
เข้าร่วมการวิจัยทางคลินิกวันนี้
การวิจัยทางคลินิก (Clinical Trial) เป็นกระบวนการทดสอบว่า ยา วัคซีน วิธีการรักษา วิตามิน หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ฯลฯ ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ สามารถป้องกันหรือรักษาโรคได้ตรงตามวัตถุประสงค์ไหม และปลอดภัยหรือเปล่า ซึ่ง “อาสาสมัคร” ที่เข้าร่วมวิจัย นับเป็นส่วนสำคัญที่สุด ที่ทำให้การวิจัยประสบผลสำเร็จ สามารถนำนวัตกรรมทางการแพทย์เหล่านั้น มาช่วยพัฒนาให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรายอื่นๆ ให้ดียิ่งขึ้น
อ่านเรื่องการวิจัยทางคลินิกได้ที่นี่ หรือค้นหางานวิจัยที่คุณสามารถเข้าร่วมได้ เพื่อรับการรักษาใหม่ที่อาจทำให้อาการของคุณดีขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในการทำดีเพื่อสังคมวันนี้
ค้นหาการวิจัยทางคลินิกที่คุณเข้าร่วมได้

รับการรักษาแบบใหม่
คุณสามารถเข้ารับการรักษาแบบใหม่ที่อาจจะช่วยอาการคุณให้ดีขึ้นได้

ดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญและสถาบันที่น่าเชื่อถือ
คุณสามารถเข้าร่วมการวิจัยทางการแพทย์ที่มีผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยสถาบันชื่อดังในประเทศไทยควบคุมดูแล

ทำความดีให้กับสังคม
คุณสามารถมีส่วนช่วยให้การวิจัยก้าวหน้า เพื่อทำให้มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพเข้าถึงคนได้มากขึ้น
รายละเอียด
ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบใช้ช่องปากกับช่องคลอดเพื่อลดอาการปวดใน Endometriosis: การทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม
ความหนาแน่นของกล้ามเนื้อ hamstrings Proprioceptive Neuromuscular Facilitation stretching PNF stretching Reciprocal inhibitionคุณมีสิทธิ์ถ้า...
- เคยหรือกำลังประสบอาการปวดประจำเดือน
- ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ ช็อกโกแลตซีสต์
- ไม่มีการวางแผนตั้งครรภ์
- ผ่านการมีเพศสัมพันธ์
- สมัครใจที่จะหยุดการรักษาอื่น ๆ เป็นเวลาสองเดือน
คุณไม่มีสิทธิ์ถ้าหาก...
- ได้รับคำแนะนำให้หยุดกินยาคุมกำเนิด
- มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่า 30 กก./ม.2
- มีประวัติครอบครัวที่เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่
- มีประวัติครอบครัวที่มีภาวะลิ่มเลือดคั่งในหลอดเลือดดำ
รายละเอียดเพิ่มเติม
หมายเลขอ้างอิง | TCTR20190207001 |
---|---|
เพศ | หญิง |
อายุ | 20 - 45 |
ระยะ | Phase N/A |
สถานะ | รับคนอยู่ (Recruiting) |
ตำแหน่งที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร |
ค่าตอบแทน | None |
แหล่งข้อมูล | ClinicalTrials.in.th |
รายละเอียด
ผลของการฝังเข็มด้วยไฟฟ้าระยะสั้นแบบธรรมดากับการรักษาโรคอ้วนในหญิงไทย
การศึกษาในผู้หญิงโรคอ้วนที่ใช้การฝังเข็มคุณมีสิทธิ์ถ้า...
- ได้รับพิจารณาว่าเป็นโรคอ้วน โดยมีค่าดัชนีมวลกายสูง
คุณไม่มีสิทธิ์ถ้าหาก...
- ได้รับวินิจฉัยว่ามีภาวะเลือดออกผิดปกติ
- ได้รับวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของตับหรือไต
- กำลังตั้งครรภ์
- กำลังกินยาลดความอ้วน
- กำลังกินยารักษาโรคเบาหวาน
- กำลังกินยาลดไขมันในเลือด
รายละเอียดเพิ่มเติม
หมายเลขอ้างอิง | TCTR20190118002 |
---|---|
เพศ | หญิง |
อายุ | 18 - 65 |
ระยะ | Phase 2 |
สถานะ | รับคนอยู่ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร |
ค่าตอบแทน | ไม่มี |
แหล่งข้อมูล | ClinicalTrials.in.th |
รายละเอียด
การเปรียบเทียบความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกต่อการกระตุ้นรังไข่ระหว่าง Letrozole และ Clomiphene Citrate
การศึกษาภาวะมีบุตรยากคุณมีสิทธิ์ถ้า...
- มีประจำเดือนปกติ (9 รอบต่อปีหรือมากกว่า)
- มีช่วงรอบเดือนเฉลี่ยระหว่างรอบ อยู่ระหว่าง 21 ถึง 35 วัน
- มีท่อนำไข่อย่างน้อย 1 ท่อ
- มีคู่/สามีที่มีจำนวนตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวได้ 15 ล้านตัวต่อการหลั่งอสุจิแต่ละครั้ง
คุณไม่มีสิทธิ์ถ้าหาก...
- เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติที่ตรวจสอบได้จากไวรัส (HSV), การตรวจโพรงมดลูกและปีกมดลูกทางรังสีวิทยา (HSG), การฉีดนําเกลือในโพรงมดลูก (SIS)
- รับการรักษาด้วยการรับฮอร์โมนเพศในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา
รายละเอียดเพิ่มเติม
หมายเลขอ้างอิง | TCTR20170221002 |
---|---|
เพศ | หญิง |
อายุ | 18 - 42 |
ระยะ | Phase 4 |
สถานะ | รับคนอยู่ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร |
ค่าตอบแทน | None |
แหล่งข้อมูล | ClinicalTrials.in.th |
รายละเอียด
กลยุทธ์เยาวชนมุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการป้องกันการติดเชื้อจากการติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย
หนองในแท้ในผู้ชาย หนองในเทียมในผู้ชายคุณมีสิทธิ์ถ้า...
- เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย
- พิจารณาว่าตัวเองมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี
- มีเพศสัมพันธ์กับคู่มากกว่าหนึ่งคนในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา
- เคยมีคู่ที่มีเชื้อเอชไอวีเป็นบวก
- ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำระหว่างมีเพศสัมพันธ์
คุณไม่มีสิทธิ์ถ้าหาก...
- กำลังมีอาการของระยะเริ่มแรกในการติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่สามารถยืนยันได้
รายละเอียดเพิ่มเติม
หมายเลขอ้างอิง | TCTR20180627003 |
---|---|
เพศ | ชาย |
อายุ | 15 - 19 |
ระยะ | N/A |
สถานะ | รับคนอยู่ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร |
ค่าตอบแทน | None |
แหล่งข้อมูล | https://www.clinicaltrials.in.th |
รายละเอียด
การศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเครื่องดื่มโทนิคคอลลาเจนสายสั้นต่อริ้วรอย ความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้นของผิว และสภาพผิวโดยรวมของกลุ่มผู้หญิงไทย (การทดสอบทางคลินิกของเครื่องดื่มคอลลาเจน)
คอลลาเจน วัดความยืดหยุ่นของผิว ด้านริ้วรอย
คอลลาเจนเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของผิวตามธรรมชาติที่พบว่าช่วยลดความแก่ของผิว การศึกษานี้มุ่งทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสูตรเครื่องดื่มโทนิคคอลลาเจนสายสั้น (Hydrolyzed Collagen) ในด้านริ้วรอย ความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้นของผิว รวมไปถึงสภาพผิวโดยรวมของอาสาสมัครเพศหญิงที่มีสุขภาพดีและมีคะแนนความแก่ของผิวระดับปานกลางถึงสูง
เครื่องดื่มโทนิคคอลลาเจนใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับลดริ้วรอย กระชับผิว และชะลอริ้วรอยตามวัยอื่น ๆ ของผิวอย่างแพร่หลาย การศึกษานี้จะวัดค่าปัจจัยความแก่ของผิวที่กำหนด (การตรวจร่างกาย การวัดชีวกายภาพ การวิเคราะห์ปริมาณโปรตีน การตรวจสารชีวเคมีในร่างกาย) และการประเมินตนเองก่อนและหลังการกินเครื่องดื่มโทนิคคอลลาเจนสายสั้นสูตร 1, 2 หรือเครื่องดื่มหลอก ของอาสาสมัครเพศหญิงที่สุขภาพดีที่มีระดับคะแนนความแก่ของผิวระดับปานกลาง-สูง
การทดลองจะเปรียบเทียบริ้วรอยตีนกาของอาสาสมัคร ในขณะที่ค้นหาความปลอดภัยและผลของอาหารเสริมต่อค่าสมรรถภาพของตับ (LFT) ค่าไนโตรเจนในรูปยูเรียที่มีในกระแสเลือด (BUN) ค่าครีอะตินีนในการตรวจสอบสมรรถภาพของไต (Cr) อัตราการกรองของไต (GFR) ค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) และระดับกรดยูริค
นอกจากนี้ยังมีการวัดความยืดหยุ่นของผิว พารามิเตอร์ความชุ่มชื้นของผิว ระดับของเหลวทางผิวหนังของโปรคอลลาเจนชนิด 1 อีลาสติน โปรตีนปิบริลลิน และ ไบไกลแคน รวมถึงการเก็บคะแนนประเมินตัวเองถึงการออกฤทธิ์ต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ ผลกระทบต่อผิว และปฏิกิริยาการแพ้อื่น ๆ และความอร่อยถูกปากของผลิตภัณฑ์หลังจากกินเครื่องดื่มโทนิคคอลลาเจนสายสั้นสูตร 1 , 2 หรือเครื่องดื่มหลอก โดยวิเคราะห์ระหว่างกลุ่มและในกลุ่ม
คุณมีสิทธิ์ถ้า...
- อาสาสมัครเพศหญิงอายุ 40-60 ปี
- เป็นผู้ที่มีลักษณะผิวหน้าที่ถูกแสงแดดทำลายชนิด I (ไม่มีริ้วรอย) และ III (มีริ้วรอยขณะพัก)
- เป็นผู้ที่มีลักษณะของสีผิวตามเกณฑ์ Fitpatrick ในกลุ่ม I (ผิวขาว/มีกระ) และ V (ผิวสีน้ำตาลเข้ม)
- มีสุขภาพกายและจิตปกติดี
- อ่านและเขียนภาษาไทยได้
- สมัครใจในการทำตามกฎการศึกษาและเข้ามาที่คลินิกตามตารางที่กำหนดได้
- ยินยอมเข้าร่วมการศึกษา
คุณไม่มีสิทธิ์ถ้าหาก...
- เป็นโรคผิวหนังชนิดเฉียบพลัน ได้แก่ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน จากการทดสอบหรือโรคผิวหนัง มีแผลเป็น ผิวไหม้จากแสงแดด มีไฝ แต่ไม่สามารถยืนยันได้
- แพ้อาหารที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร หรืออาหารไม่ย่อย
- รับประทานยาต้านการอักเสบ หรือยาปฏิชีวนะ และ/หรือยาต้านฮิสตามีน ภายใน 4 สัปดาห์ก่อนเริ่มการทดสอบ
- อยู่ระหว่างกินยาเม็ดคุมกำเนิด
- ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- อาสาสมัครมีประวัติการรักษาในอดีตที่ผู้ทำการศึกษามีความเห็นว่าอาจเป็นอันตรายต่ออาสาสมัคร
- อาสาสมัครที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิต้านทาน หรือ เป็นโรคที่ร้ายแรง ภายใน 6 เดือนก่อนเริ่มการทดลอง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต โรคเบาหวานขั้นรุนแรง หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะผิวหนังผิดปกติรุนแรง เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ ฝ้า
- ดัชนีมวลกาย มากกว่า 23
- ติดสุราหรือยาเสพติด
- มีการเข้าร่วมการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผิวหนังบริเวณเดียวกับที่จะทำการทดสอบ ภายใน 2 สัปดาห์หรือเข้าร่วมการทดสอบผลิตภัณฑ์ยาภาย 4 สัปดาห์ก่อนเริ่มการทดสอบนี้
- สัมผัสกับแดดจัดหรือแสงยูวีสังเคราะห์จากห้องอาบแดดภายใน 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มหรือระหว่างการทดสอบ
รายละเอียดเพิ่มเติม
หมายเลขอ้างอิง | TCTR20190103002 |
---|---|
เพศ | หญิง |
อายุ | 40 - 60 |
ระยะ | Phase 1 |
สถานะ | รับคนอยู่ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร |
ค่าตอบแทน | ค่าเดินทางครั้งละ 600 บาท แต่ถ้าทำหัตถการ ดูดน้ำจากผิวหนังได้อีกครั้งละ 2,000 บาท |
แหล่งข้อมูล | ClinicalTrials.in.th |
รายละเอียด
การศึกษาผลของการฝึกที่ผสานกันของการรับรู้และร่างกายต่อการรับรู้ในกลุ่มผู้มีภาวะการรับรู้และความเข้าใจบกพร่องเล็กน้อย (MCI)
ความเข้าใจบกพร่องเล็กน้อย สารกระตุ้นสมองชนิด การทำงานของไมโตโคเดรีย ผู้สูงอายุ อัลไซเมอร์การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกฝนทางกายร่วมกับการฝึกการเรียนรู้ ต่อความสามารถในการเรียนรู้ รวมไปถึงระดับของ BDNF และ การทำงานของไมโตคอนเดรียของผู้ผ่วยที่มีภาวะการรับรู้และความเข้าใจบกพร่องเล็กน้อย (MCI) สมมติฐานคือ 1) โปรแกรมการฝึกฝนทางกายร่วมกับการฝึกการเรียนรู้จะให้ผลที่ดีกว่าการฝึกทางกายหรือการฝึกการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว 2) ระดับการเรียนรู้ที่ดีขึ้นมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับระดับของ BDNF ในเลือด และ การทำงานของไมโตคอนเดรีย
คุณมีสิทธิ์ถ้า...
- เข้าเกณฑ์ภาวะระบบประสาทการรับรู้บกพร่องเล็กน้อย (mNCD: mild neurocognitive disorders) หรือก่อนหน้านี้เรียกว่าภาวะการรับรู้และความเข้าใจบกพร่องเล็กน้อย (MCI) โดยยึดตามเกณฑ์คู่มือวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตฉบับ 5 ล่าสุด (DSM-V)
- เข้าใจขั้นตอนการศึกษาและเต็มใจเข้าร่วมทดลอง
- สามารถเข้าร่วมได้ตามขั้นตอนและเวลาที่กำหนด
- ไม่อยู่ระหว่างการรักษาด้านการรับรู้ (cognition) และไม่ได้วางแผนที่จะเริ่มการรักษาในช่วงเวลาที่ทดลอง
คุณไม่มีสิทธิ์ถ้าหาก...
- อยู่ในภาวะที่ไม่ปลอดภัยที่จะออกกำลังกาย
- ได้รับการวินิจฉัยว่ามีสภาวะทางสมองอื่นๆ (ได้แก่ โรคพาร์คินสัน โรคหลอดเลือดสมอง โรคปลอกประสาทเสื่อม โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์) ที่มีผลต่อการรับรู้และการเคลื่อนไหว
- มีอาการซึมเศร้า
- เป็นโรคที่แสดงอาการเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมไม่ได้ (ได้แก่ โรคข้ออักเสบ โรคหืด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ)
- ออกกำลังกายเป็นประจำ (อย่างน้อย 30 นาที/วัน 3 วัน/สัปดาห์)
รายละเอียดเพิ่มเติม
หมายเลขอ้างอิง | NCT03805620 |
---|---|
เพศ | ทุกเพศ |
อายุ | 60 - 80 |
ระยะ | N/A |
สถานะ | รับคนอยู่ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | เชียงใหม่ |
ค่าตอบแทน | N/A |
แหล่งข้อมูล | https://clinicaltrials.gov |
รายละเอียด
การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของเซรั่มบำรุงผมจากสารสกัดพืชตระกูลสน (larix europaea) ร่วมกับสมุนไพรต่างๆเปรียบเทียบกับไมน็อกซิดิลชนิดทาในการรักษากลุ่มโรคผมบางกลางศีรษะจากกรรมพันธุ์ในเพศชายและเพศหญิง
Norwood-Hamilton classification IIa-V (มีการร่นลงของแนวเส้นผมส่วนหน้าและบริเวณขมับ และ/หรือ ผมบางหรือไม่มีผมบริเวณกลางศีรษะ ในเพศชาย) Ludwig classification I-4,II-1, frontal type (มีผมบางหรือบางมากจนเห็นหนังศีรษะบริเวณศีรษะด้านบนส่วนหน้า ในเพศหญิง)ลักษณะของคนไข้ที่มีสิทธิ์:
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคผมบางจากพันธุกรรม และมีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปีที่มีสุขภาพแข็งแรง
ลักษณะคนไข้ที่ไม่มีสิทธิ์:
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือ ต้องการมีบุตร
- ผู้ที่กำลังให้นมบุตร
- ผู้ที่มีประวัติได้รับยาเฉพาะที่,ยากิน เพื่อรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรม
- ผู้ป่วยที่มีประวัติได้รับการปลูกผม ภายใน 12 เดือนก่อนเข้าร่วมโครงการวิจัย
- ผู้ป่วยที่มีระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง , ประจำเดือนมาไม่ปกติ , สิวหรือขนดก
- ผู้ป่วยโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (ระดับ ferritin ต่ำ)
- ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (การทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ หรือ ฮอร์โมน TSH ผิดปกติ
- ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิด หรือ การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน
- ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือ ยาที่มีพิษต่อเซลล์
รายละเอียดเพิ่มเติม
เพศ | ทุกเพศ |
---|---|
อายุ | อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี |
ระยะ | N/A |
สถานะ | รับคนอยู่ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | รพ. ชลประทาน จังหวัด นนทบุรี |
ค่าตอบแทน | ค่าตอบแทนในการตรวจครั้งละ 200 บาท |
แหล่งข้อมูล | Masa Lab |
รายละเอียด
การศึกษาการทดสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยของครีมสกัดจากชะเอมเทศร่วมกับสมุนไพรต่างๆ ที่มีฤทธิ์เสริมสร้างความชุ่มชื้นเปรียบเทียบกับสเตียรอยด์ชนิดทาสำหรับกลุ่มโรคผื่นผิวหนังอักเสบและสะเก็ดเงิน
มีอาการผื่นผิวหนังอักเสบ (allergic dermatitis) เป็นโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)ลักษณะของคนไข้ที่มีสิทธิ์:
- ผู้ป่วยเพศชายหรือเพศหญิงที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี
- ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่าเป็น ผื่นผิวหนังอักเสบ
- ผู้ป่วย ไม่มีการใช้ยาสเตียรอยด์ หรือยาทาชนิดอื่นๆ บริเวณผื่นที่จะทำการทดลองอย่างน้อย 1 เดือน
- ผู้ป่วยยังไม่ได้รับประทานยาแก้แพ้ แก้คัน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนเข้าร่วมการวิจัย
ลักษณะคนไข้ที่ไม่มีสิทธิ์:
- ผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ หรือ ผู้ป่วยที่ให้นมบุตร
- ผู้ที่ป่วยที่เคยแพ้ส่วนประกอบต่างๆ ของ metader soothing care cream และ ครีม 0.1% Triamcinolone acetonide
รายละเอียดเพิ่มเติม
เพศ | ทุกเพศ |
---|---|
อายุ | อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี |
ระยะ | N/A |
สถานะ | รับคนอยู่ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | รพ. ชลประทาน จังหวัด นนทบุรี |
ค่าตอบแทน | ค่าตอบแทนในการตรวจครั้งละ 200 บาท |
แหล่งข้อมูล | Masa Lab |
รายละเอียด
การศึกษาผลของแคปซูลแอสตาแซนธินพลัส (60 วัน วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า 1 แคปซูล) ต่อภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นและภาวะอักเสบในเลือด ความล้าของกล้ามเนื้อและสายตา และรอยย่นผิวหนังในผู้ที่มีสุขภาพปกติ
ท่านอาจไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงในการเข้าร่วมการวิจัยนี้ แต่ละท่านจะได้ทราบสุขภาพร่างกาย และข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับการประเมินสรรพคุณทางคลินิกของอาหารเสริม
ลักษณะของคนไข้ที่มีสิทธิ์:
- ผู้ป่วยเพศชายหรือหญิง อายุ 30-50 ปี
- ผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ดัชนีมวลกาย อยู่ในช่วง 18.5-24.9 กก/ม2)
- ผู้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคตับ โรคไต โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ไม่มีภาวะติดเชื้อเรื้อรัง
รายละเอียดเพิ่มเติม
เพศ | ทุกเพศ |
---|---|
อายุ | อายุ 30-50 ปี |
ระยะ | N/A |
สถานะ | รับคนอยู่ |
ตำแหน่งที่ตั้ง | กลุ่มวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
แหล่งข้อมูล | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
รายละเอียด
การศึกษาความสัมพันธ์ของความยาวเทโลเมียร์ กับอายุ ภาวะเครียดจากออกซิเดชัน การอักเสบ เมตาบอลิซึม สมรรถภาพทางกาย ความรู้ความเข้าใจ และคุณภาพชีวิตของชาวไทยที่มีน้ำหนักตัวปกติ และที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อศึกษาผลของภาวะน้ำหนักเกิน/โรคอ้วนและอายุ ต่อความยาวเทโลเมียร์ในชาวไทย
- เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวเทโลเมียร์กับตัวแปรต่างๆ ได้แก่ อายุ ภาวะเครียดจากออกซิเดชัน ภาวะการอักเสบ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เมตาบอลิซึม สมรรถภาพทางกาย ความรู้ความเข้าใจ และคุณภาพชีวิตในผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติและที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
สิ่งที่คุณจะได้ทดสอบเมื่อเข้าร่วมงานวิจัยนี้
- ตรวจสุขภาพกายและจิต
- ตรวจอายุชีวภาพจาก DNA (ความยาวเทโลเมียร์)
- ตรวจการใช้พลังงานของร่างกาย
- วัดสมรรถภาพทางกาย
คุณมีสิทธิ์ถ้า...
- เพศชายหรือหญิง
- อายุระหว่าง 20-70 ปี
- ดัชนีมวลกาย (BMI) ≥ 18.5 กก./ม.2
- ไม่ใช้อาหารเสริมทุกชนิดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนการคัดเข้าโครงการ
- ไม่เข้าโปรแกรมลดน้ำหนักใดๆ
- น้ำหนักขึ้นลงไม่เกิน 2 กก. ในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนการเข้าโครงการ
- ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุราเป็นประจำ
รายละเอียดเพิ่มเติม
เพศ | ทุกเพศ |
---|---|
อายุ | อายุ 20-70 ปี |
ระยะ | N/A |
สถานะ | รับคนอยู่ |
แหล่งข้อมูล | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
รายละเอียด
การศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานแบบฮอร์โมนรวมกับฮอร์โมนเดี่ยวโปรเจสโตรเจนต่อความชุกของการเปลี่ยนสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดโดยใช้ Nugent score: การศึกษาแบบสุ่ม
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราการลดลงของการเปลี่ยนสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดต่อผลการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานแบบฮอร์โมนรวม กับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานแบบฮอร์โมนเดี่ยวโปรเจสโตรเจน
- เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานแบบฮอร์โมนรวม กับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานแบบฮอร์โมนเดี่ยวโปรเจสโตรเจน ต่อการภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดจากการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
- เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานแบบฮอร์โมนรวม กับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานแบบฮอร์โมนเดี่ยวโปรเจสโตรเจน ต่อการเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น การติดเชื้อปรสิต การติดเชื้อราในช่องคลอด
- เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจและผลข้างเคียงของการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานแบบฮอร์โมนรวม กับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานแบบฮอร์โมนเดี่ยวโปรเจสโตรเจนอย่างต่อเนื่อง
สิ่งที่คุณจะได้ทดสอบเมื่อเข้าร่วมงานวิจัยนี้
- เข้ารับบริการตรวจภายในและตรวจวินิจฉัยภาวะการเปลี่ยนสมดุลของช่องคลอดโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
- ถ้าผู้เข้าร่วมวิจัยมีความประสงค์ต้องการทานยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานอยู่แล้ว จะได้รับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้เข้าร่วมการศึกษาที่จะได้รับ 200 บาท/ครั้ง
คุณมีสิทธิ์ถ้า...
- เป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 18-45 ปีบริบูรณ์
- เป็นหญิงที่ต้องการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน เพื่อการคุมกำเนิดไม่น้อยกว่า 3 เดือน
- มีสุขภาพร่างกายจิตใจแข็งแรงและไม่ต้องรับประทานยาใดเป็นประจำ
- มีประวัติประจำเดือนมาสม่ำเสมอ อย่างน้อยสามรอบเดือนติดต่อกัน
- ไม่มีประวัติตกขาวผิดปกติ หรือมีอาการของช่องคลอดอักเสบและระคายเคืองอย่างน้อย 1 เดือน
- เป็นหญิงเชื้อชาติไทย หรือรู้/เข้าใจ/เขียนภาษาไทยได้ดี
- มีประวัติคลอดบุตรแล้วไม่ต่ำกว่า 6 สัปดาห์ และหยุดให้นมบุตรแล้ว
รายละเอียดเพิ่มเติม
เพศ | หญิง |
---|---|
อายุ | อายุ 18-45 ปีบริบูรณ์ |
ระยะ | ปิดรับสมัครวันที่ 10 เมษายน 2563 |
สถานะ | รับคนอยู่ |
แหล่งข้อมูล | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล |
รายละเอียด
การศึกษาเปรียบเทียบแบบสุ่มถึงประสิทธิภาพของยาเม็ดชนิดเหน็บช่องคลอด เมโทรนิดาโซล 750 มิลลิกรัม และ ไมโคนาโซล 200 มิลลิกรัม กับยาเม็ดชนิดรับประทานเมโทรนิดาโซล ในการรักษาภาวะสมดุลในช่องคลอดเปลี่ยนแปลง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการรักษาภาวะสมดุลในช่องคลอดเปลี่ยนแปลง โดยใช้ยาเมโทรนิดาโซล 2 กรัม รับประทานครั้งเดียวกับยานีโอพีโนแทรน ฟอร์ท ซึ่งมีส่วนประกอบของยาเมโทรนิดาโซล 750 มิลลิกรัม และยาไมโคนาโซล 200 มิลลิกรัม เหน็บช่องคลอดวันละ 1 เม็ด จำนวน 7 วัน
- เพื่อเปรียบเทียบผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยารักษาทั้งสองชนิด ซึ่งใช้ในการวิจัย
- เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างยาที่ใช้รักษาในการวิจัยครั้งนี้ทั้ง 2 ชนิด
- เพื่อเปรียบเทียบผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากยาทั้ง 2 ชนิด
สิ่งที่คุณจะได้ทดสอบเมื่อเข้าร่วมงานวิจัยนี้
- ยาเหน็บช่องคลอดหรือยาเม็ดชนิดรับประทานซึ่งมีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน
- ได้รับการรักษาภาวะสมดุลในช่องคลอดเปลี่ยนแปลง ด้วยการรักษาทางเลือก และการรักษาตามมาตรฐานอย่างเหมาะสม
- ได้รับการตรวจติดตามอาการหลังการรักษาและได้รับการรักษาที่เหมาะสมหากอาการยังไม่ดีขึ้น
- ได้รับติดตามการประเมินการกลับเป็นซ้ำ รวมถึงความพึงพอใจของยาที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้เข้าร่วมการศึกษาที่จะได้รับ 200 บาท/ครั้ง
คุณมีสิทธิ์ถ้า...
- เป็นสตรีวัยเจริญพันธ์อายุระหว่าง 18-45 ปี
- ได้รับการวินิจฉัยเป็น Bacterial vaginosis (ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย) โดยใช้ Amsel’s criteria
- สามารถงดเพศสัมพันธ์ในช่วงการรักษา 7 วัน หากได้รับการสุ่มคัดเลือกให้ใช้ยาเม็ดชนิดเหน็บช่องคลอด
- ไม่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่ การติดเชื้อ HIV
- ไม่มีประวัติแพ้ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) และยาไมไคนาโซล (Miconazole) ทั้งรูปยารับประทานและยาเหน็บ
- สามารถงดดื่มสุราในช่วงการรักษาจนถึง 24 ชั่วโมงหลังจบการศึกษา
รายละเอียดเพิ่มเติม
เพศ | หญิง |
---|---|
อายุ | อายุ 18-45 ปี |
ระยะ | ปิดรับสมัครวันที่ 10 เมษายน 2563 |
สถานะ | รับคนอยู่ |
แหล่งข้อมูล | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล |
รายละเอียด
การศึกษาเปรียบเทียบผลข้างเคียงในสตรีวัยเจริญพันธุ์ระหว่างการบริหารการคุมกำเนิดรูปแบบชนิดฝังยา 1 หลอดใต้ผิวหนัง และการคุมกำเนิดรูปแบบชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อศึกษาเปรียบเทียบภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดเล็กน้อยที่ไม่ต้องใช้ผ้าอนามัยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ฝังยาชนิด 1 หลอดใต้ผิวหนัง เทียบกับสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ว่ามีผลงานวิจัยแตกต่างจาก งานวิจัยที่เคยทําในอดีตหรือไม่ อย่างไร
- เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงน้ําหนัก (กิโลกรัม); ดัชนีมวลกาย (กิโลกรัม/เมตร2) ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ใช้ยาคุมกําเนิดชนิดฉีดเข้ากล้ามและชนิดฝังยาใต้ผิวหนังชนิด 1 หลอด
- เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเกิดภาวะประจําเดือนแบบปกติ; ระยะห่างของรอบเดือนแต่ละรอบ 21-35 วัน มาครั้งละ 2-6 วันและภาวะขาดประจําเดือนจากการคุมกําเนิดระหว่างสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ฝังยาชนิด 1 หลอด และสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ฉีดยา
- เพื่อเปรียบเทียบดูการยอมรับวิธีการคุมกําเนิดและผลข้างเคียงในวิธีการคุมกําเนิดแบบชนิดฉีดเข้ากล้ามและแบบฝังยาใต้ผิวหนังชนิด 1 หลอด
- เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการคุมกําเนิดจากวิธีการคุมกําเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวโพรเจสติน ทั้ง 2 ชนิด
สิ่งที่คุณจะได้ทดสอบเมื่อเข้าร่วมงานวิจัยนี้
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้เข้าร่วมการศึกษาที่จะได้รับ 400 บาท/ครั้ง
คุณมีสิทธิ์ถ้า...
- เป็นสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ 18-45 ปี ที่ต้องการใช้วิธีการคุมกําเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวโพรเจสติน แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฝังเข้าใต้ผิวหนังเพื่อการคุมกําเนิดไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- มีสุขภาพร่างกายจิตใจแข็งแรงสมบูรณ์
- มีประวัติรอบเดือนปกติ ระยะห่างของรอบเดือนแต่ละรอบ 21-35 วัน มาครั้งละ 2-6 วัน อย่างน้อย 3 รอบ ติดต่อกันก่อนเข้าร่วมงานวิจัย
- เป็นสตรีผู้มีปัญหาเนื่องจากได้รับผลข้างเคียงจากการคุมกําเนิดวิธีอื่น
รายละเอียดเพิ่มเติม
เพศ | หญิง |
---|---|
อายุ | อายุ 18-45 ปี |
ระยะ | ปิดรับสมัครวันที่ 10 เมษายน 2563 |
สถานะ | รับคนอยู่ |
แหล่งข้อมูล | คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล |