ยา Dulcolax

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ยา Dulcolax

รูปแบบและส่วนประกอบของยา Dulcolax

Dulcolax ผลิตโดยบริษัท Sanofi-Aventis ผู้แทนจำหน่ายโดยบริษัท DKSH โดย Dulcolax เป็นยาในกลุ่มยารักษาอาการท้องผูก (laxatives) สำหรับเหน็บทวาร ตัวยาประกอบด้วยบิซาโคดิล (bisacodyl) ในขนาด 10 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Dulcolax

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ บิซาโคดิล เป็นยารักษาอาการท้องผูก ในกลุ่ม stimulant laxative มีฤทธิ์กระตุ้นการเกิดเพอริสทัลซิสของลำไส้ใหญ่ โดยรบกวนการหลั่งของน้ำและอิเล็กโทรไลท์เยื่อเมือกของลำไส้ใหญ่ และบนร่างแหประสาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้ของยา Dulcolax

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการท้องผูก หรือใช้สวนทวารก่อนเข้ารับการตรวจทางทวารหนัก ก่อนหรือหลังผ่าตัด

สำหรับข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการท้องผูก ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 10 ปี เหน็บ ใช้ขนาดยาเหน็บของผู้ใหญ่ 1 เม็ด เหน็บวันละครั้ง ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุ 4-10 ปี เหน็บยาขนาด 5 มิลลิกรัมวันละครั้ง ขนาดการใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ใช้ยาเหน็บสำหรับเด็ก เหน็บวันละครั้ง

สำหรับข้อบ่งใช้ก่อนการตรวจทางทวารหนัก หรือก่อนผ่าตัด ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ เหน็บ 2-4 เม็ด ก่อนนอน หลังจากนั้นเหน็บยาเหน็บขนาดสำหรับผู้ใหญ่อีก 1 เม็ดในเช้าวันถัดไป ขนาดการชี้ ยาสำหรับเด็กอายุมากกว่า 4 ปี เหน็บ 1 เม็ด ก่อนนอน หลังจากนั้นเหน็ยยาเหน็บขนาดสำหรับเด็กอีก 1 เม็ดในเช้าวันถัดไป

เพื่อเห็นผลที่รวดเร็ว ควรเหน็บยาในขณะที่ท้องว่าง และไม่ควรรับประทานยาลดกรด นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม ภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากใช้ยา

ข้อควรระวังในการใช้ยา Dulcolax

ไม่ควรใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของลำไส้ อาการปวดท้องเฉียบพลัน อาการอักเสบเฉียบพลัน ปวดท้องรุนแรง หรือมีภาวะขาดน้ำ ควรระวังการใช้ยาในเด็กและสตรีมีครรภ์

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Dulcolax

อาจก่อให้เกิดอาการรู้สึกไม่สบายท้อง ท้องเสีย ความผิดปกติของสมดุลอิเล็กโทรไลท์ ภาวะโพแทสเซียมต่ำ

ข้อมูลการใช้ยา Dulcolax ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาทั่วไป (NDD)


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dulcolax (Bisacodyl) - Side Effects, Dosage, Interactions. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/drugs/dulcolax)
Dulcolax - Uses, Dosage, Side Effects. Drugs.com. (https://www.drugs.com/dulcolax.html)
Dulcolax (Bisacodyl) Oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing - WebMD (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-3721/dulcolax-bisacodyl-oral/details)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม