กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

5 วิธีบรรเทาอาการเจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ

เจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง มาดูกันว่าสาเหตุเกิดจากอะไร บรรเทาอาการได้อย่างไร ใช้ยาอะไรช่วยได้ไหม เมื่อไรควรพบแพทย์?
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ม.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
5 วิธีบรรเทาอาการเจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ

ปัญหาฝุ่นควัน มลพิษ PM 2.5 หรืออากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ เสมหะข้นเหนียว

โดยทั่วไปอาการเหล่านี้มักไม่รุนแรงนัก และสามารถบรรเทาอาการเองได้ในเบื้องต้น HonestDocs จึงขออธิบายสาเหตุและแนะนำ 5 วิธีบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ มีเสมหะ อย่างง่าย ให้ทราบกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

เจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ ที่เกิดจากการติดเชื้อ

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ มาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยเชื้อที่ทำให้เกิดอาการแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. เชื้อแบคทีเรีย

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการเจ็บคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำๆ ไอ คัดจมูก มีน้ำมูก มีเสมหะเหนียว เสมหะเขียว เสมหะเหลือง บริเวณผนังลำคอด้านหลังและลิ้นไก่จะมีอาการอักเสบ บวมแดง

เชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บคอ เช่น สเตรปโตคอกคัสไพโอจีเนส (Streptococcus pyogenes) ทำให้เกิดโรคคออักเสบ โครีนแบคทีเรียม (Corynebacterium) ทำให้เกิดโรคคอตีบ บอร์ดีเทลลาเปอตัสซิส (Bordetella Pertussis) ทำให้เกิดโรคไอกรน

2. เชื้อไวรัส

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสมักจะมีไข้ บางครั้งอาจหนาวสั่น ครั่นเนื้อ ครั่นตัว เจ็บคอ แสบคอ อาจมีน้ำมูกใสๆ และคัดจมูก มีอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ภายในช่องคอแดงเล็กน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เชื้อไวรัสหวัด (Corona)

3. เชื้อรา

เชื้อราก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ แต่พบได้น้อย ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วย HIV ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บคอ คอแห้ง มีน้ำลายไหลมาก และมีแผ่นขาวคล้ายนมที่จับเป็นก้อน ติดแน่นกับเยื่อบุผนังคอ

เชื้อราที่ทำให้เกิดเกิดอาการดังกล่าว เช่น แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans)

เจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

แม้ไม่มีเชื้อโรค แต่พฤติกรรมหรือสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวคุณก็ก่อให้เกิดอาการไอ เจ็บคอ มีเสมหะ ได้เช่นกัน เช่นปัจจัยต่อไปนี้

  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะได้รับสารพิษจากควันบุหรี่ ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ลำคอ
  • การใช้เสียง ผู้ใช้เสียงมากเกินไป เช่น ตะโกน พูดต่อเนื่องเป็นเวลานาน สายเสียงจะเกิดการอักเสบ นำไปสู่อาการเจ็บคอในที่สุด
  • สภาพอากาศ อากาศแห้ง ทำให้เกิดการเสียดสีในลำคอจนเกิดการระคายเคือง ปัญหาฝุ่นควัน มลพิษทางอากาศ ก็ทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจได้เช่นกัน
  • อาการข้างเคียงจากโรคอื่นๆ เช่น โรคกรดไหลย้อน ที่กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ก็ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ หรือแสบร้อนบริเวณลำคอได้

5 วิธีบรรเทาอาการเจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ

โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการไอ เจ็บคอ มีเสมหะ มักเป็นอาการที่ไม่รุนแรงนัก และสามารถบรรเทาอาการได้เองในเบื้องต้นตั้งแต่เริ่มมีอาการใหม่ๆ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

1. ใช้สเปรย์พ่นคอ

ยากลุ่มนี้ก็มีส่วนบรรเทาอาการระคายคอ เจ็บคอระหว่างวันได้เช่นกัน เช่น สเปรย์คาโมไมล์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย 7 ชนิด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอหรือระคายคอในระยะแรก ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการคันคอ สเปรย์พ่นที่มีสารสกัดจากคาโมไมล์นั้น มีรสชาติที่หอมสมุนไพร และสามารถใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการเพราะทำจากสมุนไพรแท้

การใช้สเปรย์พ่นนั้นมีข้อดีคือใช้งานง่าย พกพาสะดวก เหมาะสำหรับใช้งานในบ้านและใช้สำหรับเดินทาง

ซึ่งสเปรย์พ่นเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป โดยควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยาเพื่อความปลอดภัย

2. ใช้ยาเม็ดชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำ

อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ได้ คือ NAC ยาชนิดนี้ประกอบไปด้วยตัวยาอะซิทิล ซิสเทอีน (Acetylcysteine) หรือเรียกอีกชื่อว่า เอ็น อะซิทิล ซิสเทอีน (N-Acetyl-Cysteine) มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ละลายเสมหะ กำจัดเสมหะ

นับเป็นยาที่รับประทานง่าย พกพาสะดวก เพียงแค่ใช้เม็ดฟู่ 1 เม็ด ใส่ลงในน้ำสะอาด ½ หรือ 1 แก้ว รอจนเม็ดฟู่ละลายหมด ก็สามารถดื่มได้ทันที โดยดื่มวันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหาร ระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับอาการ หรือใช้ตามแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ

3. กลั้วปากด้วยน้ำเกลือ

เพียงนำเกลือครึ่งช้อนโต๊ะผสมกับน้ำอุ่นเต็มแก้วแล้วนำไปกลั้วปาก เกลือจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในลำคอ ลดอาการบวม กำจัดเสมหะ และช่วยลดการระคายเคือง

แต่ไม่ควรกลืนน้ำเกลือและห้ามใช้เกลือมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้เยื่อบุลำคอแห้งได้

4. กลั้วปากด้วยกานพลูผสมน้ำอุ่น

นำกานพลูแห้ง บดละเอียด 2 ช้อนชา ผสมกับน้ำอุ่น 1 ถ้วย กลั้วปากบ่อยๆ กานพลูมีฟทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยลดการอักเสบได้

5. ดื่มน้ำผึ้งผสมน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น

น้ำผึ้งมีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรีย และอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บคออันเนื่องมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้

เพียงแค่นำน้ำผึ้ง 2 ช้อนชา ผสมกับน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น 1 แก้ว คนให้เข้ากันแล้วดื่ม ก็จะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้

นอกจากวิธีบรรเทาอาการที่กล่าวมาแล้ว ก็ควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตควบคู่กันไปด้วย โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ควรงดใช้เสียงชั่วคราว หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษทางอากาศ งดสูบบุหรี่ งดรับประทานอาหารรสจัด ของทอด อาหารที่มีไขมันสูง งดรับประทานน้ำเย็นจัดหรือน้ำแข็ง และพักผ่อนให้เพียงพอ ยิ่งช่วงที่มีอาการควรพักอย่างน้อย 11-13 ชั่วโมงต่อวัน

เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะของคุณได้

เจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ เมื่อไรควรไปพบแพทย์?

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการ เจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ มักหายได้เองภายใน 5-7 วัน ไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือมีสัญญาณอื่นๆ ที่สงสัยว่าอาจมีโรคแทรกซ้อน ควรไปพบแพทย์ทันที

อาการดังกล่าวได้แก่

  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  • เจ็บคอมาก มีอาการไอและเจ็บคอทุกวัน ติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์
  • หายใจลำบาก หอบ เหนื่อย
  • มีน้ำมูกข้น
  • มีเสมหะข้น เสมหะเหลือง เสมหะเขียว หรือเสมหะปนเลือด
  • กลืนอาหารลำบาก
  • คลำพบก้อนแข็งที่ข้างคอ
  • มีอาการปวดหู หูอื้อ หรือปวดตามข้อร่วมด้วย
  • มีผื่นเจ็บคอ หรือ ไอ มีเสมหะ เป็นอาการป่วยที่ไม่รุนแรงนัก เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป และสามารถบรรเทาอาการเหล่านั้นในเบื้องต้นได้ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการปรับพฤติกรรม ใช้สมุนไพร หรือตัวช่วยต่างๆ เช่น สเปรย์พ่นคอหรือยาเม็ดฟู่ละลายน้ำ ซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป แต่หากพบว่าอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ข้างเคียง แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, อาการเจ็บคอ แต่ไม่ได้เป็นหวัด คืออะไร? (http://medicine.swu.ac.th/msmc/?p=2030), 22 มิถุนายน 2560.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, เจ็บคอ อย่ามัวแต่กินยาแก้อักเสบ (https://www.thaihealth.or.th/Content/48922-เจ็บคอ%20อย่ามัวแต่กินยาแก้อักเสบ.html), 23 พฤษภาคม 2562
ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย, เจ็บคอ...จะแย่แล้ว (http://www.rcot.org/2016/People/Detail/182).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)