March 07, 2017 20:59
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
โรคข้อเข่าเสื่อม หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้ ดังนั้นการรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ข้อโก่งงอ เป็นต้น การรักษาแบ่งออกเป็น 3 วิธี
1. การรักษาทั่วไป เช่น
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน (หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นลงบันได ไม่ควรนั่งกับพื้นหรือนั่งยองๆหรือพับเพียบเป็นเวลานาน เป็นต้น)
- การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน
- การออกกำลังการ(การเดิน การว่ายน้ำจะช่วยบริหารกล้ามเนื้อได้ดี)และบริหารกล้ามเนื้อ(โดยเฉพาะกล้าเนื้อขา)
- การประคบร้อนบรรเทาอาการปวด
- การทำกายภาพ
2. การรักษาโดยการให้ยา
สำหรับการใช้ยาในโรคข้อเข่าเสื่อม ปัจจุบันมีตัวยาหลายกลุ่ม ได้แก่
- ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยากลุ่มแรกที่ใช้ในการควบคุมอาการ
- ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ช่วยลดอาการปวดและการอักเสบของข้อ
- ยาช่วยปรับเปลี่ยนโครงสร้างของข้อ เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต จะช่วยชะลอโรค ซ่อมแซมผิวข้อ ลดการอักเสบและอาการปวด เป็นยาทางเลือกในข้อเสื่อมระยะเริ่มต้น
- ยาทาภายนอก ช่วยลดอาการโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลข้างเคียงจากยารับประทาน
- การฉีดน้ำเลี้ยงไขข้อ เป็นทางเลือกในการช่วยลดอาการปวดและช่วยให้การเคลื่อนไหวข้อดีขึ้น
- การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อ เป็นทางเลือกในข้อเสื่อมรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่น
(การใช้ยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์นะคะ ไม่ควรซื้อยามาทานเอง)
3. การรักษาโดยการผ่าตัด
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
การบำบัดโรคเข่าเสื่อม แบ่งเป็นการใช้ยากับไม่ใช้ยา
1.การบำบัดโดยไม่ใช้ยา (Nonpharmocologic therapy)
-ให้ความรู้กับผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแลผู้ป่วย ในประเด็นต่อไปนี้ เช่น ปัจจัยการเสี่ยงโรค วัตถุประสงค์การรักษา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-การลดน้ำหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกาย มากกว่า 23กก/ตร.ม ควรลดให้อยู่ในระดับปกติ หรือลดให้ได้ร้อยละ5 ของน้ำหนักตัวเดิม
-ฟื้นฟูสมรรถภาพเข่า ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีชีวิตประจำวัน เช่นเลี่ยงการงอเข่า คุกเข่า หรือขัดสมาธิ แนะนำการเดินขึ้นลงบันไดอย่างจำเป็น
-อาจจะใช้อุปกรณ์พยุงเข่าช่วย ในผู้ป่วยที่ข้อเข่าไม่มั่นคง มีขาโก่ง หรือขาฉิ่ง เพื่อลดอาการปวด เพิ่มความมั่นคงของเข่า และลดความเสี่ยงของการล้ม
-การบริหารบำบัด (Therapeutic exercise) ขึ้นอยู่กับบุคคลและระยะของโรค มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อรอบๆข้อ เพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวและลดการติดของข้อแบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ กายบริหารแบบใช้ออกซิเจนแรงกระแทกต่ำ เช่นการเดิน การปั่นจักรยาน การออกกำลังในน้ำ เพื่อป้องกันแรงที่กระทำต่อข้อเข่ามากเกินไป กายบริหารงอเหยียดข้อเข่า เพื่อป้องกันการยึดติดของข้อ และการบริหารเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขา
2.การรักษาบำบัดด้วยยา
-ใช้ยาบรรเทาปวดเช่น ยาพาราเซตามอล ยาNSAIDs แต่ต้องระวังผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร และระวังในผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือด
-ใช้ยาทาภายนอก หรือเจลพริกทดแทนการกินยาแก้ปวดได้
-การฉีดยาเข้าข้อ ,ยากลูโคซามีน ยังไม่มีคำแนะนำต้องพิจารณาเป็นรายๆไป
3.การรักษาโดยการผ่าตัด
-แนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ในผู้ป่วยที่อาการปวดไม่บรรเทาเท่าที่ควร รวมทั้งการทำงานไม่ดีขึ้นเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นๆข้างต้นแล้ว
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ข้อเข่าเสื่อมต้องรักษาอย่งไรถึงหายขาดค่ะกินยาอะไรดีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)