May 11, 2018 19:18
เพศสัมพันธ์ มีเพศสัมพันธ์ ยาคุมฉุกเฉิน ช่องคลอด ปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก ประจำเดือน กินยาคุมฉุกเฉิน ฉีดยาคุม ตรวจภายในตอบโดย
สมทรง นิลประยูร (นพ.)
อาการเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกันครับ
เช่น การบาดเจ็บจากการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง การมีเพศสัมพันธ์ในวัยหมดประจำเดือนซึ่งจะมีช่องคลอดที่แห้งกว่าวัยเจริญพันธ์จากการขาดของฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้ไม่มีสารคัดหลั่งภายในช่องคลอดและเกิดแผลตามมาภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ และ อีกสาเหตุหนึ่งนั่นคือ อาจเป็นอาการเบื้องต้นของมะเร็งปากมดลูกได้ โดยที่อาการนำของมะเร็งปากมดลูกนี้มาด้วยหลากหลายอาการไม่ว่าจะเป็น อาการเลือดออกกระปริบกระปรอยทางช่องคลอด เลือดออกระหว่างประจำเดือน และ เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
หากไม่เคยไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจมะเร็งปากมดลูกมาก่อน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการตรวจภายใน และหาสาเหตุเพิ่มเติม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 504 บาท ลดสูงสุด 969 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตอบโดย
ธีร์ธวัช สถิรรัตน์ (นพ.)
ขอเพิ่มเติมข้อมูลการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน
การรับประทานยาคุมฉุกเฉินทุกครั้งหลังมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้คุมกำเนิดวิธีอื่นๆ เช่น การสวมถุงยางอนามัย, ห่วงอนามัย, การฉีดยาคุม ถือว่า
“ไม่ใช่การคุมกำเนิดที่ถูกต้อง” นะครับ
เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถยับยั้งการปฏิสนธิได้ 100% และยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องผ่าตัดและเสี่ยงต่อการเสียเลือดจนเสียชีวิตได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
มี พสพ กับแฟนวันที่8(แตกใน) กินยาคุมฉุกเฉินแล้ว พอถึงวันที่11 มี พสพ.กับแฟนอีก (แตกใน)เหมือนเดิมแต่ยังไม่กินยาคุมฉุกเฉินเพราะครั้งนี้มีน้ำเลือดไหลออกมาหลังมี พสพ. จะเป็นอะไรใหมคะกังวลมากๆเลยคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)