นาน 7 วัน หากมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วยให้รักษาต่อเนื่องนาน 7-14 วัน หรือเซฟโฟทาซีม (Cefotaxime) 25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฉีดเข้ากระแสเลือดหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 12 ชั่วโมง นาน 7 วัน หากมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วยให้รักษาต่อเนื่องนาน 7-14 วัน
  7. การติดเชื้อ Gonorrhoeae ชนิดไม่ซับซ้อน ในเด็กหรือทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 45 กิโลกรัม
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 25–50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้ากระแสเลือดหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว โดยขนาดยาห้ามเกิน 125 มิลลิกรัม
  8. การติดเชื้อ Gonorrhoeae ชนิดไม่ซับซ้อน ในเด็กที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 45 กิโลกรัม
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 250 มิลลิกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ร่วมกับการรับประทานอะซิโทรไมซิน (Azithromycin) 1 กรัม ครั้งเดียว หรือรับประทานเซฟิไซม์ (Cefixime) 400 มิลลิกรัม ร่วมกับ Azithromycin 1 กรัม ครั้งเดียว
  9. การติดเชื้อ Gonorrhoeae ร่วมกับมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือติดเชื้อในข้อ ในเด็กหรือทารกที่มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 45 กิโลกรัม
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฉีดเข้ากระแสเลือดหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว นาน 7 วัน โดยขนาดยาห้ามเกิน 1 กรัม
  10. การติดเชื้อ Gonorrhoeae ร่วมกับมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือติดเชื้อในข้อ ในเด็กหรือทารกที่มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 45 กิโลกรัม
    ยารักษาหนองใน ที่แนะนำ เซฟไตรอะโซล (Ceftriaxone) 1 กรัม/กิโลกรัม ฉีดเข้ากระแสเลือดหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว ทุก ๆ 24 ชั่วโมง นาน 7 วัน 

ยารักษาโรคหนองใน ชนิดหนองในเทียม

แนะนำให้รับประทานอะซิโทรไมซิน (Azithromycin) 1 กรัม ครั้งเดียว หรือ รับประทานด็อกซี่ไซคลิน (doxycycline) วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น นาน 7 วัน

หาก 2 สัปดาห์อาการยังไม่หายให้ไปพบแพทย์ซ้ำเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษา โดยแพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยานานขึ้นหรือรับประทานยาหลายตัวร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทั้งสองโรคนี้อาจจะเกิดขึ้นพร้อมกันได้ พบว่า ผู้ป่วยหนองในแท้มากกว่า 20% จะเป็นหนองในเทียมร่วมด้วย และหากไม่ได้รับการรักษาจะมีการลุกลามไปยังบริเวณอวัยวะใกล้เคียง จึงควรพบแพทย์เมื่อมีอาการน่าสงสัยเพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาให้ตรงจุด

ข้อแนะนำและข้อควรระวังในการใช้ยารักษาหนองใน

เพื่อการใช้ยารักษาหนองในอย่างปลอดภัย คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด

  • ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งถึงโรคประจำตัว ประวัติการใช้ยาในปัจจุบัน และประวัติการแพ้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้ยาซ้ำและยาตีกัน เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางตัวอาจขัดขวางการออกฤทธิ์ของยาชนิดอื่นหรือเสริมฤทธิ์ยาชนิดอื่นให้รุนแรงขึ้นได้
  • การใช้ยาปฏิชีวนะอาจมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับยาชนิดอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะเกิดอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย ปวดท้อง เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น
  • หากใช้ยาและมีอาการหายใจไม่สะดวก ลำคอตีบตัน ผื่นขึ้นตามตัว เนื้อเยื่ออ่อนต่างๆ บวม เช่น บริเวณตาและปาก ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที เนื่องจากผู้ใช้อาจเกิดอาการแพ้ยาปฏิชีวนะชนิดนั้นๆ
  • ผู้ที่มีภาวะโรคตับและไต ควรระมัดระวังการใช้ยาฆ่าเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา เนื่องจากยาอาจทำให้โรคตับและไตที่เป็นอยู่ทรุดหนักลง
  • ไม่ควรซื้อยาต้านจุลชีพหรือยาฆ่าเชื้อใช้เอง เนื่องจากเชื้อจุลชีพมีหลายชนิด ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา จึงจำเป็นต้องให้แพทย์วินิจฉัยโรคก่อนจ่ายยาทุกครั้งเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการรักษาสูงสุด ซึ่งยาจะต้องออกฤทธิ์จำเพาะต่อเชื้อนั้นๆ และป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจนกลายเป็นปัญหาใหญ่

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Centers for Disease Control and Prevention, https://www.cdc.gov/std/tg2015/gonorrhea.htm, 5 June 2015.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป