กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

อาการปวดบริเวณขาหนีบ (Inguinal pain)

การปวดบริเวณขาหนีบ เป็นเรื่องที่พบได้ไปในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ถ้าหากรู้สึกปวด ร่วมกับมีไข้ บวมแดง หรือมีเลือดออกมาพร้อมปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 3 พ.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการปวดบริเวณขาหนีบ (Inguinal pain)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการปวดขาหนีบมักเกิดจากการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยาน การเล่นกีฬาต่างๆ ที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบตึง หรือฉีกขาด อาการนี้เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในหมู่นักกีฬา
  • สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดขาหนีบคือ กล้ามเนื้อ เอ็นยึดกล้ามเนื้อ หรือเอ็นยึดกระดูกในบริเวณขาหนีบเกิดการตึง หรือฉีกขาดขึ้น อีกสาเหตุของอาการปวดขาหนีบที่พบบ่อยคือ โรคไส้เลื่อน (Inguinal hernia) 
  • อาการปวดขาหนีบส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เว้นแต่อาการปวดอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ร่วมกับอาการบวมที่บริเวณอัณฑะ มีไข้สูง หรือมีเลือดปนในปัสสาวะ
  • วิธีการรักษาอาการปวดขาหนีบขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หากเกิดจากต่อมน้ำเหลืองโตก็ต้องให้การรักษาภาวะต่อมน้ำเหลืองโต หากเกิดจากกล้ามเนื้อฉีก ผู้ป่วยควรพักผ่อนและงดออกกำลังกายเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ซ่อมแซมตัวเองตามธรรมชาติ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชายทุกวัย

การปวดบริเวณขาหนีบเป็นเรื่องที่พบได้ไปในผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ถ้าหากปวดขาแล้วรู้สึกปวดร่วมกับมีไข้ บริเวณขาหนีบบวมแดง หรือมีเลือดออกมาพร้อมปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อาการปวดขาหนีบคือ ความรู้สึกไม่สบายในบริเวณดังกล่าว มักเกิดจากการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยาน การเล่นกีฬาต่างๆ ที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบตึง หรือฉีกขาด อาการนี้เป็นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดในหมู่นักกีฬา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของอาการปวดขาหนีบ

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดขาหนีบคือ กล้ามเนื้อ เอ็นยึดกล้ามเนื้อ หรือเอ็นยึดกระดูกในบริเวณขาหนีบเกิดการตึง หรือฉีกขาดขึ้น การบาดเจ็บประเภทนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในนักกีฬา รวมทั้งผู้ออกกำลังกาย

อีกสาเหตุของอาการปวดขาหนีบคือ โรคไส้เลื่อน (Inguinal hernia) ที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อภายในของช่องท้องดันตัวทะลุผ่านจุดบางที่สุดในกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบออกมาด้านนอก ภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดก้อนเนื้อนูนบริเวณขาหนีบและทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตามมา

นอกจาก 2 ภาวะดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดขาหนีบได้ เช่น

  • โรคลำไส้อักเสบ
  • โรคอัณฑะอักเสบ
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ซีสต์รังไข่
  • เส้นประสาทกดทับ
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • โรคข้อสะโพกเสื่อม (Osteoarthritis of hip)
  • นิ่วในไต
  • กระดูกบริเวณขาหนีบหัก

การวินิจฉัยอาการปวดขาหนีบ

อาการปวดขาหนีบส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เว้นแต่อาการปวดอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ร่วมกับอาการบวมที่บริเวณอัณฑะ มีไข้สูง หรือมีเลือดปนในปัสสาวะ 

แพทย์จะประเมินสถานการณ์เบื้องต้นด้วยการซักประวัติและกิจกรรมที่ทำล่าสุด และอาจให้มีการตรวจเพิ่มเติมต่อไปนี้ เพื่อหาสาเหตุการปวดขาหนีบได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น

  • การตรวจโรคไส้เลื่อน แพทย์จะสอดนิ้วหนึ่งนิ้วลงในถุงอัณฑะและขอให้ผู้เข้ารับการตรวจไอแรงๆ การไอจะเพิ่มความดันของช่องท้องและผลักลำไส้เข้าสู่ช่องเปิดไส้เลื่อนดังกล่าว
  • การถ่ายรังสีเอ็กซ์เรย์และการทำอัลตร้าซาวด์ เพื่อวินิจฉัยว่า มีกระดูกร้าว ก้อนเนื้อในอัณฑะ หรือถุงน้ำรังไข่ที่ทำให้เกิดอาการปวดขาหนีบหรือไม่
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete blood count: CBC) การตรวจเลือดชนิดนี้สามารถบ่งบอกได้ว่า มีการติดเชื้อหรือไม่

การรักษาอาการปวดขาหนีบ

วิธีการรักษาอาการปวดขาหนีบนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หากเกิดจากต่อมน้ำเหลืองโตก็ต้องหาสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโตและให้การรักษาภาวะต่อมน้ำเหลืองโต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากอาการปวดขาหนีบเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อฉีก ผู้ป่วยสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้ ด้วยการพักผ่อนและงดออกกำลังกายเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ซ่อมแซมตัวเองตามธรรมชาติ 

หากรู้สึกปวด สามารถรับประทานยาพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟนร่วมกับการประคบเย็นครั้งละ 20 นาทีได้

แต่ถ้าสาเหตุของการปวดขาหนีบเกิดจากภาวะไส้เลื่อน กระดูกหัก หรือกระดูกร้าว อาจต้องรักษาซ่อมแซมกระดูกส่วนนั้นด้วยการผ่าตัด และเข้ารับการทำกายภาพบำบัด เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

การป้องกันอาการปวดขาหนีบ

การป้องกันอาการปวดขาหนีบในผู้ที่ออกกำลังกายหนัก หรือนักกีฬาที่ดีที่สุดคือ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อและวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย รวมทั้งการคลูดาวน์ซึ่งเป็นเคลื่อนไหวร่างกายเบาๆ และการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หลังการออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายค่อยๆ เย็นลงช้าๆ เพื่อลดอาการบาดเจ็บนั่นเอง

ส่วนการป้องกันการเกิดภาวะไส้เลื่อน คือการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานผักและผลไม้ เพื่อป้องกันอาการท้องผูกที่ต้องเบ่งอุจจาระอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะไส้เลื่อนได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Groin pain (male) (https://www.webmd.com/men/my-groin-hurt#1), 19 April 2020.
Verywell Health, Groin Pain: Causes, Treatment, and When to See a Doctor (https://www.verywellhealth.com/hip-pain-symptoms-groin-pain-2549492), 19 April 2020.
Paajanen H, et al, Long-standing groin pain in contact sports: A prospective case — control and MRI study. DOI: (https://bmjopensem.bmj.com/content/5/1/e000507), 20 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม