กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เสมหะปนเลือด (Blood-Tinged Sputum)

มีเสมหะปนเลือดอันตรายหรือไม่ สาเหตุเกิดจากอะไร วิธีการรักษา และวิธีการป้องกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 7 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 8 ก.พ. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เสมหะปนเลือด (Blood-Tinged Sputum)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เสมหะ คือ ส่วนผสมของน้ำลายกับเมือกที่ขย้อนออกมาเวลาที่คุณไอ จนกลายเป็นก้อนเหลวเหนียวติดอยู่ในลำคอ ซึ่งหากคุณมีอาการไอเรื้อรัง หรือเจ็บป่วยบางอย่าง เสมหะก็อาจมีเลือดปะปนอยู่ด้วยได้
  • สาเหตุที่ทำให้เสมหะมีเลือดปนซึ่งพบได้บ่อย ได้แก่ อาการไอเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ เลือดกำเดาไหล การติดเชื้อภายในช่องอก ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่พบได้อีก เช่น โรคมะเร็งปอด ทางเดินหายใจเกิดการบาดเจ็บ ติดเชื้อวัณโรค โรคปอดบวม
  • หากเสมหะของคุณมีเลือดปน คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคุณมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก อาเจียนเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก 
  • การรักษาอาการเสมหะปนเลือดสามารถทำได้หลายทาง เช่น ดื่มน้ำเพื่อล้างเสมหะ การรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาแก้ไอ ยาฆ่าเชื้อ หรืออาจเป็นการผ่าตัด หากคุณมีก้อนเนื้อ หรือลิ่มเลือดอุดตันอยู่ในลำคอ
  • เพราะอาการเสมหะปนเลือดอาจเกิดจากโรคร้ายที่ต้องรีบทำการรักษา และอาการของโรคก็อาจยังไม่แสดงออกมาจนกว่าจะถึงระยะร้ายแรง คุณจึงควรหมั่นตรวจสุขภาพ เพื่อให้รู้ทันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นโดยที่ยังไม่รู้ตัว (ดูแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็ง ตรวจสุขภาพทั้งผู้ชาย และผู้หญิงได้ที่นี่)

เสมหะ (Sputum) หมายถึง ส่วนผสมของน้ำลาย และเมือกที่ขย้อนออกมาเมื่อคุณไอ ในบางครั้งอาจพบว่าก้อนเสมหะนั้นมีเลือดปนอยู่ด้วยซึ่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเลือดดังกล่าว อาจมาจากอวัยวะแห่งหนึ่งในทางเดินหายใจในร่างกายของคุณ ได้แก่

  • ขั้วปอด หรือแขนงปอด
  • ปอด
  • ช่องปาก
  • ลำคอ
  • จมูก

ส่วนมากแล้ว เสมหะปนเลือดสามารถพบได้บ่อย และไม่ได้มาจากสาเหตุร้ายแรงอะไร แต่ก็อาจจะมีบางกรณีที่พบเสมหะปนเลือด ร่วมกับอาการไอหรืออาเจียนเป็นเลือด ในกรณีนี้คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของเสมหะปนเลือด

1. สาเหตุที่พบบ่อย 

2. สาเหตุที่รุนแรง และพบได้ไม่บ่อยของอาการเสมหะปนเลือด 

  • โรคมะเร็งปอด หรือโรคมะเร็งลำคอ
  • โรคปอดบวม (Pneumonia)
  • โรคปอดบวมน้ำ (Pulmonary Edema) เป็นภาวะที่มีน้ำหรือของเหลวคั่งอยู่ในปอดจนเต็ม
  • การสูดสำลัก (Pulmonary Aspiration) เป็นการสูด หรือหายใจนำสิ่งแปลกปลอมนอกจากอากาศเข้าสู่ปอด
  • โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism)
  • โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)
  • การติดเชื้อบางชนิด เช่น วัณโรค (Tuberculosis)
  • การบาดเจ็บต่อระบบทางเดินหายใจ
  • การได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด

การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือการสูดสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของเสมหะปนเลือดในวัยเด็ก

หากมีอาการเสมหะปนเลือด ควรเข้าพบแพทย์เมื่อใด

คุณควรเข้าพบแพทย์ทันที หากพบอาการเหล่านี้

  • ไอ หรืออาเจียนออกมาเป็นเลือด แม้จะมีเสมหะน้อยมาก
  • อ่อนแรง
  • เวียนศีรษะ
  • เหงื่อออกทั่วร่างกาย
  • เมื่อยล้า
  • หัวใจเต้นถี่
  • น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • หายใจหอบถี่ หรือหายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • มีเลือดปนในปัสสาวะหรืออุจจาระด้วย

การวินิจฉัยโรคจากอาการเสมหะปนเลือด

เมื่อเข้าพบแพทย์ด้วยอาการเสมหะปนเลือด แพทย์จะซักประวัติที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุ เช่น

  • มีอาการเสมหะปนเลือดมานานเท่าไรแล้ว
  • ปริมาณเลือดในเสมหะ
  • ลักษณะของเสมหะ ความเหนียวข้น
  • ไอบ่อยมากแค่ไหนในแต่ละวัน

แพทย์อาจฟังเสียงปอดของคุณขณะหายใจเข้าออก และอาจตรวจหาอาการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ด้วย เช่น หัวใจเต้นถี่ หายใจมีเสียงวี้ด หรือมีเสียงอื่นขณะหายใจ เพื่อให้ได้วินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด

นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจด้วยวิธีถ่ายภาพรังสี หรือการตรวจอื่นๆ ประกอบการวินิจฉัย เช่น

  • การส่งถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-Ray)
  • การสแกนเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (Chest CT Scan) เพื่อจะได้ภาพที่ละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น
  • การส่องกล้องหลอดลม (Bronchoscopy) แพทย์จะสอดกล้องผ่านด้านหลังของลำคอ เข้าสู่คอหอย และหลอดลม เพื่อตรวจว่ามีสิ่งแปลกปลอมอุดตัน หรือมีความผิดปกติอะไรหรือไม่
  • การเจาะตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ รวมถึงตรวจสอบว่าเม็ดเลือดของคุณปกติหรือไม่
  • การตัดตรวจชิ้นเนื้อ (Biopsy) แพทย์จะตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อจากปอดของคุณ เพื่อส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาความผิดปกติ

การรักษาอาการเสมหะปนเลือด

การรักษาเสมหะปนเลือดจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การรับประทานยาฆ่าเชื้อไวรัส เช่น Oseltamivir (Tamiflu) เพื่อลดระยะเวลา หรือความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัส
  • การรับประทานยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อ เช่น โรคปอดบวมจากแบคทีเรีย
  • การรับยาแก้ไอ (Cough Suppressants) เพื่อบรรเทาอาการไอต่อเนื่อง
  • การผ่าตัดเพื่อรักษาเนื้องอก หรือลิ่มเลือดอุดตัน
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้นเพื่อล้างเสมหะที่คงค้างอยู่

ผู้ป่วยที่ไอ หรืออาเจียนเป็นเลือดปริมาณมาก แพทย์จะรักษาโดยเน้นที่การห้ามเลือดก่อน เพื่อป้องกันการสูดสำลัก ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีวัสดุแปลกปลอมเข้าไปในปอดของคุณ และตามด้วยการรักษาสาเหตุที่ตามมา

แต่บางกรณี การรับประทานยาแก้ไออย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการอุดกั้นภายในทางเดินหายใจ หรือทำให้เสมหะติดอยู่ในปอดของคุณนานขึ้นกว่าเดิม หรืออาการแย่ลงจากการติดเชื้อ

การป้องกันอาการเสมหะปนเลือด

มีหลายวิธีที่สามารถป้องกันอาการเสมหะปนเลือดได้ เช่น

  • งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการระคายเคือง และการอักเสบภายในระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งปอด
  • ดูแลรักษาบ้านของคุณให้สะอาด เพื่อลดโอกาสการสูดดมฝุ่นเข้าปอด จนอาจทำให้เกิดการระคายเคือง และทำให้อาการแย่ลง โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มโรคติดเชื้อในปอด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 
  • หากเป็นโรคไข้หวัด ให้ดื่มน้ำมากๆ โดยหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น แต่ดื่มน้ำที่อุณหภูมิห้อง หรือน้ำอุ่นแทน เพื่อให้เสมหะจางลง และช่วยชะล้างเสมหะออก

คุณจะเห็นได้ว่า นอกจากบางอาการเจ็บป่วยที่ทำให้นำไปสู่อาการเสมหะปนเลือด พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ ดื่มน้ำน้อย การไม่รักษาความสะอาดร่างกาย และที่อยู่อาศัย ก็เป็นสาเหตุที่นำไปสู่อาการเสมหะปนเลือดได้ 

ดังนั้นการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรง และสะอาดอยู่เสมอ จึงเป็นวิธีป้องกันอาการเสมหะปนเลือดได้ และยังรวมไปถึงโรคภัยอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

ดูแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็ง ตรวจสุขภาพทั้งผู้ชาย และผู้หญิง เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ana Gotter, What Causes Blood-Tinged Sputum? (https://www.healthline.com/symptom/blood-tinged-sputum), March 29, 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)