May 11, 2019 09:33
ตอบโดย
นิธิวัฒน์ ตั้งชมพู (นพ.)
สวัสดีครับ
ขอแยกสองกรณี ระหว่าง ประจำเดือนไม่มา กับ ปวดหลังนะครับ
ในกรณีประจำเดือนไม่มาตามปกติ หรือ ประจำเดือนขาดไป
-ถ้าคนไข้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้ถุงยางอนามัย หรือการคุมกำเนิดวิธีอื่นๆไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด ก็อาจตั้งครรภ์ได้ เบื้องต้นแนะนำว่า ให้ตรวจการตั้งครรภ์ก่อนนะครับ โดยการตรวจการตั้งครรภ์ทางปัสสาวะด้วยตนเอง สามารถตรวจได้ตั้งแต่ 14 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ครับ
(การตรวจนั้น ต้องตรวจถุกต้องตามคำแนะนำและระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะครับจึงจะเชื่อถือได้ครับ)
-ถ้าคนไข้ไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เลยหรือตรวจการตั้งครรภ์แล้วไม่พบการตั้งครรภ์. ปัจจัยที่จะทำให้ประจำเดือนที่เคยมา แล้วไม่มา หรือผิดปกติ มีหลายอย่างครับ ตัวอย่าง เช่น
1.ความเครียด การอดอาหารนานๆ และการออกกำลังกายอยางหักโหมมากเกินไป ทำให้ประจำเดือนขาดได้ครับ พบได้บ่อยที่สุด
2.การใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ เช่น ยาคุมกำเนิด แบบฉีด หรือยาบางอย่าง เช่น ยารักษาโรคทางจิตเวช
3.โรคทางระบบสืบพันธ์บางชนิด เช่น ถุงน้ำรังไข่ ( PCOS) อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ หรือ การ ติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ อาจมำให้มีอาการปวดท้อง หรือ ตกขาว ที่ผิดปกติได้ ซึ่ง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
4.ฮอร์โมน ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งจะต้องทีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ใจสั่น กินจุ น้ำหนักลด หรือ ฮอร์โมนจากรังไข่ผิดปกติ อาจทำให้ไม่เกิดการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่มา หรือมาแบบกระปริบกระปรอย เป็นต้นครับ
5. โรคทางการกินที่ผิดปกติ (anorexia) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่ง หากอดอาหาร หรือทานอาหารไม่ถูกวิธีนานๆ จะทำให้ขาดประจำเดือนได้ครับ
ถ้าคนไข้มีอาการต่างๆที่ผิดปกติดังที่กล่าวไป แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรือตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
หากประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติ และไม่ได้เป็นมาติดต่อกันนานเกิน 3 ครั้ง ก็ให้รอดูอาการก่อนได้ครับ หากเกิน 3 เดือนประจำเดือนไม่มา แนะนำให้ไปตรวจร่างกาย และตรวจภายในเพิ่มเติมนะครับ
อนึ่ง การทำใจให้สบาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่แพทย์ไม่ได้สั่ง และออกกำลังกาย จะช่วยให้สมดุลฮอร์โมนดีและทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอครับ
>>>อาการปวดหลังดังกล่าว อาจจะต้องได้รับประวัติเพิ่ทเติม เช่น อาการเป็นมานานไหม ปวดบริเวณไหนของหลัง เป็นหลังจากทำอะไร มีอาการอื่นๆ เช่น อ่อนแรงไหม กลั้นปัสสาวะ ได้ไหม เป็นต้นครับ
อาการดังกล่าว จึงสามารถเป็นได้หลายอย่าง เช่น
1.กล้ามเนื้ออักเสบ เกิดจากการกระทบกระแทก การเกร็งนานๆ ยกของหนัก ออกกำลังกายหนักๆ เป็นต้น
2.ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น กระดูกคด การกระทบกระแทกต่อกระดูก การติดเชื้อที่กระดูก เป็นต้น
3.เส้นประสาทไขสันหลังผิดปกติ เช่น กระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท , กระดูกสันหลังตีบแคบ เป็นต้น คนไข้อาจมีอาการอ่อนแรง ชามือ เทา ร่วมด้วย มีอาการปวดแปล๊บจากหลังลงขา เวลายกขาหรืองอขา มีกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ อาการเป็นหลังจากไปยกของหนักๆมาเป็นต้นครับ
ในกรณีแนะนำให้ไปรพ.เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด และเอ็กซเรย์ในกรณีสงสัยเกี่ยวกับโรคของกระดูกสันหลังหรือไขสันหลังครับ เพื่อการรักษาอย่างถูกต้องตามการวินิจฉัยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
สาเหตุของการขาดประจำเดือนนั้นมีได้จากหลายอย่างครับ เช่น
- มีการตั้งครรภ์
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ถ้าหากในช่วงที่ผ่านมาได้มีเพศสัมพันธ์มาก่อนและประจำเดือนมีการขาดหายไป หมอก็แนะนำให้ลองตรวจการตั้งครรภ์ยืนยันดูเพื่อความแน่ใจก่อนครับ โดยให้ตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
ในกรณีที่ไม่มีการตั้งครรภ์ก็อาจรอสังเกตประจำเดือนต่อไปก่อนได้อีกระยะหนึ่ง แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือนหรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมออยู่บ่อยๆ หมอก็แนะนำให้ไปพบแพทย์นรีเวชเพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ประจำเดือนไม่มาเดือนกว่าแล้วมีอาการปวดหลังมากเป็นเพราะอะไรค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)